วิเคราะห์การค้าใน ASEAN Q1 2562 - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

วิเคราะห์การค้าใน ASEAN Q1 2562

วิเคราะห์การค้าใน ASEAN Q1 2562

2019Q1 ASEAN TRADE Update Thumbnail 600x300.jpg
ในฉบับนี้

  • บทสรุปภาพรวมการค้าของไทยกับกลุ่มประเทศ CLMVI ในปี 2561
  • บทวิเคราะห์แนวโน้มการค้าระหว่างไทนกับกลุ่มประเทศ CLMVI ในปี 2562
  • ข่าวสารที่น่าสนใจที่จะส่งผลกระทบต่อการค้าของไทยในไตรมาศแรกของปีนี้

ในปี 2561 การส่งออกของไทยไปยัง CLMV เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.6 

เนื่องจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์พุ่งสูงขึ้นและการส่งออกทองคำที่ขยายตัว แต่ไทยอาจไม่สามารถรักษาการเติบโตอย่างแข็งแกร่งของการส่งออกไปยัง CLMV ในปี 2562 เนื่องจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่อ่อนตัวและปัจจัยด้านลบทางเศรษฐกิจในกัมพูชาและเมียนมา

การส่งออกของไทยไปยัง CLMV ในปี 2561 ขยายตัวร้อยละ 16.6 โดยมีมูลค่ารวม 29.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เร่งตัวขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 12.9 ในปี 2560 สาเหตุหลักที่ทำให้การส่งออกสูงขึ้นคือราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้นและการส่งออกทองที่ขยายตัวในปี 2561 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา  การส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปไทยไป CLMV เติบโตได้ดีที่ร้อย 33.6 ตามราคาน้ำมันดิบที่พุ่งสูงขึ้นจากราคาเฉลี่ยที่ 54 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในปี 2560 มาอยู่ที่ 71 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในปี 2561 นอกจากนี้ ราคาของพอลิเมอร์ได้ปรับตัวสูงขึ้นอย่างมากสอดคล้องกับราคาน้ำมันที่สูงขึ้น การส่งออกทองคำของไทยไปยัง CLMV โตขึ้นเกือบสองเท่าในปี 2561 เมื่อเทียบกับปี 2560 โดยได้แรงหนุนหลักจากความต้องการทองคำในกัมพูชา 

ในขณะที่การส่งออกของไทยไปยังอินโดนีเซียขยายตัวร้อยละ 13.9 โดยได้แรงหนุนหลักจากการส่งออกเม็ดพลาสติกและเคมีภัณฑ์ที่สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม หากไม่รวมการส่งออกน้ำมันและทองคำ การส่งออกของไทยไปยัง CLMV จะยังคงเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.8 ในปี 2561 เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นในประเทศ CLMV ความต้องการสินค้าอุปโภคบริโภคจากประเทศไทยที่เร่งตัวขึ้นนั้นเกิดจากการขยายตัวของชุมชนเมืองและกลุ่มชนชั้นกลาง รวมถึงจากภาคการค้าส่งและค้าปลีกใน CLMV ที่เติบโตอย่างรวดเร็ว

ตารางข้อมูลสถิติของการค้าระหว่างไทยกับกลุ่ม CLMVI
TH_Table.png

แนวโน้มของการส่งออกไทยในปี 2562 คาดว่าจะเติบโตในอัตราที่ช้าลง

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าการส่งออกของไทยไปยัง CLMV ในปี 2562 จะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 4.0 ตัวเลขนี้ถูกปรับลดลงจากที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ที่ร้อยละ 9.0 สาเหตุหลักเนื่องจากฐานที่สูงในปี 2561 และแนวโน้มราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ลดลงในปี 2562  โดยคาดว่าราคาน้ำมันในปี 2562 จะยังคงอยู่ในระดับต่ำเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวโดยเฉพาะในประเทศจีน ซึ่งจะลดความต้องการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง นอกจากนี้ ผลผลิตน้ำมันดิบคาดว่าจะเพิ่มขึ้นในสหรัฐฯ การเพิ่มระดับการผลิตในสหรัฐฯ และแนวโน้มความต้องการน้ำมันในตลาดโลกที่ลดลงจะทำให้สต็อกน้ำมันเชื้อเพลิงในตลาดโลกมีจำนวนสูงขึ้นและทำให้ราคาน้ำมันมีแนวโน้มปรับตัวลดลง ปัจจัยลบเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะมีอิทธิพลเหนือปัจจัยบวกในประเทศต่างๆ เช่น การลดการผลิตน้ำมันขององค์การกลุ่มประเทศผู้ส่งน้ำมันออก (OPEC) และผลผลิตจากอิหร่านและเวเนซุเอลาที่ลดลง

ปี 2562 จะเป็นปีที่ท้าทายสำหรับการส่งออกไทยท่ามกลางการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและการหยุดชะงักทางการค้า แม้ว่าสหรัฐฯ และจีนจะมีท่าทีประนีประนอมมากขึ้นในการเจรจาการค้า แต่คาดว่าความตึงเครียดทางการค้าระหว่างทั้งสองประเทศจะยืดเยื้อและจะส่งผลกระทบอย่างเห็นได้ชัดมากขึ้นในปี 2562 อุปสงค์ที่อ่อนแอลงในตลาดโลกจะกดดันราคาสินค้าโภคภัณฑ์อย่างต่อเนื่องและส่งผลกระทบด้านลบต่อเศรษฐกิจเมียนมาและอินโดนีเซียซึ่งพึ่งพาการส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์เป็นหลัก 

ดังนั้นการส่งออกของไทยไปสองประเทศนี้คาดว่าจะขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง นอกจากนี้ ยังมีความเป็นไปได้ที่สหภาพยุโรปอาจยกเลิกการให้สิทธิประโยชน์ทางการค้าภายใต้โครงการ Everything But Arms ให้กับกัมพูชาและเมียนมาเป็นการชั่วคราว ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศ และทำให้ความต้องการสินค้าไทยลดลง อย่างไรก็ตาม การส่งออกของไทยไปยังเวียดนามน่าจะยังคงเติบโตอย่างแข็งแกร่งต่อไป แม้ว่าการส่งออกน้ำมันเชื้อเพลิงมีแนวโน้มจะเติบโตลดลง เนื่องจากความต้องการภายในประเทศเวียดนามที่แข็งแกร่งและการลงทุนที่ยังไหลเข้าไปยังเวียดนามอย่างต่อเนื่อง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad