วิศวะมหิดล ร่วมกับ สอวช. จัดงานประชุมวิชาการระบบขนส่งทางรางแห่งประเทศไทย ปี 2019 - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันอังคารที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2562

วิศวะมหิดล ร่วมกับ สอวช. จัดงานประชุมวิชาการระบบขนส่งทางรางแห่งประเทศไทย ปี 2019

วิศวะมหิดล ร่วมกับ สอวช. จัดงานประชุมวิชาการระบบขนส่งทางรางแห่งประเทศไทย ปี 2019

วิศวะมหิดล ร่วมกับ สอวช. จัดงานประชุมวิชาการระบบขนส่งทางรางแห่งประเทศไทย ปี 2019

 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดย กลุ่มสาขาโลจิสติกส์และระบบขนส่งทางราง ร่วมกับ สำนักงานนโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สอวช.) และสมาคมวิศวกรรมระบบขนส่งทางรางไทย (วศรท.) เป็นเจ้าภาพจัด งานประชุมวิชาการระบบขนส่งรางไทย ปี 2019 (Thailand Rail Academic Symposium - TRAS) โดยมี ดร เยี่ยมชาย ฉัตรแก้ว ที่ปรึกษาผู้อำนวยการ สอวช. เป็นประธานเปิดงาน ท่ามกลางผู้ร่วมงานจากภาครัฐ ผู้ประกอบการ ภาคการศึกษา นักวิชาการ วิศวกรและผู้สนใจ ณ ห้องประชุมซีอาเซียน อาคารไซเบอร์เวิลด์ทาวเวอร์ ถนนรัชดาภิเษก
          งานประชุมวิชาการระบบขนส่งรางแห่งประเทศไทย ปี 2019 จัดเป็นครั้งแรกในปี 2557 ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน โดย การประชุมครั้งนี้เป็นการจัดงานครั้งที่ 6 ภายใต้หัวข้อ "การขนส่งทางรางในเมือง" (Urban Rail Transit) และนับเป็นครั้งแรกสำหรับการสัมมนาระดับนานาชาติ เพื่อให้มีการนำเสนอผลงานการศึกษาวิจัยและเผยแพร่ความรู้ด้านเทคโนโลยีระบบขนส่งทางราง ทั้งจากหน่วยงานภายในและต่างประเทศ ในงานสัมมนาเปิดโอกาสให้บุคลากรในอุตสาหกรรมและผู้ที่สนใจเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงด้านการปฏิบัติพัฒนาระบบขนส่งทางรางที่ดี (Good Practices) พบปะแลกเปลี่ยนความรู้และข้อคิดเห็น นำไปสู่การสร้างเครือข่ายด้านการพัฒนาบุคลากรและเทคโนโลยีระบบขนส่งทางราง ภายในงานมีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากภาคการศึกษาและภาคอุตสาหกรรมจากทั้งในและต่างประเทศร่วมบรรยายและเสวนาในประเด็นการพัฒนาระบบขนส่งทางราง
          ผศ.ดร.วเรศรา วีระวัฒน์ ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมโลจิสติกส์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะประธานจัดงาน กล่าวว่า สาระสำคัญจากงานประชุม งานประชุมวิชาการระบบขนส่งรางแห่งประเทศไทย ปี 2019 เน้นย้ำความท้าทายในการพัฒนาระบบขนส่งทางรางเพื่อให้เป็นสิ่งแวดล้อมเมืองอย่างยั่งยืน ตอบโจทย์แนวโน้มการเติบโตของเมืองและปัญหาที่โลกกำลังเผชิญ ซึ่ง Dr.Madan Banghu Regmi ผู้เชี่ยวชาญจากองค์กรสหประชาชาติ และดร.ศิรดล ศิริธร หัวหน้าภาควิชาระบบขนส่งทางราง มหาวิทยาลัยมหิดล ได้นำเสนอต่อที่ประชุม
          ด้านทีมผู้เชี่ยวชาญจาก 2 หน่วยงานที่มีชื่อเสียงของสหราชอาณาจักร ถ่ายทอดประสบการณ์เรื่องระบบขนส่งรางในโตเกียว โดย ดร. ทากุ ฟูจิยามา จากยูนิเวอร์ซิตี้ คอลเลจ ลอนดอน (University College London) และการบูรณาการข้อมูลและให้บริการในระบบขนส่งสาธารณะในกรุงลอนดอน โดย 3 ผู้เชี่ยวชาญจากองค์การคมนาคมแห่งลอนดอน (Transport for London) ซึ่งควบคุมงานขนส่งมวลชนในพื้นที่ รวมทั้ง รถไฟใต้ดิน รถเมล์ท้องถิ่น แทรมลิงก์ และรถไฟเบาสายดอคแลนด์ นำโดยคุณวิวิธ ศิรภัสสุณธร คุณโฮวาร์ด หว่อง และคุณเดวิด วินสเล็ตต์ ได้แลกเปลี่ยนข้อมูลกับที่ประชุม

วิศวะมหิดล ร่วมกับ สอวช. จัดงานประชุมวิชาการระบบขนส่งทางรางแห่งประเทศไทย ปี 2019

วิศวะมหิดล ร่วมกับ สอวช. จัดงานประชุมวิชาการระบบขนส่งทางรางแห่งประเทศไทย ปี 2019

วิศวะมหิดล ร่วมกับ สอวช. จัดงานประชุมวิชาการระบบขนส่งทางรางแห่งประเทศไทย ปี 2019

          ในส่วนของการนำเสนองานวิจัยในวันแรกมี ผศ.ดร.วศพร เตชะพีรพานิช และ ดร.จิรพรรณ เลี่ยงโรคาพาธ เป็นประธานที่ประชุม โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากในและต่างประเทศเข้าร่วมสัมมนาในหลายหัวข้อ อาทิ พฤติกรรมผู้โดยสารที่มีต่อการลดค่าโดยสารในช่วงการจราจรไม่แออัด สายแอร์พอร์ต เรลลิ้งค์ กรุงเทพ , การบริหารจัดการระยะสั้นในช่วงดิสรัพชั่นโครงข่ายรถไฟ , ดัชนีชี้วัดผลสำเร็จของผู้ประกอบการในบริการขนส่งมวลชนทางรางในประเทศไทย , ระยะเวลาที่ผู้โดยสารอยู่ในสถานีรถไฟฟ้า , แนวโน้มวิชาชีพด้านขนส่งทางรางในภูมิภาคอาเซียน โดยมีการหารือในการพัฒนา Soft skills เพื่อส่งเสริมความสามารถของบุคคลากรในการทำงาน ผ่านการพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมระบบขนส่งทางรางทั้งในและต่างประเทศ นักศึกษาต่างชาติ และ อาจารย์จากภาควิชาระบบขนส่งทางราง ม.มหิดล ซึ่งมีการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษและมุ่งเน้นให้นักษาทำงานในระดับนานาชาติ
          วันที่สองมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลสถานการณ์ของการพัฒนาระบบรางจากส่วนภูมิภาคในเรื่องกรอบเวลาในการก่อสร้างและอุปสรรคในการดำเนินงาน รวมทั้งการหารือแนวคิดการเชื่อมต่อกับการเดินทางระบบรอง (รถประจำทางและสองแถว) การแข่งขันกับรถยนต์และจักรยานยนต์ส่วนตัวในด้านเวลาและค่าใช้จ่าย รวมถึงนโยบายในการส่งเสริมการใช้ระบบรางและแผนการพัฒนาเมืองและพื้นที่รอบสถานี (TOD)
          ในช่วงของการนำเสนองานวิชาการ ดร.นทชัย วงษ์ชวลิตกุล และ แอนนา ฟราสซิค (Anna Fraszczyk) เป็นประธานที่ประชุม มีการสัมมนาในหัวข้อที่น่าสนใจ อาทิ เจาะลึกความเร็วของรถไฟสูงสุดสำหรับระบบขนส่งที่ใช้เทคนิค เจเนติก อัลกอริธึม , การออกแบบความเร็วของรถไฟสูงสุด สำหรับระบบ PMSM ซึ่งใช้โปรแกรมไดนามิคกับการควบคุมแบบ MTPA , การเคลื่อนที่ของรถไฟภายใต้ระบบ Virtual Coupling
          ส่วนช่วงสุดท้ายมี ดร.สมศิริ เซียววัฒนกุล และ ดร.กรธรรม สถิรกุล เป็นประธานที่ประชุม โดยมีการสัมมนาแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น ในหลายหัวข้อที่น่าสนใจ อาทิ วิถีความปลอดภัยในการบำรุงรักษารถไฟ : กรณีศึกษาจากโครงข่ายรถไฟฟ้าใต้ดินกรุงเทพ , การขยายโครงข่ายรถไฟใต้ดิน The West Midlands และการประเมินผลกระทบด้านสังคม - เศรษฐกิจ , ระบบกำหนดเวลาวิ่งของรถไฟ ซึ่งใช้ไทม์ คัลเลอร์ เพ็ทติ - เน็ต , การพัฒนาของระบบตรวจสอบรางรถไฟเพื่อการบำรุงรักษา , แพลตฟอร์มข้อมูลรถไฟและระบบบริการ , กรณีศึกษาการแข่งขันด้านการค้าปลีกที่ สถานีฮากาตะ ประเทศญี่ปุ่น , การใช้ที่ดินและการเชื่อมต่อระบบการขนส่ง เพื่อส่งเสริมการเข้าถึงของคนเดินเท้าสู่สถานีขนส่งมวลชน , การวัดประเมินผลความเปลี่ยนแปลงของการเข้าถึงรถไฟฟ้าใต้ดินในพื้นที่ต่างๆ : กรณีศึกษาของโครงข่ายรถไฟฟ้าใต้ดิน ฟูกุโอกะ เป็นต้น
          นับเป็นอีกหนึ่งความก้าวหน้าของความร่วมมือในการพัฒนาเทคโนโลยีระบบรางและยกระดับบริการระบบขนส่งมวลชนแก่ประชาชนเพื่อรองรับอนาคตประเทศ

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad