ไทยเป็นเจ้าภาพจัดประชุมคณะกรรมาธิการการค้าเสรีไทย-ชิลี ครั้งที่ 3 ติดตามผลการเปิดเสรีทางการค้าระหว่างกัน เห็นชอบเร่งยกเลิกภาษีนำเข้าสินค้าทุกรายการให้เร็วขึ้นจากกำหนดเดิมปี 66 เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดที่ขยายตัวและเพิ่มโอกาสค้าขาย เผยยังได้จับมือทำการค้าออนไลน์ แลกเปลี่ยนข้อมูลงานแสดงสินค้า การเจรจาจับคู่ธุรกิจ จัดคณะผู้แทนการค้า ส่วนผลการทำ FTA พบดันการค้าสองฝ่ายพุ่ง 38%
นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า ไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะกรรมาธิการการค้าเสรีไทย-ชิลี ครั้งที่ 3 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง (Thailand–Chile FTC : TCFTC) เมื่อวันที่ 20-21 มิ.ย.2562 ที่ผ่านมา ณ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ โดยทั้งสองฝ่ายได้มีการติดตามผลการดำเนินการตามข้อผูกพันการเปิดเสรีทางการค้าระหว่างกัน และเห็นพ้องกันถึงความเป็นไปได้ในการเร่งยกเลิกภาษีนำเข้าสินค้าทุกรายการให้เร็วขึ้น จากเดิมที่กำหนดไว้ในปี 2566 เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดที่มีแนวโน้มขยายตัว และเพิ่มโอกาสในการค้าขายของทั้งสองประเทศเพิ่มมากขึ้น
ทั้งนี้ ยังได้หารือถึงการเพิ่มความร่วมมือด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ผ่านการเชื่อมโยงเว็บไซต์ Thaitrade.com ของกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กับ National E-Marketplace ของชิลี เพื่อส่งเสริมการค้าสองฝ่ายผ่านช่องทางออนไลน์ การแลกเปลี่ยน Banner ระหว่างเว็บไซต์ การแลกเปลี่ยนข้อมูลผู้ซื้อผู้ขาย และการใช้ Electronic Direct Mail เพื่อทำตลาดออนไลน์ เป็นต้น ซึ่งกรมฯ จะหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยและชิลีในรายละเอียดต่อไป
พร้อมกันนี้ ได้หารือถึงความร่วมมือด้านเศรษฐกิจต่างๆ เช่น การแลกเปลี่ยนข้อมูลการเข้าร่วมงานแสดงสินค้า การจับคู่ธุรกิจในสาขาที่ทั้งสองฝ่ายมีศักยภาพ การแลกเปลี่ยนคณะผู้แทนการค้า การจัดสัมมนาทางธุรกิจ และฝ่ายไทยยังได้เชิญชิลีเข้าร่วมงาน ASEAN Smart City และงาน Digital Big Bang 2019 ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 22-24 ส.ค.2562 และ 28-31 ต.ค.2562 ที่กรุงเทพฯ ด้วย
นางอรมนกล่าวว่า นับตั้งแต่ความตกลงการค้าเสรีไทย-ชิลี มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 5 พ.ย.2558 พบว่า การค้าระหว่างไทยกับชิลีขยายตัวเป็นที่น่าพอใจจาก 895 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2558 เป็น 1,231 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2561 เพิ่มขึ้น 38% เป็นการส่งออกจากไทยไปชิลี 779 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 4% และเป็นการนำเข้าจากชิลี 452 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 21%
โดยไทยส่งออกไปชิลีโดยใช้สิทธิประโยชน์จาก FTA สูงถึง 98.85% ของการส่งออกสินค้าที่ได้รับสิทธิ ซึ่งเป็นสัดส่วนสูงที่สุดเมื่อเทียบกับ FTA กรอบอื่นๆ ของไทย โดยสินค้าที่ใช้สิทธิ์ เช่น รถบรรทุก ปลาทูน่ากระป๋อง เครื่องซักผ้า และปูนซีเมนต์ เป็นต้น สำหรับการนำเข้าจากชิลี มีการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีจาก FTA 75% ของการนำเข้าสินค้าที่ได้รับสิทธิ์ โดยสินค้าที่ใช้สิทธิ์สูง เช่น องุ่น เชอรี่ และไวน์ เป็นต้น
สำหรับการลดภาษีภายใต้ FTA ทั้งสองประเทศได้ทยอยยกเลิกการเก็บภาษีนำเข้าสินค้าเป็น 4 ช่วง คือ 1.ยกเลิกภาษีนำเข้า 87-91% ของรายการสินค้าทั้งหมดในปี 2558 2.ยกเลิกการเก็บภาษีนำเข้าสินค้าอีก 2-4% ในปี 2561 3.ยกเลิกการเก็บภาษีนำเข้าสินค้าเพิ่มอีก 2-8% ในปี 2563 และ 4.ยกเลิกภาษีนำเข้าสินค้าทุกรายการที่เหลือจนครบ 100% ในปี 2566
นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า ไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะกรรมาธิการการค้าเสรีไทย-ชิลี ครั้งที่ 3 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง (Thailand–Chile FTC : TCFTC) เมื่อวันที่ 20-21 มิ.ย.2562 ที่ผ่านมา ณ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ โดยทั้งสองฝ่ายได้มีการติดตามผลการดำเนินการตามข้อผูกพันการเปิดเสรีทางการค้าระหว่างกัน และเห็นพ้องกันถึงความเป็นไปได้ในการเร่งยกเลิกภาษีนำเข้าสินค้าทุกรายการให้เร็วขึ้น จากเดิมที่กำหนดไว้ในปี 2566 เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดที่มีแนวโน้มขยายตัว และเพิ่มโอกาสในการค้าขายของทั้งสองประเทศเพิ่มมากขึ้น
ทั้งนี้ ยังได้หารือถึงการเพิ่มความร่วมมือด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ผ่านการเชื่อมโยงเว็บไซต์ Thaitrade.com ของกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กับ National E-Marketplace ของชิลี เพื่อส่งเสริมการค้าสองฝ่ายผ่านช่องทางออนไลน์ การแลกเปลี่ยน Banner ระหว่างเว็บไซต์ การแลกเปลี่ยนข้อมูลผู้ซื้อผู้ขาย และการใช้ Electronic Direct Mail เพื่อทำตลาดออนไลน์ เป็นต้น ซึ่งกรมฯ จะหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยและชิลีในรายละเอียดต่อไป
พร้อมกันนี้ ได้หารือถึงความร่วมมือด้านเศรษฐกิจต่างๆ เช่น การแลกเปลี่ยนข้อมูลการเข้าร่วมงานแสดงสินค้า การจับคู่ธุรกิจในสาขาที่ทั้งสองฝ่ายมีศักยภาพ การแลกเปลี่ยนคณะผู้แทนการค้า การจัดสัมมนาทางธุรกิจ และฝ่ายไทยยังได้เชิญชิลีเข้าร่วมงาน ASEAN Smart City และงาน Digital Big Bang 2019 ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 22-24 ส.ค.2562 และ 28-31 ต.ค.2562 ที่กรุงเทพฯ ด้วย
นางอรมนกล่าวว่า นับตั้งแต่ความตกลงการค้าเสรีไทย-ชิลี มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 5 พ.ย.2558 พบว่า การค้าระหว่างไทยกับชิลีขยายตัวเป็นที่น่าพอใจจาก 895 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2558 เป็น 1,231 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2561 เพิ่มขึ้น 38% เป็นการส่งออกจากไทยไปชิลี 779 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 4% และเป็นการนำเข้าจากชิลี 452 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 21%
โดยไทยส่งออกไปชิลีโดยใช้สิทธิประโยชน์จาก FTA สูงถึง 98.85% ของการส่งออกสินค้าที่ได้รับสิทธิ ซึ่งเป็นสัดส่วนสูงที่สุดเมื่อเทียบกับ FTA กรอบอื่นๆ ของไทย โดยสินค้าที่ใช้สิทธิ์ เช่น รถบรรทุก ปลาทูน่ากระป๋อง เครื่องซักผ้า และปูนซีเมนต์ เป็นต้น สำหรับการนำเข้าจากชิลี มีการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีจาก FTA 75% ของการนำเข้าสินค้าที่ได้รับสิทธิ์ โดยสินค้าที่ใช้สิทธิ์สูง เช่น องุ่น เชอรี่ และไวน์ เป็นต้น
สำหรับการลดภาษีภายใต้ FTA ทั้งสองประเทศได้ทยอยยกเลิกการเก็บภาษีนำเข้าสินค้าเป็น 4 ช่วง คือ 1.ยกเลิกภาษีนำเข้า 87-91% ของรายการสินค้าทั้งหมดในปี 2558 2.ยกเลิกการเก็บภาษีนำเข้าสินค้าอีก 2-4% ในปี 2561 3.ยกเลิกการเก็บภาษีนำเข้าสินค้าเพิ่มอีก 2-8% ในปี 2563 และ 4.ยกเลิกภาษีนำเข้าสินค้าทุกรายการที่เหลือจนครบ 100% ในปี 2566
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น