“สตาร์เฟล็กซ์” หรือ SFLEX ผู้ผลิตและจำหน่ายบรรจุภัณฑ์พลาสติกชนิดอ่อน เดินหน้าขาย 110 ล้านหุ้น คาดเทรดใน SET ปีนี้ บล.ฟินันเซีย ไซรัส เป็น FA – Lead Underwrite - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันอาทิตย์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

“สตาร์เฟล็กซ์” หรือ SFLEX ผู้ผลิตและจำหน่ายบรรจุภัณฑ์พลาสติกชนิดอ่อน เดินหน้าขาย 110 ล้านหุ้น คาดเทรดใน SET ปีนี้ บล.ฟินันเซีย ไซรัส เป็น FA – Lead Underwrite

“สตาร์เฟล็กซ์” หรือ SFLEX ผู้ผลิตและจำหน่ายบรรจุภัณฑ์พลาสติกชนิดอ่อน เดินหน้าขาย 110 ล้านหุ้น คาดเทรดใน SET ปีนี้ บล.ฟินันเซีย ไซรัส เป็น FA - Lead Underwrite

“สตาร์เฟล็กซ์” หรือ SFLEX ผู้ผลิตและจำหน่ายบรรจุภัณฑ์พลาสติกชนิดอ่อน เดินหน้าขาย 110 ล้านหุ้น คาดเทรดใน SET ปีนี้ บล.ฟินันเซีย ไซรัส เป็น FA - Lead Underwrite

สำนักงาน ก.ล.ต. อนุมัติแบบคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ "SFLEX" ผู้ผลิตและจำหน่ายบรรจุภัณฑ์พลาสติกชนิดอ่อน สำหรับสินค้าอุปโภคและบริโภค เดินหน้านำหุ้นเข้าจดทะเบียนใน SET เตรียมเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 110 ล้านหุ้น หวังต่อยอดนำเงินระดมทุนลงซื้อเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตฟิล์มประเภทที่ใช้ในการปิดผนึกขึ้นรูป (Sealant) สร้างคลังสินค้า รวมทั้งเป็นเงินทุนหมุนเวียน โดยมี บล.ฟินันเซีย ไซรัส เป็นที่ปรึกษาทางการเงินและผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย
          นายสมภพ กีระสุนทรพงษ์ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน) หรือ FSS ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงินและผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายหุ้นสามัญเพิ่มทุน บริษัท สตาร์เฟล็กซ์ จำกัด (มหาชน) หรือ SFLEX เปิดเผยว่าสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้อนุมัติแบบคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ และแบบแสดงรายการข้อมูลของ SFLEX เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพื่อเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้แก่ประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวน 110 ล้านหุ้น มีมูลค่าที่ตราไว้ 1 บาทต่อหุ้น คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 26.83 ของจำนวนหุ้นที่ออกและเรียกชำระแล้วทั้งหมดภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนในครั้งนี้ แบ่งเป็นการเสนอขายหุ้นต่อประชาชนจำนวน 99 ล้านหุ้น คิดเป็นร้อยละ 24.15 และเสนอขายต่อกรรมการ ผู้บริหารและพนักงานของบริษัทฯ จำนวน 11 ล้านหุ้น คิดเป็นร้อยละ 2.68 ของจำนวนหุ้นที่ออกและเรียกชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทฯ ภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนในครั้งนี้ โดยจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET)
          ปัจจุบันบริษัทฯ มีทุนจดทะเบียนที่ออกและเรียกชำระแล้วจำนวน 300 ล้านบาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 300 ล้านหุ้น ภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนในครั้งนี้บริษัทฯ จะมีทุนจดทะเบียนที่ออกและเรียกชำระแล้วเป็น 410 ล้านบาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญจำนวน 410 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท
          "จากการที่ผู้บริหารของบริษัทฯ มีประสบการณ์ในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์มานานกว่า 32 ปี ทำให้มีความเข้าใจธุรกิจอย่างลึกซึ้ง อีกทั้งยังมีความสัมพันธ์ที่ดีกับคู่ค้าไม่ว่าจะเป็นลูกค้าที่เป็นผู้ผลิตสินค้าอุปโภคและบริโภคชั้นนำของประเทศ รวมถึงผู้ผลิตและจำหน่ายวัตถุดิบ (Suppliers) ทำให้มีผลประกอบการที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพของสินค้าและผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างต่อเนื่องและทันต่อการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภค รวมถึงเน้นการขยายฐานลูกค้าให้กว้างขึ้นเพื่อเพิ่มศักยภาพในการเติบโตอย่างต่อเนื่องในอนาคต" นายสมภพ กล่าว
          นายปรินทร์ธรณ์ อภิธนาศรีวงศ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท สตาร์เฟล็กซ์ จำกัด (มหาชน) หรือ SFLEX เปิดเผยว่า บริษัทฯ เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายบรรจุภัณฑ์พลาสติกชนิดอ่อน (Flexible Packaging) (Flexible Packaging) สำหรับสินค้าอุปโภคและสินค้าบริโภคทั้งในรูปของเหลวและของแห้งให้กับผู้ผลิตสินค้าอุปโภคและบริโภคชั้นนำของประเทศ รูปแบบผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ สามารถแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ บรรจุภัณฑ์ประเภทม้วน (Roll Form) และบรรจุภัณฑ์ประเภทซอง (Pre Form Pouch) รูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Stand-up Pouch, 3-Sided Seal Pouch, Center Seal Pouch และ 4-Sided Seal Pouch และหากพิจารณาตามลักษณะของสินค้าที่บรรจุในบรรจุภัณฑ์ จะแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ บรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าอุปโภค (Non-Food Products) เช่น น้ำยาปรับผ้านุ่ม น้ำยาล้างจาน ผงซักฟอก ครีมอาบน้ำ เป็นต้น และบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าบริโภค (Food Products) เช่น ไอศครีม วุ้นเส้น ขนมขบเคี้ยว บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ซอสและเครื่องปรุงรส อาหารสัตว์ เป็นต้น โดยรายได้จากการขายหลักของบริษัทฯ มาจากการจำหน่ายบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าอุปโภค คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 82-85 ส่วนที่เหลือประมาณร้อยละ 15-18 มาจากการจำหน่ายบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าบริโภค
          "จุดแข็งของบริษัทฯ คือ การเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ (Business Partnership) กับลูกค้า โดยเน้นการสร้างความสัมพันธ์ในระยะยาวและทำงานร่วมกับลูกค้าอย่างใกล้ชิดในการพัฒนาและออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ของลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังให้ความสำคัญในเรื่องคุณภาพของผลิตภัณฑ์อย่างมาก จึงได้พัฒนากระบวนการผลิตให้เป็นไปตามมาตรฐานและสามารถผลิตสินค้าได้ตรงตามความต้องการของลูกค้าตลอดมา โดยได้รับการรับรองมาตรฐานต่างๆ ได้แก่ FSSC 22000 (Food Safety System Certification 22000), GMP (Good Manufacturing Practices) และ HACCP (Hazard Analysis and Critical Control Point) จากการที่กลุ่มลูกค้าของบริษัทฯ เป็นผู้ผลิตสินค้าอุปโภคและสินค้าบริโภครายใหญ่ของประเทศ จึงให้ความสำคัญในเรื่องคุณภาพที่ได้มาตรฐาน ความสวยงามและทันสมัยของบรรจุภัณฑ์ที่สามารถตอบโจทย์กับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว เนื่องจากบรรจุภัณฑ์ถือเป็นส่วนสำคัญอีกปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยสร้างความแตกต่างและโดดเด่นของผลิตภัณฑ์ของลูกค้า ยิ่งไปกว่านั้นบริษัทฯ ยังมุ่งเน้นการให้บริการทั้งก่อนและหลังการขายอย่างใกล้ชิดและรวดเร็วเพื่อเพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขันของบริษัทฯกับผู้ผลิตรายอื่นๆ เพื่อบรรลุเป้าหมายของบริษัทฯ ที่จะเป็นผู้นำทางด้านบรรจุภัณฑ์พลาสติกชนิดอ่อน (Flexible Packaging) ในประเทศกลุ่มภูมิภาคอาเซียน หรือ CLMV" นายปรินทร์ธรณ์กล่าว
          วัตถุประสงค์การระดมทุนในครั้งนี้เพื่อซื้อเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตฟิล์มประเภทที่ใช้ในการปิดผนึกขึ้นรูป (Sealant) ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติกชนิดอ่อน ซึ่งจะทำให้บริษัทฯ สามารถบริหารต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมทั้งใช้ลงทุนสร้างคลังสินค้าทดแทนการเช่าคลังสินค้าในปัจจุบัน และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการประกอบธุรกิจ
          สำหรับผลประกอบการของบริษัทฯ ในปี 2559-2561 บริษัทฯ มีรายได้รวม 1,181.01 ล้านบาท 1,353.33 ล้านบาท 1,374.25 ล้านบาท ในขณะที่มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 33.29 ล้านบาท 146.63 ล้านบาท 136.11 ล้านบาท ตามลำดับ สำหรับงวด 6 เดือนแรกของปี 2562 บริษัทฯ มีรายได้รวมจำนวน 621.98 ล้านบาท มีกำไรสุทธิจำนวน 30.12 ล้านบาท
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad