ฟิทช์: คุณภาพสินทรัพย์ของธนาคารพาณิชย์ไทยยังทรงตัวในขณะที่ฐานะเงินกองทุนยังแข็งแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันพุธที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

ฟิทช์: คุณภาพสินทรัพย์ของธนาคารพาณิชย์ไทยยังทรงตัวในขณะที่ฐานะเงินกองทุนยังแข็งแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง


          ฟิทช์ เรทติ้งส์ กล่าวว่า ธนาคารที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศไทยมีผลประกอบการทรงตัวในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2562 โดยแนวโน้มของคุณภาพสินทรัพย์และความสามารถในการทำกำไรที่ยังสนับสนุนโครงสร้างเครดิต แม้ว่าอัตราการเติบโตของธุรกิจสินเชื่อจะต่ำกว่าประมาณการเดิมของฟิทช์ซึ่งสะท้อนถึงบรรยากาศทางธุรกิจและความเชื่อมั่นของผู้บริโภค (business sentiment and consumer confidence) ที่ยังซบเซา แต่เราคาดว่าผลประกอบการของธนาคารจะยังทรงตัวและมีผลกำไรจากการดำเนินงานในช่วงครึ่งหลังของปี 2562 ส่งผลให้ฐานะของเงินกองทุนจะยังคงแข็งแรงขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปและสนับสนุนให้ธนาคารสามารถรองรับความเสี่ยงเชิงลบรวมถึงผลกระทบจากการเริ่มใช้มาตรการและกฏระเบียบใหม่ เช่น การเริ่มใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 9 (IFRS9) ในปี 2563
          อัตราการเติบโตของธุรกิจสินเชื่อของธนาคารไทยที่ 1% ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2562 นั้นต่ำกว่าระดับคาดการณ์ของฟิทช์ค่อนข้างมาก ซึ่งสะท้อนถึงความต้องการใช้สินเชื่อที่ต่ำและการอนุมัติให้เงินกู้ยืมอย่างระมัดระวังของธนาคาร แม้ว่าธุรกิจสินเชื่อน่าจะปรับตัวดีขึ้นได้ในช่วงครึ่งหลังของปีแต่การที่อัตราการขยายตัวจะสามารถเร่งตัวขึ้นให้ใกล้เคียงกับระดับอัตราการเติบโตคาดการณ์ของฟิทช์ที่ 7% นั้นน่าจะมีความท้าทายอย่างมาก จากสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันทำให้การเติบโตของสินทรัพย์เสี่ยงอยู่ในระดับต่ำฐานะเงินกองทุนของธนาคารจึงยังคงอยู่ในระดับสูง ในด้านอัตราการเติบโตของสินเชื่อรายย่อยที่ปรับตัวลดลงเหลือ 3.1% ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2562 จากเดิมที่ 7.8% ในปี 2561 นั้นเนื่องจากยอดขายรถยนต์ที่ชะลอตัวลงและการบังคับใช้มาตรการกำหนดเพดานอัตราส่วนสินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกันสำหรับสินเชื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่มีความเข้มงวดเพิ่มขึ้นในเดือนเมษายน 2562 สำหรับการเติบโตของปริมาณสินเชื่อภาคธุรกิจก็ยังคงถูกกดดันจากความล่าช้าของการอนุมัติโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน
          ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของประเทศไทยขยายตัวในอัตรา 4.1% ในปี 2561 แต่คาดว่าอัตราการขยายตัวจะลดลงเหลือ 3.3% ในปีนี้ในขณะที่จะขยายตัวเล็กน้อยที่อัตรา 3.5% ในปี 2563 โดยมีความเสี่ยงเชิงลบจากความล่าช้าของโครงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน การลดเม็ดเงินลงทุนของบริษัทที่เน้นการส่งออกและสงครามทางการค้าที่อาจทวีความตึงเครียดขึ้น
          คุณภาพสินทรัพย์ของธนาคารไทยที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ยังคงทรงตัวโดยมีอัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพอยู่ที่ 3.7% ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2562 และน่าจะยังคงทรงตัวอยู่ในระดับคล้ายเดิมได้ในช่วงที่เหลือของปี ทั้งนี้ความเสี่ยงเชิงลบอาจมาจากภาคธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) สินเชื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อรถยนต์ซึ่งมีภาระหนี้อยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูงซึ่งสินเชื่อรายย่อยเหล่านี้มีความสามารถน้อยในการจ่ายชำระหนี้อย่างต่อเนื่องในช่วงที่เศรษฐกิจผันผวนหรืออ่อนตัวลง อย่างไรก็ตามเราคาดว่าความเสี่ยงด้านคุณภาพสินทรัพย์จะไม่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญภายใต้สภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน และความเสี่ยงดังกล่าวน่าจะถูกบรรเทาลงได้บางส่วนจากมาตรการดูแลในเชิงป้องกัน (macro-prudential regulations) ของธปท และระดับสำรองหนี้สูญที่อยู่ในระดับสูง โดยอัตราส่วนสำรองหนี้สูญต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพเฉลี่ยของระบบธนาคารอยู่ที่ 152%
          ส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยสุทธิไม่รวมรายการพิเศษน่าจะยังทรงตัวต่อไปได้ในระยะสั้น โดยตลาดคาดการณ์ว่าระดับอัตราดอกเบี้ยไม่น่าจะเปลี่ยนแปลงมากและการขยายตัวของธุรกิจสินเชื่อที่อยู่ในระดับต่ำก็น่าจะไม่ส่งผลกดดันสภาพคล่องของระบบธนาคาร (การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องเพื่อรองรับสถานการณ์ด้านสภาพคล่องที่มีความรุนแรง หรือ Liquidity Coverage Ratio ของระบบธนาคารไทยอยู่ที่ 173% ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2562) ทั้งนี้ฟิทช์คาดว่ารายได้ค่าธรรมเนียมและค่าความเสี่ยงจากการให้สินเชื่อ (credit cost) จะเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบต่อแนวโน้มของผลกำไรของธนาคารในอนาคต
          อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ของธนาคารที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไทยอยู่ที่ 1.3% ณ วันที่ 30 มิถุนายน โดยลดลงเพียง 2bps จากปีก่อนหน้า จากค่าใช้จ่ายในการตั้งสำรองหนี้สูญที่ลดลงมาก อันเนื่องมาจากฐานะเงินกองทุนของธนาคารยังอยู่ในระดับที่แข็งแรงและคุณภาพสินเชื่อที่มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น ซึ่งค่าใช้จ่ายในการตั้งสำรองหนี้สูญที่ลดลงช่วยลดผลกระทบของค่าใช้จ่ายในด้านต่างๆ ที่สูงขึ้น เช่น ค่าใช้จ่ายด้านพนักงาน เงินลงทุนในด้านการดำเนินงานและเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมถึงช่วยบรรเทาผลกระทบจากการลดลงของรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยโดยเฉพาะจากรายได้เบี้ยประกันภัยที่ลดลงจากการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบ ทั้งนี้สัดส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ปรับเพิ่มเป็น 46.2% เมื่อเทียบกับ 44.3% ในครึ่งแรกของปีก่อนหน้าโดยระดับค่าใช้จ่ายดังกล่าวน่าจะยังค

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad