'กระบวนการมีส่วนร่วม’ ตอบโจทย์ท่องเที่ยวไทยยุค ๔.๐ - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันอาทิตย์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

'กระบวนการมีส่วนร่วม’ ตอบโจทย์ท่องเที่ยวไทยยุค ๔.๐



อพท. เปิดเวทีเชิญระดมสมอง DASTA Forum 2018 การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือในการลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรมในสังคม กูรูชี้แนวทางขับเคลื่อนท่องเที่ยวไทยยุค ๔.๐ อพท. เผย ๑๕ ปีของการทำงานโดยใช้เครื่องมือการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนตามเกณฑ์ GSTC และใช้ “ใจ” ในการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวโดยชุมชน เผยรายได้เสริมจากการท่องเที่ยวโตถึง ๓๘.๕% ระดับความอยู่ดีมีสุขของชุมชนสูงพุ่งแตะระดับ ๘๖.๓๖% ในขณะที่นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาสัมผัสชุมชนมีความสุขล้น ๗๙.๑๗% มูลค่าเศรษฐศาสตร์ของทรัพยากรการท่องเที่ยวที่พัฒนาไปมีมูลค่าสูงถึง ๔.๔๙๓๙ ล้านล้านบาท ตอกย้ำการท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือในการสร้างความสุข สร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำ ได้อย่างเป็นรูปธรรม

พันเอก ดร.นาฬิกอติภัค แสงสนิท ผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. กล่าวว่า อพท. มีบทบาทภารกิจที่สำคัญในการบริหารจัดการพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวให้เกิดความยั่งยืนในภาคการท่องเที่ยว ได้จัดเวทีเสวนา DASTA Forum 2018 ในประเด็นหัวข้อ ขับเคลื่อนท่องเที่ยวไทยในยุค ๔.๐ เปิดมุมมองการพัฒนาของ อพท. ตลอด ๑๕ ปีที่ผ่านมาในรอบด้าน ทั้งเศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม ด้วยกระบวนการทำงานที่มีส่วนร่วมแบบ Co – Creation (ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติ ร่วมรับผิดชอบ และร่วมรับผลประโยชน์) ภายใต้แนวคิด “Thailand Sustainable Development Panorama”

นอกจากนี้ นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ซึ่งเป็นอดีตประธานกรรมการ อพท. ได้กล่าวเน้นย้ำว่า การท่องเที่ยวไทยในยุค ๔.๐ จะต้องมีการปฏิรูปหน่วยงานด้านการท่องเที่ยว ภายใต้แนวทาง “รวมร่าง รวมเรื่อง และรวมพลัง” กล่าวคือ อาจต้องรวมหน่วยงานที่มีภารกิจด้านการท่องเที่ยวที่หนุนเสริมกันไว้ด้วยกัน และรวมเรื่องกฎหมายต่างๆ ใน ๓ กลุ่มภารกิจหลักของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ที่มุ่งเน้นการทำงานร่วมกันมากขึ้น และรวมพลังบุคลากรด้านการท่องเที่ยว ตามสังกัดหน่วยงานต่างๆ ให้สามารถแลกเปลี่ยนการทำงานและเรียนรู้ และพัฒนาการท่องเที่ยวไทยไปด้วยกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad