ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics (ทีเอ็มบี อนาลิติกส์) เผยการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา ทำตลาดนักท่องเที่ยวจีนของไทยครึ่งปีแรกหายไปกว่า 2.4 ล้านคน ส่งผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยวทั้งปี 63 สูญรายได้กว่า 1 แสนล้านบาทหรือ 0.7% ของจีดีพี โดยธุรกิจโรงแรม 7,500 ราย กระทบหนักชวดรายได้ 2.8 หมื่นล้านบาท เป็นผู้ประกอบการขนาดกลาง 459 รายและขนาดเล็ก 6,990 ราย ขณะที่คุณภาพสินเชื่อโรงแรมขนาดกลางเปราะบางยอด NPL รวมหนี้ที่ต้องระวัง (SM) สูงถึง 18% พร้อมแนะภาครัฐและเอกชนเร่งออกมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการ
คาดระดับความรุนแรงต่อภาคการท่องเที่ยวไทยจากไวรัสโคโรนาอยู่ที่ 70% ของกรณีโรคระบาดซาร์ส โดยพิจารณาจากปัจจัยระยะเวลาการแพร่ระบาดจากจุดเริ่มต้นจนสิ้นสุด พบว่าการรับรู้การระบาดของไวรัสโคโรนาเกิดขึ้นเร็ว และมีแนวโน้มที่จะยุติการแพร่ระบาดได้เร็วกว่ากรณีของโรคซาร์สที่เกิดขึ้นในปี 2546 เนื่องจากการดำเนินการที่รวดเร็วและเข้มงวดของรัฐบาลจีนในการป้องกันและควบคุมโรคไม่ให้แพร่กระจาย ไม่ว่าจะเป็นการระงับการเดินทางเข้าออกเมืองอู่ฮั่นและเมืองอื่นๆ ในมณฑลหูเป่ย การสั่งห้ามจัดกรุ๊ปทัวร์เข้าออกประเทศจีน การสั่งปิดสถานที่เลนด์มาร์คในเมืองต่างๆ รวมถึงมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของประเทศอื่นๆ ที่พบผู้ติดเชื้อ ซึ่งคาดว่าจะทำให้ผลกระทบความรุนแรงจากไวรัสสายพันธุ์ใหม่ในครั้งนี้อยู่ในวงจำกัด โดยจะส่งผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยวของไทยหนักสุดในไตรมาสแรกซึ่งเป็นฤดูกาลท่องเที่ยวเทศกาลตรุษจีน ทำให้นักท่องเที่ยวจีนลดลงกว่า 1.5 ล้านคน และทยอยปรับดีขึ้นเมื่อสถานการณ์
คลี่คลาย จนกลับมาอยู่ในระดับปกติได้ในช่วงกลางปี ดังนั้น ภาพรวมดีกรีผลกระทบจากไวรัสโคโรนาต่อภาคการท่องเที่ยวจะอยู่ที่ 70% โดยคาดการณ์นักท่องเที่ยวจีนลดลง 2.4 ล้านคนในช่วงครึ่งปีแรก ก่อนที่จะเริ่มกลับมาขยายตัวได้ในช่วงครึ่งปีหลัง ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติโดยรวมทั้งปี 2563 จะอยู่ที่ 38.7 ล้านคน ลดลงจากระดับ 40.8 ล้านคนตามคาดการณ์เดิม และรายได้ภาคการท่องเที่ยวและธุรกิจเกี่ยวข้องลดลงกว่า 1 แสนล้านบาทหรือคิดเป็น 0.7% ของจีดีพี
"รายได้ภาคการท่องเที่ยวที่ลดลงมาจากธุรกิจโรงแรม ร้านอาหารและค้าปลีก จะสูญเสียรายได้กว่า 7 หมื่นล้านบาท" เมื่อวิเคราะห์ผลกระทบต่อรายได้ภาคการท่องเที่ยว โดยแบ่งเป็นรายภาคธุรกิจพบว่ารายได้ธุรกิจโรงแรมหายไป 2.84 หมื่นล้านบาท(27%) เช่นเดียวกับการลดลงของรายได้ในธุรกิจค้าปลีกอีก 2.84 หมื่นล้านบาท (27%) และธุรกิจภัตตาคาร ร้านอาหารลดลง 1.89 หมื่นล้านบาท (18%) และที่เหลือ (ค่าเดินทาง ค่าเข้าชมสถานที่ท่องเที่ยว และอื่นๆ) หายไป 2.92 หมื่นล้านบาท
อย่างไรก็ดี ศูนย์วิเคราะห์ฯ ประเมินว่าธุรกิจที่ได้รับผลกระทบโดยตรงในแง่ผู้ประกอบการไทยในระดับสูงคือธุรกิจโรงแรม โดยมีผู้ประกอบการโรงแรมที่อยู่ในข่ายได้รับผลกระทบถึง 7,500 ราย ในขณะที่ ธุรกิจภัตตาคาร ร้านอาหาร และอื่นๆ คาดว่าจะได้รับผลกระทบไม่มากนัก เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นเชนธุรกิจของผู้ประกอบการชาวจีน
"ผู้ประกอบการโรงแรมขนาดกลางได้รับผลกระทบหนักสุด" ในมิติผู้ประกอบการพบว่า รายได้ของธุรกิจโรงแรมที่ลดลง 2.84 หมื่นล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นของผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมขนาดกลาง คาดว่าจะมีรายได้ลดลงถึง 49% ของผลกระทบรวม รองลงมาเป็นธุรกิจโรงแรมขนาดเล็ก 31% และธุรกิจโรงแรมขนาดใหญ่ 20% ตามลำดับ โดยพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบระดับสูงจะอยู่ในพื้นที่ที่นักท่องเที่ยวจีนนิยมท่องเที่ยว 7 จังหวัดหลัก ได้แก่ กรุงเทพฯ (32%) ภูเก็ต (29%) ชลบุรี (14%) กระบี่ (7%) สุราษฎร์ธานี (7%) เชียงใหม่ (5%) และพังงา (2%) ซึ่งมีผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมรวม 4,763 ราย คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 65% ของจำนวนผู้ประกอบโรงแรมไทยทั้งประเทศ
คุณภาพสินเชื่อธุรกิจโรงแรมขนาดกลางเปราะบาง และมีแนวโน้มแย่ลงจากผลกระทบไวรัส สะท้อนจาก ณ สิ้นปี 2562 ระดับ NPL อยู่ที่ 5.1% และมีหนี้ SM ที่ต้องเฝ้าระวังสูงถึง 13% รองมาเป็นธุรกิจโรงแรมขนาดเล็กมีสัดส่วน NPL และหนี้ SM อยู่ที่ 4.1%และ 2.4% ตามลำดับ
อย่างไรก็ดี เรายังคงต้องเฝ้าติดตามสถานการณ์การควบคุมการแพร่ระบาด และผลกระทบที่เกิดขึ้นผู้ประกอบการที่เป็นซัพพลายเชนของภาคการท่องเที่ยว ตลอดจนทุกภาคส่วนควรเร่งออกมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการภาคการท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง
คาดระดับความรุนแรงต่อภาคการท่องเที่ยวไทยจากไวรัสโคโรนาอยู่ที่ 70% ของกรณีโรคระบาดซาร์ส โดยพิจารณาจากปัจจัยระยะเวลาการแพร่ระบาดจากจุดเริ่มต้นจนสิ้นสุด พบว่าการรับรู้การระบาดของไวรัสโคโรนาเกิดขึ้นเร็ว และมีแนวโน้มที่จะยุติการแพร่ระบาดได้เร็วกว่ากรณีของโรคซาร์สที่เกิดขึ้นในปี 2546 เนื่องจากการดำเนินการที่รวดเร็วและเข้มงวดของรัฐบาลจีนในการป้องกันและควบคุมโรคไม่ให้แพร่กระจาย ไม่ว่าจะเป็นการระงับการเดินทางเข้าออกเมืองอู่ฮั่นและเมืองอื่นๆ ในมณฑลหูเป่ย การสั่งห้ามจัดกรุ๊ปทัวร์เข้าออกประเทศจีน การสั่งปิดสถานที่เลนด์มาร์คในเมืองต่างๆ รวมถึงมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของประเทศอื่นๆ ที่พบผู้ติดเชื้อ ซึ่งคาดว่าจะทำให้ผลกระทบความรุนแรงจากไวรัสสายพันธุ์ใหม่ในครั้งนี้อยู่ในวงจำกัด โดยจะส่งผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยวของไทยหนักสุดในไตรมาสแรกซึ่งเป็นฤดูกาลท่องเที่ยวเทศกาลตรุษจีน ทำให้นักท่องเที่ยวจีนลดลงกว่า 1.5 ล้านคน และทยอยปรับดีขึ้นเมื่อสถานการณ์
คลี่คลาย จนกลับมาอยู่ในระดับปกติได้ในช่วงกลางปี ดังนั้น ภาพรวมดีกรีผลกระทบจากไวรัสโคโรนาต่อภาคการท่องเที่ยวจะอยู่ที่ 70% โดยคาดการณ์นักท่องเที่ยวจีนลดลง 2.4 ล้านคนในช่วงครึ่งปีแรก ก่อนที่จะเริ่มกลับมาขยายตัวได้ในช่วงครึ่งปีหลัง ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติโดยรวมทั้งปี 2563 จะอยู่ที่ 38.7 ล้านคน ลดลงจากระดับ 40.8 ล้านคนตามคาดการณ์เดิม และรายได้ภาคการท่องเที่ยวและธุรกิจเกี่ยวข้องลดลงกว่า 1 แสนล้านบาทหรือคิดเป็น 0.7% ของจีดีพี
"รายได้ภาคการท่องเที่ยวที่ลดลงมาจากธุรกิจโรงแรม ร้านอาหารและค้าปลีก จะสูญเสียรายได้กว่า 7 หมื่นล้านบาท" เมื่อวิเคราะห์ผลกระทบต่อรายได้ภาคการท่องเที่ยว โดยแบ่งเป็นรายภาคธุรกิจพบว่ารายได้ธุรกิจโรงแรมหายไป 2.84 หมื่นล้านบาท(27%) เช่นเดียวกับการลดลงของรายได้ในธุรกิจค้าปลีกอีก 2.84 หมื่นล้านบาท (27%) และธุรกิจภัตตาคาร ร้านอาหารลดลง 1.89 หมื่นล้านบาท (18%) และที่เหลือ (ค่าเดินทาง ค่าเข้าชมสถานที่ท่องเที่ยว และอื่นๆ) หายไป 2.92 หมื่นล้านบาท
อย่างไรก็ดี ศูนย์วิเคราะห์ฯ ประเมินว่าธุรกิจที่ได้รับผลกระทบโดยตรงในแง่ผู้ประกอบการไทยในระดับสูงคือธุรกิจโรงแรม โดยมีผู้ประกอบการโรงแรมที่อยู่ในข่ายได้รับผลกระทบถึง 7,500 ราย ในขณะที่ ธุรกิจภัตตาคาร ร้านอาหาร และอื่นๆ คาดว่าจะได้รับผลกระทบไม่มากนัก เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นเชนธุรกิจของผู้ประกอบการชาวจีน
"ผู้ประกอบการโรงแรมขนาดกลางได้รับผลกระทบหนักสุด" ในมิติผู้ประกอบการพบว่า รายได้ของธุรกิจโรงแรมที่ลดลง 2.84 หมื่นล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นของผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมขนาดกลาง คาดว่าจะมีรายได้ลดลงถึง 49% ของผลกระทบรวม รองลงมาเป็นธุรกิจโรงแรมขนาดเล็ก 31% และธุรกิจโรงแรมขนาดใหญ่ 20% ตามลำดับ โดยพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบระดับสูงจะอยู่ในพื้นที่ที่นักท่องเที่ยวจีนนิยมท่องเที่ยว 7 จังหวัดหลัก ได้แก่ กรุงเทพฯ (32%) ภูเก็ต (29%) ชลบุรี (14%) กระบี่ (7%) สุราษฎร์ธานี (7%) เชียงใหม่ (5%) และพังงา (2%) ซึ่งมีผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมรวม 4,763 ราย คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 65% ของจำนวนผู้ประกอบโรงแรมไทยทั้งประเทศ
คุณภาพสินเชื่อธุรกิจโรงแรมขนาดกลางเปราะบาง และมีแนวโน้มแย่ลงจากผลกระทบไวรัส สะท้อนจาก ณ สิ้นปี 2562 ระดับ NPL อยู่ที่ 5.1% และมีหนี้ SM ที่ต้องเฝ้าระวังสูงถึง 13% รองมาเป็นธุรกิจโรงแรมขนาดเล็กมีสัดส่วน NPL และหนี้ SM อยู่ที่ 4.1%และ 2.4% ตามลำดับ
อย่างไรก็ดี เรายังคงต้องเฝ้าติดตามสถานการณ์การควบคุมการแพร่ระบาด และผลกระทบที่เกิดขึ้นผู้ประกอบการที่เป็นซัพพลายเชนของภาคการท่องเที่ยว ตลอดจนทุกภาคส่วนควรเร่งออกมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการภาคการท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น