CAT มอบเทคโนโลยี Internet of Things (IoT) ระบบการเกษตรอัจฉริยะ ช่วยให้เกษตรกรรมเป็นเรื่องง่าย และทันสมัยมากยิ่งขึ้น - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันอังคารที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2562

CAT มอบเทคโนโลยี Internet of Things (IoT) ระบบการเกษตรอัจฉริยะ ช่วยให้เกษตรกรรมเป็นเรื่องง่าย และทันสมัยมากยิ่งขึ้น


บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT ส่งมอบเทคโนโลยีสำหรับการทำเกษตรอัจฉริยะให้แก่ โรงเรียนบ้านปรือวายใหญ่ จ.ปราจีนบุรี เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2562 โดยมี นายชาตรีเชื้อสกุล ผู้อำนวยการสำนักงานบริการลูกค้า กสท เขตตะวันออก บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน) หรือ CAT พร้อมด้วย นางสาวโชติกา ไพจ์ศรี ผู้จัดการฝ่ายประชาสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร ส่งมอบอุปกรณ์เทคโนโลยี Internet of Things (IoT) สำหรับการทำเกษตรยุคดิจิทัล โดยมี นางรัตนาภรณ์ ศรีสรวย รองผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1 และนางสุดา พันธ์ธรรม ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านปรือวายใหญ่เป็นผู้รับมอบ
          โดย CAT ได้จัดทำโรงเรือนและระบบควบคุมการเปิด-ปิดน้ำ ระบบเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิความชื้นในดินและอากาศ สำหรับใช้ควบคุมคุณภาพและเพิ่มปริมาณผลผลิตให้กับโรงเรือนแปลงผัก แปลงเห็ดในโรงเพาะชำ และสวนมะนาวของโรงเรียน ซึ่งช่วยส่งเสริมโครงการอาหารกลางวัน โดยมีนักเรียนและคณะอาจารย์ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี
          การควบคุมระบบเปิด-ปิดน้ำ
          "น้ำ" คือปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรสวยงามและอุดมสมบูรณ์ได้ตามต้องการ CAT จึงได้พัฒนาแอปพลิเคชันที่สามารถควบคุมระบบการเปิด-ปิดน้ำของสปริงเกอร์ ที่ถูกติดตั้งไว้ที่แปลงผัก สั่งการด้วยปลายนิ้วจากโทรศัพท์มือถือ เพียง 1 คลิกจากที่ใดก็ได้ สามารถควบคุมการทำงานได้อย่างเรียลไทม์ การให้น้ำแก่พืชได้ทันเวลาตามที่พืชต้องการ จะช่วยลดความเสียหายจากการขาดน้ำของพืชได้ อีกทั้งยังสร้างความแม่นยำ ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายได้อีกด้วย
          ระบบเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิความชื้นในดินและอากาศ
"ความชื้น" คือตัวควบคุมความเจริญเติบโตของพืชผลในแปลงผัก เพราะน้ำในดินจะละลายธาตุอาหารของพืชออกมาให้พืชดูดไปใช้ประโยชน์ ถ้าพืชขาดน้ำจะทำให้การเจริญเติบโตลดลง ส่งผลให้ผลผลิตของพืชลดลง ซึ่งกำหนดเวลาให้น้ำก็สามารถพิจารณาได้จากปริมาณความชื้นในดินได้ ทาง CAT มีเทคโนโลยีที่สามารถวัดอุณหภูมิความชื้นในดินและอากาศ ที่ส่งสัญญาณเตือนทางแอปพลิเคชัน ทำให้น้องๆ นักเรียนได้เรียนรู้การแก้ปัญหา เลือกชนิดของพืชผักที่สามารถปลูกและเจริญเติบโตได้ในดินแต่ละแบบ ด้วยความแม่นยำและรวดเร็วผ่านเทคโนโลยี จึงทำให้การทำแปลงเกษตรอัจฉริยะไม่ใช่เรื่องยาก ใครๆ ก็สามารถพัฒนาผลิตผลและคุณภาพของแปลงเกษตรพืชผักสวนครัวของโรงเรียนได้
          นอกจากนี้ทีมวิศวกร CAT และอาจารย์จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ร่วมกันจัดอบรมให้ความรู้แก่คณะครู นักเรียน ผู้ปกครองและคนในชุมชน เรื่องระบบน้ำกับฟาร์มเกษตรและความรู้เกี่ยวกับเซ็นเซอร์ รวมทั้งการประยุกต์ใช้ IoT และ Big Data กับ Smart Farm เพื่อให้บุคลากรของโรงเรียนฯ มีความเข้าใจและใช้ประโยชน์จากการทำงานของ Smart Farm ได้อย่างเต็มที่ ซึ่งคณะครูและนักเรียนให้ความสนใจเป็นอย่างมากในการอบรม และทางทีมงานหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการอบรมในครั้งนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นของการปลูกฝังให้น้องๆ รักเทคโนโลยีทางการเกษตร ทำให้เป็นเรื่องที่ง่ายและสนุก รวมทั้งเป็นช่องทางในการหารายได้เสริมให้กับโรงเรียน
          โครงการ "CAT Digital Come Together" โครงการ CSR ที่มุ่งมั่นส่งเสริมให้เด็กไทยเห็นคุณค่าของอาชีพเกษตรกรรมพร้อมให้การสนับสนุนระบบเทคโนโลยี IoT เพื่อพัฒนาการเกษตรอย่างต่อเนื่องในทุกภูมิภาคทั่วประเทศ โดยเชื่อว่าจะสามารถเป็นต้นแบบการทำเกษตรอัจฉริยะให้โรงเรียนอื่นๆ ที่สนใจได้อีกด้วย ติดตามกิจกรรมดีๆ จาก CAT ได้ที่ www.catcsr.co
m

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad