กรมการค้าต่างประเทศ เดินหน้าต่อเนื่องเชื่อมโยงข้อมูล e-Form D ไทย-กัมพูชา เป็นประเทศที่ 6 ในกลุ่มอาเซียน พร้อมสตาร์ทเครื่อง 1 ก.ค.62 เป็นต้นไป คาดอำนวยความสะดวกทางการค้าและเพิ่มมูลค่าการค้าระหว่างอาเซียนได้มากขึ้น ส่วนเมียนมา ฟิลิปปินส์ และสปป.ลาว ตั้งเป้าเชื่อมระบบภายในปีนี้
นายอดุลย์ โชตินิสากรณ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมฯ ได้ดำเนินการเชื่อมโยงข้อมูลการให้บริการออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าทางอิเล็กทรอนิกส์ ภายใต้กรอบความตกลงการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า e-Form D อย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งได้ดำเนินการกับประเทศสมาชิกอาเซียนสำเร็จไปแล้ว 5 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม และบรูไน โดยล่าสุดได้ทดสอบการเชื่อมโยงระบบ e-Form D กับกัมพูชาในทางเทคนิคแล้ว ประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี และพร้อมใช้งานจริง ในวันที่ 1 ก.ค.2562 เป็นต้นไป
"ปัจจุบันกรมฯ มีเป้าหมายที่จะเร่งผลักดันประเทศในกลุ่มอาเซียนที่เหลือให้สามารถเชื่อมโยงระบบ e-Form D ให้ได้โดยเร็วตามเป้าหมายภายในปี 2562 โดยประเทศเมียนมา และฟิลิปปินส์ อยู่ระหว่างการทดสอบเชื่อมโยงข้อมูล ส่วนสปป.ลาว อยู่ระหว่างการพัฒนาระบบภายในประเทศ ซึ่งหากดำเนินการเรียบร้อยแล้ว จะเข้าร่วมทดสอบเชื่อมโยงข้อมูลต่อไป เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของความตกลงว่าด้วยการอำนวยความสะดวกด้านศุลกากรด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียวของอาเซียน หรือ ASEAN Single Window (ASW) ต่อไป”
ทั้งนี้ หากทุกประเทศในอาเซียนสามารถเชื่อมโยงระบบ e-Form D ASW ได้ทั้งหมดแล้ว จะทำให้การค้าขายภายในอาเซียนมีความคล่องตัวและสามารถเพิ่มมูลค่าการค้าระหว่างกันได้มากยิ่งขึ้น
นายอดุลย์กล่าวว่า กรมฯ ได้ให้บริการออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าแบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Form D ตั้งแต่วันที่ 5 พ.ย.2561 เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการ ซึ่งผู้ประกอบการสามารถยื่นคำขอหนังสือรับรองผ่านระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์มายังกรมฯ โดยกรมฯ จะพิจารณาอนุมัติ และส่งข้อมูลการอนุมัติ e-Form D ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ไปยังศุลกากรประเทศปลายทาง ผู้ประกอบการสามารถเลือกพิมพ์หรือไม่พิมพ์หนังสือรับรองรูปแบบกระดาษได้ด้วยตนเอง เพื่อลดเอกสาร ลดขั้นตอน ลดค่าใช้จ่าย และประหยัดเวลาให้แก่ผู้ประกอบการ
สำหรับสินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปยังตลาดกัมพูชา ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องดื่ม รถยนต์ รถจักรยานยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบและส่วนประกอบเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์พลาสติก เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว น้ำตาลทราย เป็นต้น
นายอดุลย์ โชตินิสากรณ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมฯ ได้ดำเนินการเชื่อมโยงข้อมูลการให้บริการออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าทางอิเล็กทรอนิกส์ ภายใต้กรอบความตกลงการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า e-Form D อย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งได้ดำเนินการกับประเทศสมาชิกอาเซียนสำเร็จไปแล้ว 5 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม และบรูไน โดยล่าสุดได้ทดสอบการเชื่อมโยงระบบ e-Form D กับกัมพูชาในทางเทคนิคแล้ว ประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี และพร้อมใช้งานจริง ในวันที่ 1 ก.ค.2562 เป็นต้นไป
"ปัจจุบันกรมฯ มีเป้าหมายที่จะเร่งผลักดันประเทศในกลุ่มอาเซียนที่เหลือให้สามารถเชื่อมโยงระบบ e-Form D ให้ได้โดยเร็วตามเป้าหมายภายในปี 2562 โดยประเทศเมียนมา และฟิลิปปินส์ อยู่ระหว่างการทดสอบเชื่อมโยงข้อมูล ส่วนสปป.ลาว อยู่ระหว่างการพัฒนาระบบภายในประเทศ ซึ่งหากดำเนินการเรียบร้อยแล้ว จะเข้าร่วมทดสอบเชื่อมโยงข้อมูลต่อไป เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของความตกลงว่าด้วยการอำนวยความสะดวกด้านศุลกากรด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียวของอาเซียน หรือ ASEAN Single Window (ASW) ต่อไป”
ทั้งนี้ หากทุกประเทศในอาเซียนสามารถเชื่อมโยงระบบ e-Form D ASW ได้ทั้งหมดแล้ว จะทำให้การค้าขายภายในอาเซียนมีความคล่องตัวและสามารถเพิ่มมูลค่าการค้าระหว่างกันได้มากยิ่งขึ้น
นายอดุลย์กล่าวว่า กรมฯ ได้ให้บริการออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าแบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Form D ตั้งแต่วันที่ 5 พ.ย.2561 เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการ ซึ่งผู้ประกอบการสามารถยื่นคำขอหนังสือรับรองผ่านระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์มายังกรมฯ โดยกรมฯ จะพิจารณาอนุมัติ และส่งข้อมูลการอนุมัติ e-Form D ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ไปยังศุลกากรประเทศปลายทาง ผู้ประกอบการสามารถเลือกพิมพ์หรือไม่พิมพ์หนังสือรับรองรูปแบบกระดาษได้ด้วยตนเอง เพื่อลดเอกสาร ลดขั้นตอน ลดค่าใช้จ่าย และประหยัดเวลาให้แก่ผู้ประกอบการ
สำหรับสินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปยังตลาดกัมพูชา ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องดื่ม รถยนต์ รถจักรยานยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบและส่วนประกอบเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์พลาสติก เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว น้ำตาลทราย เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น