กระทรวงเกษตรฯ แถลงใหญ่ “มอบของขวัญปีใหม่ การขับเคลื่อนภาคการเกษตร ปี 2563” - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันเสาร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2563

กระทรวงเกษตรฯ แถลงใหญ่ “มอบของขวัญปีใหม่ การขับเคลื่อนภาคการเกษตร ปี 2563”

กระทรวงเกษตรฯ แถลงใหญ่ “มอบของขวัญปีใหม่ การขับเคลื่อนภาคการเกษตร ปี 2563” เน้นทำงานเชิงรุก แก้ปัญหาปากท้องเกษตรกรครบทุกมิติ

กระทรวงเกษตรฯ แถลงใหญ่ “มอบของขวัญปีใหม่ การขับเคลื่อนภาคการเกษตร ปี 2563” เน้นทำงานเชิงรุก แก้ปัญหาปากท้องเกษตรกรครบทุกมิติ

นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมแถลงข่าว "มอบของขวัญปีใหม่ การขับเคลื่อนภาคการเกษตร ปี 2563" ณ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีความมุ่งมั่นตั้งใจในการขับเคลื่อนนโยบายสำคัญเพื่อขับเคลื่อนภาคการเกษตรไทยไปสู่อนาคตอย่างมั่นคง และยั่งยืน โดยยึดหลักบูรณาการการทำงานร่วมกัน และดำเนินการเชิงรุกเพื่อแก้ไขปัญหาปากท้องของพี่น้องเกษตรกรอย่างเร่งด่วน รวมถึงการเตรียมมาตรการรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้นและอาจส่งผลกระทบกับเกษตรกรและประชาชนโดยตรง ซึ่งในวันนี้ กระทรวงเกษตรฯ เตรียมขับเคลื่อนนโยบายและแผนงานที่สำคัญในปี 2563 ประกอบด้วย

          1. การบริหารจัดการแหล่งน้ำทั้งระบบ
             - ก่อสร้างแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ขนาดเล็กและแก้มลิง โดยจะดำเนินการในปี 2563 รวมทั้งสิ้น 421 โครงการ เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จทั้งโครงการจะเพิ่มพื้นที่ชลประทาน 1,232,121 ไร่ และปริมาตรเก็บกัก 942.00 ล้าน ลบ.ม. สำหรับในปี 2563 โครงการที่ดำเนินการแล้วเสร็จจะได้พื้นที่ชลประทาน 176,968 ไร่ และปริมาตรน้ำเก็บกัก 199.54 ล้าน ลบ.ม.
             - ปัจจุบันสภาพฝนมีความผันแปรสูงมาก ส่งผลกระทบต่อปริมาณน้ำท่าและน้ำในแหล่งเก็บกักน้ำโดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี 2562 ในลุ่มน้ำเจ้าพระยามีปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อความต้องการ มีการใช้น้ำเกินแผนที่ได้จัดสรรไว้ ทำให้เกิดปัญหาการรุกล้ำของน้ำเค็ม ส่งผลต่อระบบนิเวศและคุณภาพน้ำด้าน การเกษตรกรรม – อุปโภคบริโภค จึงมีแผนการผันน้ำจากลุ่มน้ำแม่กลองมาลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างในฤดูแล้ง ปี 2562/2563 จำนวน 850 ล้าน ลบ.ม. สำหรับในอนาคตจะพิจารณาผันน้ำมาสนับสนุนลุ่มน้ำเจ้าพระยา
             - ปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกพืช ป่าไม้ และเพิ่มน้ำในเขื่อนและอ่างเก็บน้ำ โดยมีศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงประจำภาคทั้ง 5 ศูนย์ และได้ดำเนินการจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงเคลื่อนที่เร็ว เพื่อติดตาม เฝ้าระวังสภาพอากาศ และสามารถปฏิบัติการฝนหลวงได้เมื่อสภาพอากาศเอื้ออำนวยในการช่วยเหลือพื้นที่ที่ขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค เกษตรกรรม การเติมน้ำต้นทุนให้กับเขื่อนและอ่างเก็บน้ำ รวมทั้งการบรรเทาปัญหาหมอกควันและไฟป่า และจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวง จำนวน 11 - 13 หน่วยปฏิบัติการ เพื่อปฏิบัติการฝนหลวงให้ครอบคลุม 25 ลุ่มน้ำหลักในพื้นที่ 77 จังหวัด ซึ่งจะมีพื้นที่ได้รับประโยชน์ 230 ล้านไร่
             - การบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูแล้ง โดยกรมชลประทาน ได้วางแผนการจัดสรรน้ำทั้งประเทศในช่วงฤดูแล้งปี 2562/63 ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2562 - 30 เมษายน 2563 จำนวน 17,699 ล้าน ลบ.ม. แบ่งเป็น อุปโภค-บริโภค 2,300 ล้าน ลบ.ม. รักษาระบบนิเวศและอื่น ๆ 7,006 ล้าน ลบ.ม. สำรองน้ำต้นฤดูฝนปี 2563 (พ.ค.-ก.ค. 63) รวม 10,540 ล้านลูกบาศก์เมตร เกษตรฤดูแล้งปี 2562/63 7,874 ล้าน ลบ.ม. อุตสาหกรรม 519 ล้าน ลบ.ม. รวมถึงได้ทำการประชาสัมพันธ์ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเกษตรกรรับทราบ สถานการณ์น้ำต้นทุน แนวทางการบริหารจัดการน้ำ ตลอดจนส่งเสริมให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเพาะปลูก มาเป็นการปลูกพืชใช้น้ำน้อยให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน 22 จังหวัด ในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยา
             - ขุดสระน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน ขนาด 1,260 ลบ.ม.ให้เกษตรกรที่ขอรับการสนับสนุนทั่วประเทศ จำนวน 40,000 บ่อ เพื่อกักเก็บน้ำ บรรเทาและชะลอความแห้งแล้ง เพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ดินในฤดูฝนทิ้งช่วงหรือฤดูแล้งในระดับไร่นา ให้เกษตรกรสามารถมีน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้ง สำหรับปลูกพืชผักแบบผสมผสานเลี้ยงปลา ตกกล้า ซึ่งเป็นการทำการเกษตรแบบใช้น้ำน้อย 
          2. ส่งเสริมการเกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์
             - ส่งเสริมเกษตรยั่งยืนด้วยศาสตร์พระราชา
                - ส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ 354,614 ราย เกษตรกรรมทางเลือก/เกษตรผสมผสาน 16,110 ราย ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพด้านการเกษตร 44,780 ราย
             - ส่งเสริมเกษตรอินทรีย์
                - การผลิตพืชในระบบเกษตรปลอดภัย หรือเกษตรอินทรีย์ สนับสนุนการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ได้แก่ การใช้พืชปุ๋ยสด ชนิดต่าง ๆ อาทิ ปอเทือง ถั่วพร้า ถั่วพุ่ม มะแฮะ ส่งเสริมการทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ รวมทั้งใช้จุลินทรีย์เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน ควบคุมโรคและแมลงศัตรูพืช โดยปี 2563 มีเป้าหมายสนับสนุนกลุ่มเกษตรอินทรีย์ 3 ระดับ ดังนี้ กลุ่มเตรียมความพร้อม สนับสนุนปัจจัยการปรับปรุงดิน และกระบวนการรับรองมาตรฐานแบบมีส่วนร่วม (PGS) 1,575 ราย พื้นที่ 15,750 ไร่
                - จัดทำแผนปฏิบัติการด้านเกษตรอินทรีย์ พ.ศ. 2560-2565 โดยผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมจากภาคส่วนต่าง ๆ พร้อมทั้งผลักดันให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำแผนปฏิบัติการด้านเกษตรอินทรีย์ไปใช้เป็นกรอบในการขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ไปสู่การปฏิบัติ เพื่อเพิ่มพื้นที่เกษตรอินทรีย์ ไม่น้อยกว่า 1.3 ล้านไร่ และเพิ่มจำนวนเกษตรกรที่ทำเกษตรอินทรีย์ไม่น้อยกว่า 80,000 ราย ภายในปี 2565
                - การส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ ตั้งแต่กระบวนการผลิตทั้งพืช ปศุสัตว์ และประมง จำนวน 481,000 ไร่ และอบรมให้ความรู้การผลิตเกษตรอินทรีย์ด้านพืช ประมง หม่อนไหม บัญชี และการใช้ชีวินทรีย์ รวม 10,550 ราย ตรวจรับรองแปลงพืชอินทรีย์ 3,200 ฟาร์ม โรงงานแปรรูป/คัดบรรจุ/โรงรม จำหน่ายพืชอินทรีย์ 80 ฟาร์ม พร้อมรับรองสถานที่จำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์ 2 แห่ง
                - ขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์แบบบูรณาการจากทุกภาคส่วน โดยยึดพื้นที่เป็นหลัก (Area base) เช่น(1) พื้นที่ใกล้โรงเรียน (2) พื้นที่ใกล้โรงแรม (3) พื้นที่ใกล้โรงพยาบาล จัดทำโครงการ "โรงพยาบาลอาหารปลอดภัย"จำนวน 896 แห่ง ทั่วประเทศ โดยสนับสนุนการจัดซื้อผลผลิตเกษตรอินทรีย์ เพื่อทำอาหารปลอดภัยให้กับผู้ป่วย และจัดให้มีการจำหน่ายผลผลิตเกษตรอินทรีย์ในโรงพยาบาล
                - สร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์ให้ผู้ผลิตและผู้บริโภคเข้าใจเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นและการตัดสินใจเลือกซื้อผลผลิตเกษตรอินทรีย์
             - ส่งเสริมเกษตรปลอดภัย
                - ตรวจสอบปัจจัยการผลิต/ศัตรูพืช การออกใบรับรอง และควบคุมกำกับดูแล พ.ร.บ. โดยตรวจสอบปัจจัยการผลิต/สินค้าพืช/ผลิตภัณฑ์ผลผลิตทางการเกษตร 150,000 ตัวอย่าง ออกใบรับรองสุขอนามัย (ปลอดศัตรูพืช) 300,000 ฉบับ ใบรับรองสุขอนามัยพืช/สารพิษตกค้าง/สารปนเปื้อน 63,000 ฉบับ ใบอนุญาตตามกฎหมาย 100,000 ฉบับ และตรวจสอบร้านค้า/สินค้าเกษตร 52,000 ราย
                - กำหนดและจัดทำมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร โดยการกำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร 15 เรื่อง การพัฒนาระบบสารสนเทศ 3 ระบบ การรับรองและตรวจติดตามหน่วยงานตรวจสอบรับรองตามมาตรฐานสากล 24 หน่วย-ขอบข่าย การกำกับ ดูแลและควบคุมมาตรฐานสินค้าเกษตร 3 กลุ่มสินค้า และการประชุมเจรจาเพื่อสนับสนุนการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหาร 20 ครั้ง
             - มาตรการลด ละ เลิก การใช้สารเคมี ผ่านการประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรรับรู้เกี่ยวกับการใช้สารเคมี
                โดยจัดทำอินโฟกราฟิกและคลิปวีดีโอ เรื่อง การใช้สารเคมีทางการเกษตรตามความจำเป็น และการใช้วิธีการกำจัดวัชพืชและป้องกันกำจัดโรคพืชโดยวิธีอื่น เช่น เครื่องจักรกลเกษตรและสารชีวภัณฑ์ การให้ความรู้กับเกษตรกรผ่านเวทีโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ สนับสนุนปัจจัยการผลิตเกี่ยวกับสารอินทรีย์ต่าง ๆ ได้แก่ สนับสนุนการใช้ปุ๋ยพืชสดในการปรับปรุงบำรุงดิน ส่งเสริมการผลิตปุ๋ยหมัก พด. ส่งเสริมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง และมาตรการพัฒนาระบบปลูกพืชและเขตกรรมที่เหมาะสม
             - การพัฒนาสารชีวภัณฑ์และฮอร์โมนพืช ด้านควบคุมพืช ด้านรักษาสิ่งแวดล้อม
                โดยในปี 2563 มีการผลิตสารเร่งจุลินทรีย์ พด. 6,733,500 ซอง รวมถึงสร้างศูนย์บ่มเพาะในส่วนราชการและกลุ่มเกษตรกรให้เป็นศูนย์เรียนรู้และกระจายชีวภัณฑ์ เพื่อสนับสนุนและให้บริการในด้านวิชาการและผลิตชีวภัณฑ์ใช้เอง พร้อมถ่ายทอดชีวภัณฑ์ใช้ในการกำจัดศัตรูพืช 17 ชนิด อาทิ เชื้อราไตรโคเดอร์มา แบคทีเรียบาซิลลัส ซับทิลิส (Bs) เหยื่อโปรโตซัวกำจัดหนู ไส้เดือนฝอยศัตรูแมลง
             - ดำเนินมาตรการใช้เครื่องจักรกลทางการเกษตรแทนแรงงานเกษตร
                สร้างช่างเกษตรท้องถิ่น ด้วยการร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานด้านพัฒนาฝีมือแรงงานและภาคเอกชน ในการสนับสนุนให้เกษตรกรได้พัฒนาทักษะและเทคนิคการซ่อมแซมเครื่องยนต์เกษตร 4,700 ราย
          3. ใช้ระบบตลาดนำการผลิต เพื่อแก้ไขปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ/ล้นตลาด
             - ขยายช่องทางตลาดเกษตรกร /จัดหาตลาดใหม่เพิ่ม
                - โดยการเข้าร่วมกิจกรรม/งานเทศกาลยังต่างประเทศ เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์สินค้าเกษตรคุณภาพมาตรฐานของไทย ร่วมมือกับชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด (ชสท.) ส่งเสริมให้สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่ผลิตสินค้าที่ดี มีคุณภาพ นำผลิตภัณฑ์สินค้าจำหน่ายผ่านตลาดออนไลน์ ภายใต้ชื่อ "Co-op click" รวมถึง นโยบายขับเคลื่อนเทคโนโลยีดิจิทัล ด้านการเกษตรของกระทรวงเกษตรฯ สู่ไทยแลนด์ 4.0 และเกษตร 4.0 ในการเพิ่มช่องทางและโอกาสทางการตลาดที่สำคัญตามแนวทางนโยบายตลาดนำการเกษตร เพื่อช่วยให้เกษตรกรสามารถซื้อขายสินค้าเกษตรออนไลน์มาอย่างต่อเนื่อง อาทิ DGTFarm หรือ ดิจิตอลฟาร์ม ผ่านทาง www.dgtfarm.com และ อตก. เดลิเวอรี่ ผ่านทาง www.ortorkor.com
                - เปิดตลาดการค้าสัตว์ปีกในสาธารณรัฐประชาชนจีน ภูมิภาคตะวันออกกลางเพิ่มนอกเหนือจากสหรัฐอาหรับอามิเรต และสหภาพยุโรป โดยเฉพาะสหภาพยุโรปคาดว่าปริมาณการส่งออกสัตว์ปีกจะขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1 โดยส่งออกเนื้อไก่ จำนวน 970,770 ตัน มูลค่า 116,589 ล้านบาท
             - สร้างตลาดออนไลน์โดยร่วมมือกับ LAZADA Thailand (Kick off ม.ค. 63)
                กระทรวงเกษตรฯ ขยายความร่วมมือสู่แพลตฟอร์มลาซาด้า ผู้นำอีคอมเมิร์ชในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้มีการหารือกับทีมบริหารงานผู้ขายลาซาด้าเพื่อสร้างโอกาสร่วมกันให้กับสินค้าเกษตรและเกษตรกรไทยให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี พัฒนาความรู้แบบยั่งยืนโดย สามารถเปิดร้านค้าบนแพลตฟอร์มลาซาด้า เพื่อนำสินค้าเกษตรเข้าสู่ช่องทางออนไลน์โดยไม่มีค่าใช้จ่าย นอกจากจะช่วยในเรื่องการเพิ่มช่องทางการตลาด ให้เกษตรกรได้กระจายผลผลิตในช่วงผลผลิตออกตลาดมากแล้ว ยังช่วยให้เกษตรกรขยายฐานกลุ่มลูกค้าเพิ่มขึ้นอย่างไม่จำกัด สามารถทำความรู้จักกับกลุ่มลูกค้าของตัวเอง ทำการซื้อขายกับผู้ซื้อ ส่งผลให้เกิดการพัฒนาสินค้าเกษตรที่ตรงกับความต้องการของตลาด ลดความเหลื่อมล้ำ และยังสามารถนำเสนอสินค้าที่มีคุณภาพในราคาที่ดี จากเกษตรกรสู่ผู้บริโภคโดยตรง ซึ่งในเบื้องต้นจะเน้นจัดกิจกรรมอบรมทักษะให้แก่กลุ่มเกษตรกรในระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชน สหกรณ์การเกษตรและกลุ่มYoung Smart Farmer
             - พัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง Smart Farmer
                พัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง โดยสร้างและพัฒนาเกษตรกรให้มีศักยภาพในการประกอบอาชีพด้านพืช ประมง ปศุสัตว์ ด้านการผลิต การแปรรูปและการตลาด รวมถึงได้รับการพัฒนาสู่การเป็นผู้ผลิต ผู้ประกอบการด้านนวัตกรรม นำไปสู่การลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันพร้อมสู่ การเป็นผู้ประกอบการด้านเกษตร รวมทั้งสิ้น 84,312 ราย
             - เสริมสร้างความเข้มแข็งวิสาหกิจชุมชน/สหกรณ์
                - พัฒนาวิสาหกิจสู่ความเป็นมืออาชีพ 444 แห่ง ด้วยการสอนแนะการจัดทำบัญชีแก่วิสาหกิจชุมชน การจัดทำงบการเงิน การใช้ข้อมูลทางบัญชีในการบริหารจัดการ กำกับแนะนำการจัดทำบัญชี และติดตามผลการจัดทำบัญชี
                - พัฒนาคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตรและบริการ 154 แห่ง ด้วยการส่งเสริมกิจการวิสาหกิจชุมชนและสนับสนุนความรู้เกี่ยวกับกระบวนการผลิต การพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม คุณภาพมาตรฐานการผลิตและผลิตภัณฑ์ การบริหารจัดการธุรกิจ และการแข่งขันทางการตลาด เพื่อให้กิจการวิสาหกิจชุมชนมีความเข้มแข็งและพึ่งพาตนเองได้
                - ยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าและบริการ ด้วยการพัฒนาสินค้าและบริการของผู้ประกอบการให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดต้นทุน และเตรียมความพร้อมผู้ประกอบการเพื่อนำไปสู่การขยายโอกาสทางการตลาด
                - พัฒนาระบบสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร โดยส่งเสริมแนะนำการบริหารจัดการการวางแผนการดำเนินงานดำเนินธุรกิจ ส่งเสริมหลักการอุดมการณ์ วิธีการสหกรณ์ และกำกับควบคุมดูแลให้ปฏิบัติตามระเบียบคำสั่งและกฎหมาย 12,958 แห่ง
                - บริหารจัดการด้านการเงินการบัญชีให้มีคุณภาพ โดยการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของสหกรณ์และสถาบันเกษตรกร ด้วยการตรวจสอบบัญชีประจำปีสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร 11,800 แห่ง ตรวจสอบความถูกต้องในการทำธุรกรรมทางการเงินระหว่างสหกรณ์และสมาชิก 24,500 ราย ฝึกอบรมเศรษฐกิจการเงินขั้นพื้นฐานแก่สมาชิกสหกรณ์ 10,000 ราย พัฒนาศักยภาพด้านการบัญชีแก่สมาชิกสหกรณ์และประชาชนกลุ่มเป้าหมาย 24,000 ราย พัฒนามาตรฐานการบัญชีแก่สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร 500 แห่ง และพัฒนาศักยภาพสหกรณ์ตั้งใหม่ 100 แห่ง
             - ส่งเสริมการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าเกษตร
                - พัฒนาศักยภาพการแปรรูปข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าว การแปรรูปสัตว์น้ำ พร้อมทั้งพัฒนาบรรจุภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าและเตรียมความพร้อมผู้ประกอบการเพื่อนำไปสู่การขยายโอกาสทางการตลาด 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad