เปิดโมเดล 3 ขั้นตอน เพื่อขับเคลื่อนองค์กรสู่ Intelligent Enterprise - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันอังคารที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2562

เปิดโมเดล 3 ขั้นตอน เพื่อขับเคลื่อนองค์กรสู่ Intelligent Enterprise



     แม้สถานการณ์เศรษฐกิจโลกจะชะลอตัว แต่การแข่งขันทางธุรกิจกลับไม่ได้ลดลงไปตาม หนำซ้ำธุรกิจกลับยิ่งต้องปรับเปลี่ยน และนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเพิ่มศักยภาพการแข่งขันให้ดียิ่งขึ้นกว่าที่เคย
          เป็นที่ทราบกันดีว่าข้อมูลแห่งอนาคตได้เข้ามาเปลี่ยนวิธีการทำงานของธุรกิจ ทำให้ต้องทำการข้อมูลเพื่อวิเคราะห์ และเรียกทำงานด้วยข้อมูลแบบเรียลไทม์ เหล่านี้จะทำให้ธุรกิจได้เกิดความได้เปรียบในทุกด้านที่สามารถทำได้ โดยเฉพาะในองค์กรเอนเทอร์ไพรส์ที่ไม่เพียงแต่ต้องดำเนินธุรกิจให้อยู่รอด แต่ยังจะต้องเติบโตและดำเนินการได้อย่างยั่งยืนมั่นคง ทำให้การใช้งานระบบ Enterprise Resource Planning หรือ ERP นั้นมีส่วนสำคัญเป็นอย่างมากในการบริหารจัดการ และควบคุมการทำงานภายในให้เป็นระบบ และตอบสนองความต้องการในการได้มาซึ่งข้อมูลดังที่กล่าวมา
          กริช วิโรจน์สายลี รองประธานกรรมการ (ประเทศไทย) บริษัท ไอแอม คอนซัลติ้ง จำกัด บริษัทผู้ให้คำปรึกษาการบริหารงาน และพัฒนาระบบไอทีสำหรับองค์กรเอนเทอร์ไพรส์ในประเทศไทยมากว่า 15 ปี เล่าถึงปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจสามารถแข่งขันและก้าวกระโดดในยุคดิจิทัล ดิสรัปต์ว่า การเลือกใช้ระบบ ERP ที่มีประสิทธิภาพจะช่วยขับเคลื่อนให้องค์กรก้าวข้ามไปสู่การเป็น Intelligent Enterprise อย่างรวดเร็วและยั่งยืน
          "หากองค์กรธุรกิจมี Digital Core ที่ทรงประสิทธิภาพ จะช่วยเร่งให้องค์กรสามารถขับเคลื่อนนำหน้าคู่แข่งไปได้อย่างรวดเร็ว จากประสบการณ์การการพัฒนาระบบ ERP ด้วยการใช้เทคโนโลยี SAP S/4HANA ให้แก่ลูกค้าของเราในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา ทำให้เราสร้างโมเดล Customer Journey ในการให้คำปรึกษาและพัฒนาระบบเป็น 3 ขั้นตอน ที่เรียกว่า S/4 Assessment หรือ การประเมินขอบเขตงานเพื่อพัฒนาระบบ S/4 Upgrade Services บริการอัพเกรดระบบ SAP ให้เป็น Version S/4 และ ขั้นตอนสุดท้ายคือ การเพิ่มประสิทธิภาพ (Increase S/4HANA Efficiency) โดยการใช้งาน Features & Function ของระบบ SAP S/4 HANA มาใช้งานในมุมของธุรกิจ และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในองค์กรได้อย่างคุ้มค่า เช่น การวิเคราะห์ข้อมูล Real time (Embedded Analytics) หรือ การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานผ่านมือถือ หรือเว็บไซต์ เป็นต้น
          Step 1: S/4 Assessment (เตรียมความพร้อม วิเคราะห์ผลการกระทบและประเมินขอบเขตการทำงานเพื่อ อัพเกรดระบบ)
ในฐานะผู้ให้คำปรึกษาฯ จะให้ความสำคัญในขั้นตอนแรก จากประสบการณ์พบว่าลูกค้าส่วนมากไม่รู้ว่าตัวเองควรเริ่มต้นอย่างไร ขอบเขตการอัพเกรดระบบนั้นควรทำมากน้อยแค่ไหน หรือกระทั่งประเมินงบประมาณที่ต้องใช้ในการอัพเกรดเท่าไร สิ่งที่ลูกค้าจะได้จาก ได้รู้ว่า S/4 Assessment คือทราบว่าแท้จริงแล้วองค์กรควรจะพัฒนาระบบเป็น SAP S/4HANA หรือไม่ ประโยชน์ที่องค์กรจะได้รับจากการอัพเกรดคืออะไร และที่สำคัญจะได้ทราบถึงงบประมาณในการพัฒนาระบบดังกล่าว โดยจะพิจารณาจาก 3 องค์ประกอบ ได้แก่
          - Business Functional วิเคราะห์และหาความเปลี่ยนแปลง หรือผลกระทบของกระบวนการทำงานที่เกิดขึ้นจากอัพเกรดสู่ S/4 HANA ด้วย Tools SI-Check (Simplification Check) และ มุมมองการพัฒนากระบวนการทางธุรกิจ Business Process และวิธีการที่ได้รับประโยชน์จากการปรับปรุงการทำงานด้วยฟีเจอร์ฟังก์ชันของ S/4 HANA ด้วย Tools BSR (Business Scenario Recommendation)
          - Development Program วิเคราะห์ผลกระทบของโปรแกรม (Customize Programs) และการเปลี่ยนแปลง โดยจะทำการตรวจสอบในมุมมองของการเขียนโปรแกรมแบบใหม่ รวมไปถึงมุมมองการพัฒนาโปรแกรมให้มีประสิทธิภาพด้วย Features Function ของ S/4 HANA ด้วย
          - Technical Basis การวิเคราะห์เพื่อหาผลกระทบเชิงเครื่องเซิร์ฟเวอร์ และ แนวทางในการอัพเกรด (Upgrade Path) เพื่อวางแผนการดำเนิน และเตรียมความพร้อมในมุมมองของโครงสร้างพื้นฐานด้วย

          Step 2: S/4 Upgrade Services (บริการอัพเกรดระบบ ERP สู่ Version S/4 HANA)
          จากประสบการณ์ทั้งการพัฒนาและอัพเกรดระบบ SAP S/4HANA ในหลายธุรกิจ และอุตสาหกรรมของทีมงานไอแอม คอนซัลติ้ง ซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านการขับเคลื่อน Digital Core ในทุกส่วน ไม่ว่าจะเป็น Functinoal, ABAP และ Basis ที่ทำงานร่วมกันแบบบูรณาการที่จะผลักดันระบบ Digital Core ของให้เกิดขึ้น และใช้งานได้จริง โดยใช้แนวคิดในการบริหารโครงการที่เรียกว่า Beyond ซึ่งเป็นแนวคิดที่ไอแอม คอนซัลติ้งได้พัฒนาขึ้นเอง โดยนำเอาองค์ความรู้จากประสบการณ์ที่โชกโชน และการศึกษาเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาเข้าไว้ด้วยกัน และที่สำคัญที่สุด คือ การเข้าใจความต้องการของลูกค้าแท้จริง (Customer Insight) เพื่อตอบสนองการทำงานและความต้องการของธุรกิจที่จะเติบโตแบบยั่งยืน
รวมกับความสามารถของเทคโนโลยี S/4 HANA ที่เชื่อมโยงการบริหารงานต่างๆ ภายในและนอกองค์กรให้ทำงานร่วมกัน อย่างเป็นระบบและรวดเร็ว การเรียกใช้งานข้อมูล และนำมาวิเคราะห์ตัดสินใจแบบเรียลไทม์ทำให้ธุรกิจเดินหน้าไปได้ตลอดเวลา ที่สำคัญจะช่วยประหยัดทรัพยากรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นต้นทุน บุคลากร และเวลา ที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาส่วนต่อขยายในอนาคต สู่การเป็น Intelligent Enterprise ได้อย่างแท้จริง

          Step 3: Increase S/4HANA Efficiency (การเพิ่มประสิทธิภาพของระบบให้แข็งแกร่ง)
          ไอแอม คอนซัลติ้งได้ทำการศึกษาความต้องการเชิงลึกของลูกค้าว่า เมื่อระบบถูกอัพเกรดแล้ว วิธีและประสิทธิภาพในการทำงานจะต้องเปลี่ยนไปอย่างเป็นรูปธรรม ดังนั้น นอกจากจะพัฒนา Digital Core ขององค์กรเอนเทอร์ไพรส์ให้แล้ว เรายังได้ออกแบบกรอบแพลตฟอร์ม และมีบริการที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของระบบให้สามารถต่อยอดได้ แบ่งออกเป็น
          - Better UX เปลี่ยนการทำงานที่เข้าใจยากสู่การใช้งานที่ง่ายขึ้นด้วยการออกแบบไปตามการทำงานที่สอดคล้องกับผู้ใช้งาน
          - Embedded Analytics การดึงข้อมูลหลังบ้านมาวิเคราะห์แบบเรียลไทม์ ผ่านหน้าตา dashboard ที่ออกแบบมาให้ผู้บริหารสามารถใช้งาน และเข้าใจง่าย
          - Integration เพิ่มศักยภาพให้สามารถเชื่อมต่อเข้ากับระบบต่างๆ ทั้งภายในและภายนอก เพื่อให้กระบวนการทำงานเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
          - Chatbot & Notification อีกผู้ช่วยส่วนตัวที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว และคล่องตัวมากขึ้นด้วยการเชื่อมต่อระบบกับอุปกรณ์มือถือ และมีการแจ้งเตือนแบบเรียลไทม์
          - Contextual Awareness การนำเอาข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยรูปแบบแมชชีนเลิร์นนิ่ง ซึ่งจะช่วยคาดการณ์แนวโน้มของธุรกิจในมุมมองต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการขาย จัดซื้อ บัญชี ฯลฯ
          "ด้วยประสบการณ์ให้คำปรึกษา และการพัฒนาระบบสร้าง Digital Core ไอแอม คอนซัลติ้ง เราไม่เพียงแค่มุ่งจะให้บริการด้านเทคนิค แต่เรายังต้องการที่จะนำมีความรู้และความเข้าใจในเทคโนโลยี มาออกแบบและพัฒนาเข้ากับการทำงานของลูกค้า เพื่อช่วยขับเคลื่อนให้เป็น Intelligent Enterprise ในที่สุด" นายกริชกล่าวเสริม
          สามารถติดตามข้อมูล และเลือกหาโซลูชันส์ไอทีเพิ่มเติมได้ที่ www.iamconsulting.co.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad