ถึงคิว ‘ศิลปากร’ ลดใช้พลาสติกทั่วมหาวิทยาลัย GC เปลี่ยนคนรุ่นใหม่ใช้แก้ว-หลอดย่อยสลายได้ - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2562

ถึงคิว ‘ศิลปากร’ ลดใช้พลาสติกทั่วมหาวิทยาลัย GC เปลี่ยนคนรุ่นใหม่ใช้แก้ว-หลอดย่อยสลายได้

ถึงคิว ‘ศิลปากร’ ลดใช้พลาสติกทั่วมหาวิทยาลัย GC เปลี่ยนคนรุ่นใหม่ใช้แก้ว-หลอดย่อยสลายได้

GC เดินหน้าปลุกกระแสรักษ์โลกในรั้วมหาวิทยาลัย สนับสนุน “ม.ศิลปากร” ใช้แก้ว-หลอดพลาสติกชีวภาพ หลังโครงการสำเร็จในจุฬาฯ ลดแก้วพลาสติกได้เดือนละกว่าแสนใบ
บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC จับมือ มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมดำเนินโครงการ BE SMART BE GREEN โดยให้การสนับสนุนเม็ดพลาสติกไบโอพีบีเอส (BioPBS) เป็นเวลา 3 ปี เพื่อใช้ในการผลิตแก้วกระดาษเคลือบไบโอพีบีเอส และหลอดไบโอพลาสติก ที่สามารถย่อยสลายได้ในธรรมชาติ โดยจะเริ่มใช้แก้วและหลอดที่วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี และจะขยายไปยังวิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ในอนาคต
สำหรับไบโอพีบีเอส มาจากเทคโนโลยีของ GC ในการผลิตพลาสติก ทั้งโพลิแลกติกแอซิด (PLA) และโพลิบิวทิลีนซักซิเนต (PBS) ซึ่งได้มาจากผลผลิตทางเกษตรกรรม เช่น อ้อย มันสำปะหลัง และข้าวโพด มาเป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิต โดยในส่วนของหลอดไบโอพลาสติกนั้น เป็นผลงานการวิจัยของคณาจารย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร
ก่อนหน้านี้ GC ได้เริ่มนำร่องโครงการ CHULA ZERO WASTE ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งสามารถลดการใช้แก้วพลาสติกใน 13 โรงอาหาร รวมกันได้ถึง 5.3 แสนใบ หรือประมาณ 1.3 แสนใบต่อเดือน ซึ่งนับได้ว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี GC จึงพร้อมที่จะขยายความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วประเทศต่อไป เพื่อเป็นการกระตุ้น สร้างการตระหนักรู้ และปลุกจิตสำนึกให้กับคนรุ่นใหม่ หันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อมด้วยการใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกอย่างรู้คุณค่า
นายปฏิภาณ สุคนธมาน ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ กลุ่มธุรกิจปิโตรเคมีขั้นปลาย GC เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยศิลปากรเป็นมหาวิทยาลัยแห่งที่ 2 ที่ GC ให้การสนับสนุนและส่งเสริมนิสิต นักศึกษา หันมาใช้หลอดและแก้วไบโอพีบีเอส เพื่อสร้างจิตสำนึกที่ดี รู้จักการบริหารจัดการขยะพลาสติก โดยเริ่มจากการคัดแยก การจัดเก็บ การรีไซเคิล และส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการรีไซเคิล ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular economy เพื่อลดปัญหาขยะพลาสติกอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad