7 วันอันตรายภัยฝุ่น PM2.5 ทะลุมาตรฐานหลายจังหวัดตั้งแต่ปีใหม่ - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันอาทิตย์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2563

7 วันอันตรายภัยฝุ่น PM2.5 ทะลุมาตรฐานหลายจังหวัดตั้งแต่ปีใหม่

News 07 Jan 2020
กรมควบคุมมลพิษรายงานสถานการณ์มลพิษฝุ่น PM2.5 พบค่าฝุ่นพิษในกรุงเทพฯ และหลายจังหวัดภาคกลางและภาคอีสาน มีค่าเกินมาตราฐานสูงที่สุดนับตั้งแต่ปีใหม่ ด้านนักวิชาการแจงสาเหตุเป็นเพราะความผกผันอากาศ แต่เป็นเรื่องคาดการณ์ล่วงหน้าได้ ควรแก้ปัญหาที่ต้นกำเนิดฝุ่น
วันนี้ (7 มกราคม พ.ศ.2563) เว็บไซต์รายงานค่าฝุ่นจิ๋วรายชั่วโมงโดยกรมควบคุมมลพิษเผยข้อมูลค่าฝุ่นในหลายพื้นที่มีค่าสูงเกินมาตรฐานเฉลี่ย 24 ชั่วโมงซึ่งประเทศไทยตั้งไว้ที่ 50 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) หนักสุดพุ่งแตะ 121 มคก./ลบ.ม.  ตอนเก้าโมงเช้าวันนี้ ณ สถานีวัดฝุ่นตำรวจนครบาลโชคชัย ริมถนนลาดพร้าว กรุงเทพฯ นับเป็นค่าฝุ่นสูงเกินเกณฑ์ปลอดภัยติดต่อเป็นวันที่ 3 ตั้งแต่วันอาทิตย์ 
ค่าความเข้มข้นฝุ่น PM2.5 บริเวณริมถนนลาดพร้าว กรุงเทพฯ // ขอบคุณภาพจาก: กรมควบคุมมลพิษ
ขณะเดียวกันสถานีโรงเรียนสมุทรสาครวิทยาลัย อำเภอเมือง สมุทรสาคร ตรวจวัดพบค่าฝุ่นสูงไต่ระดับเกินค่ามาตราฐานตั้งแต่วันแรกของปี 

ค่าความเข้มข้นฝุ่น PM2.5 อ.เมือง สมุทรสาคร // ขอบคุณภาพจาก: กรมควบคุมมลพิษ
ด้านสถานีอุตุนิยมวิทยา ต.ปากแพรก จ.กาญจนบุรีพบค่าฝุ่นสูงเกินมาตราฐานติดต่อกันห้าวัน ขึ้นสูงสุดในวันที่ 6 ม.ค. 
ค่าความเข้มข้นฝุ่น PM2.5 อ.เมือง กาญจนบุรี // ขอบคุณภาพจาก: กรมควบคุมมลพิษ
ขณะที่ทางสถานีอุทกวิทยา สำนักงานทรัพยากรน้ำภาคที่ 4 อ.เมือง จ.ขอนแก่น พบค่าฝุ่นสูงติดต่อกันสามวัน สูงที่สุด 103 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร วันนี้ (7 ม.ค. 63) ตอนแปดนาฬิกา
ค่าความเข้มข้นฝุ่น PM2.5 อ.เมือง ขอนแก่น // ขอบคุณภาพจาก: กรมควบคุมมลพิษ
สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย และหนึ่งในคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5  โพสต์ในเฟซบุ๊กว่าสาเหตุที่ฝุ่นกลับมาเยือนชาวไทยอีกครั้ง เป็นเพราะความกดอากาศสูงปกคลุมประเทศ และกระแสลมในไทยอ่อนตัว นอกจากนี้สำหรับพื้นที่กรุงเทพฯ ยังเป็นเพราะปริมาณรถจำนวนมากและการจราจรที่ติดขัดเนื่องจากโรงเรียนและมหาวิทยาลัยเปิดเรียน ขณะที่พื้นที่ภาคกลางและภาคอีสานเข้าสู่ฤดูกาลเก็บเกี่ยวอ้อย ทำให้มีการเผาไร่อ้อยจำนวนมากระหว่างเดือนมกราคมถึงกลางเดือนพฤษภาคม ส่วนภาคเหนือเริ่มเผาตอซังฟางข้าวโพด ซึ่งแม้จะมีการกำหนดช่วงเวลาห้ามเผา แต่ยังมีหลายพื้นที่ชิงเผาก่อนหน้า
ภาพถ่ายดาวเทียมในระบบ VIIRS แสดงสถานการณ์จุดความร้อนซึ่งแสดงถึงพื้นที่เกิดการเผาไม้ประจำวันที่ 6 ม.ค. 63 พบจุดความร้อนในไทยมากที่สุดเป็นอันดับสองในเอเชียรองจากกัมพูชา โดยปรากฏทั้งหมด 1,286 จุด
ผศ.ดร.ธนพล เพ็ญรัตน์ อาจารย์ประจำสาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวรชี้ว่าสภาพอากาศผกผัน (Inversion) ที่ปกคลุมไม่ให้มีอากาศถ่ายเทจนเกิดการสะสมของฝุ่นเช่นตอนนี้เป็นปรากฎการณ์ธรรมชาติที่คาดการณ์ได้ล่วงหน้าจากข้อมูลแบบจำลองอากาศและรัฐสามารถออกกฎหมายควบคุมกิจกรรมที่ก่อให้เกิดฝุ่นต่างๆ เช่น การสร้างถนนและโรงงาน ก่อนโครงการเหล่านั้นจะดำเนินการ ตั้งแต่ขั้นตอนการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (EIA) ดังนั้นรัฐจึงไม่อาจโทษว่าต้นเหตุของฝุ่นอยู่ที่สภาพอากาศเท่านั้น ทว่าควรแก้ไขตั้งแต่ออกกฎหมายอนุญาตให้ดำเนินโครงการ
“การจะแก้ปัญหาฝุ่นโดยบอกให้ลดปลดปล่อยน้อยๆตอนนี้ (แบบขอความร่วมมือกัน) แต่ที่แท้อนุญาตให้มีการปลดปล่อยเยอะตั้งแต่แรกเริ่ม (ก็ทำ EIA ใน EIA ก็มีแบบจำลองอากาศ ก็ยังผ่านเฉย..) มันย้อนแย้ง และ ยากที่จะสำเร็จได้”

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ที่มา:GreenNews

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad