ดร. เพชรมณี ดาวเวียง รองผู้อำนวยการ ฝ่ายส่งเสริมธุรกิจ SMEs ปฏิบัติงานช่วยควบคุม กำกับ ศูนย์ให้บริการ SMEs ครบวงจร (OSS)กล่าวว่า ปัจจุบันธุรกิจสินค้าทางการเกษตรแปรรูป นับเป็นการพัฒนาและต่อยอดสินค้าทางการเกษตรที่ถือว่ามีความน่าสนใจ ทั้งนี้ เพราะความต้องการอาหารของตลาดโลก มีแนวโน้มขยายตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง และประชากรโลกหันมาดูแลสุขภาพกันมากขึ้น ประเทศไทยเองในฐานะผู้ส่งออกสินค้าทางการเกษตรเป็นอันดับต้นๆ ของโลก จึงเป็นโอกาสอันดีของผู้ประกอบการไทย ทั้งนี้ในอดีตผลผลิตทางการเกษตรที่ออกมาในปริมาณมากและไม่มีการแปรรูป ทำให้สินค้าทางการเกษตรเหล่านี้มีราคาที่ไม่สูงมากนัก ทำให้การแข่งขันของตลาดสินค้าทางการเกษตรของไทยจึงต้องมีการปรับตัว การจะเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าโดยการแปรรูปให้ตรงกับความต้องการของตลาดจึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจ เช่น การทำตลาดสินค้าเกษตรแปรรูป Organic ถือเป็นการส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาเรียนรู้การนำผลผลิตทางการเกษตรมาเพิ่มมูลค่า ไม่ว่าจะเป็นผักหรือผลไม้ ซึ่งตลาดสินค้า Organic ในต่างประเทศยังถือเป็นตลาดใหญ่ อย่างไรก็ตาม สิ่งหนึ่งที่พึงระวังคือ การอ้างตราสัญลักษณ์ ORGANIC หรือ Certified Organic เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องพิสูจน์ให้ว่าสินค้าเรา มีคุณสมบัตินี้จริงและปริมาณร้อยละเท่าไรของสินค้าทั้งหมด ในต่างประเทศ การมีตรา Organic จะถูกระบุชัดเจนว่า Organic 80% 90%แม้ว่าสินค้าแปรรูปเหล่านี้จะมีราคาที่สูงกว่าสินค้าทั่วไป แต่ปัจจุบันมีการยอมรับมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และประเทศไทยยังมีโอกาสที่จะก้าวไปทำตลาด
ทั้งนี้ ศูนย์ให้บริการ SME ครบวงจร ได้ให้บริการครอบคลุมในทุกจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อบูรณาการความร่วมมือรวมถึงให้บริการ SMEs มุ่งพัฒนาก้าวสู่ประเทศไทย 4.0 ให้เป็นฐานเศรษฐกิจที่มั่นคงและยั่งยืน
ผศ.ดร.พีระศักดิ์ ฉายประสาท คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร กล่าวว่า จากประสบการณ์เป็นที่ปรึกษาด้านวิจัยและพัฒนาแปรรูปผลไม้เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์กูรูนักวิจัยและพัฒนาเกษตรแปรรูปผลไม้ไทยด้วยวิธีการ Organic ถือเป็นเทคโนโลยีที่สามารถต่อยอดเพิ่มศักยภาพเกษตรกรไทย ให้ก้าวกระโดดสู่ตลาดสากลได้อย่างยั่งยืน ปัญหาของผลผลิตทางการเกษตรมีขึ้นมีลง บางครั้งสินค้าล้นตลาด บางครั้งก็ไม่เพียงพอกับความต้องการของผู้บริโภค รวมถึงปัญหาเรื่องราคาที่ไม่มีความแน่นอน ทั้งที่สินค้าทางการเกษตรเหล่านี้ ถือเป็นสินค้าหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย การแก้ปัญหาก่อให้เกิดองค์ความรู้ในการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาพัฒนา เพื่อต่อยอดสินค้าให้มุ่งสู่ในระดับตลาดสากลมากยิ่งขึ้น เช่น การดูแลคุณภาพสินค้าที่ได้มาตรฐาน การสร้างแพคเกจสินค้าที่ช่วยรักษาสภาพสินค้าทางการเกษตรในระหว่างขนส่งสินค้าไปยังตลาดต่างประเทศ ให้ยังคงสภาพที่ดี ไม่เสียมูลค่า จึงนับเป็นสิ่งที่น่าสนใจ
ทั้งนี้ กล่าวได้ว่า หากวิเคราะห์ทั้งห่วงโซ่การผลิตในตลาดออร์แกนิค (Organic) ของไทย พบว่าผู้ประกอบการ SME ส่วนใหญ่จะกระจุกตัวผลิตภัณฑ์ โดยสินค้าออร์แกนิคที่ผลิตและจำหน่ายส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มอาหารสดที่มีความหลากหลายน้อย เช่น ผักผลไม้ ข้าวและธัญพืช หรือผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปก็จะมีนวัตกรรมที่ไม่สูงมาก สามารถผลิตได้ไม่ยาก ผลที่ตามมา คือ เกิดการแข่งขันในตลาดสูง การที่จะทำให้สินค้าเกษตรแปรรูป หรือ สินค้าออร์แกนิค เป็นที่ยอมรับของตลาดโลกได้ ก็ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนรวมถึง ผู้ประกอบการโรงงานแปรรูปที่ได้มาตรฐาน ซึ่งจะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าได้มากขึ้น ท่านที่สนใจสามารถสืบค้นเนื้อหาด้านองค์ความรู้ต่างๆ ได้จากwww.smeknowledgecenter.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น