ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี เผย “ATM กระจุก คนไทยจ่ายค่าธรรมเนียมกระจาย หนุนโครงการ ATM สีขาวช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางการเงินได้ - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันอังคารที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2563

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี เผย “ATM กระจุก คนไทยจ่ายค่าธรรมเนียมกระจาย หนุนโครงการ ATM สีขาวช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางการเงินได้

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี เผย “ATM กระจุก คนไทยจ่ายค่าธรรมเนียมกระจาย หนุนโครงการ ATM สีขาวช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางการเงินได้

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี เผย “ATM กระจุก คนไทยจ่ายค่าธรรมเนียมกระจาย หนุนโครงการ ATM สีขาวช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางการเงินได้

 ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics เผยคนไทยยังไม่สามารถเข้าถึงบริการการเงินได้ทั่วถึง แม้มีเครื่อง ATM ใช้ทั้งประเทศมากติดอันดับต้นๆ ของโลก เหตุเพราะมีการกระจุกตัวของ ATM กว่า 70% ในขณะที่ มีประชากรกว่า 10 ล้านคนอยู่ห่างไกลจาก ATM พร้อมหนุนโครงการ ATM สีขาวที่จะช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายของธนาคาร ส่งผลต่อเนื่องไปยังการลดค่าธรรมเนียมที่ผู้ใช้บริการต้องจ่ายสูงถึงปีละกว่า 2 หมื่นล้านบาท และช่วยกระจายการเข้าถึงบริการการเงินไปสู่พื้นที่ห่างไกล ลดความเหลื่อมล้ำทางการเงิน
          "ไทยมีเครื่อง ATM สูงเป็นอันดับ 18 ของโลก ซึ่งมากกว่าสิงคโปร์ มาเลเซีย เนเธอร์แลนด์ราวสองถึงสามเท่า" ข้อมูลล่าสุดจาก IMF พบว่าประเทศไทยมี ATM 115 เครื่องต่อประชากรผู้ใหญ่ 1 แสนคน ซึ่งเป็นระดับใกล้เคียงกับอังกฤษ เยอรมัน และมากกว่าประเทศสิงคโปร์ 2 เท่า มากกว่ามาเลเซียและเนเธอร์แลนด์ถึง 3 เท่า สะท้อนในภาพรวมถ้าใช้ปริมาณ ATM เป็นเครื่องชี้การเข้าถึงบริการการเงินของประเทศ นับว่าประเทศไทยตอบโจทย์ในด้านปริมาณ แต่ในด้านคุณภาพหรือประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์จาก ATM โดยดูจากทำเลที่ตั้ง ATM ได้กระจายไปทั่วถึงทุกพื้นที่ทั่วประเทศหรือไม่ หรือทำเลที่ตั้งส่วนใหญ่ยังมีการกระจุกตัวอยู่แค่บางพื้นที่ของประเทศ จนอาจเกิดการวางทับซ้อน มีภาระต้นทุนทางการเงินที่สูงและนำมาซึ่งความเหลื่อมล้ำทางการเงิน หากเป็นเช่นนั้น เราจะแก้ปัญหาจุดนี้ได้อย่างไร
          "เจาะข้อมูล ATM ทั่วประเทศ มีปริมาณการทำธุรกรรมมากกว่า 2.2 พันล้านครั้ง/ปี คนไทยจ่ายค่าธรรมเนียมรวมแล้วกว่า 22 พันล้านบาท/ปี ณ ปัจจุบันระบบธนาคารไทยมี ATM 53,808 เครื่อง พบว่า 68% หรือ 28,672 เครื่องตั้งอยู่ในต่างจังหวัด และอยู่ในกรุงเทพ 1.3 หมื่นเครื่อง ในภาพรวมมีปริมาณการใช้ ATM ทำธุรกรรมมากกว่า 2.2 พันล้านครั้ง/ปี โดยครึ่งหนึ่งเป็นใช้เพื่อถอนเงินและโอนเงินข้ามเขต หรือต่างธนาคารที่ต้องเสียค่าธรรมเนียม ซึ่งรวมๆ แล้วคิดเป็นเงินสูงถึง 22 พันล้านบาท/ปี 

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี เผย “ATM กระจุก คนไทยจ่ายค่าธรรมเนียมกระจาย หนุนโครงการ ATM สีขาวช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางการเงินได้ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี เผย “ATM กระจุก คนไทยจ่ายค่าธรรมเนียมกระจาย หนุนโครงการ ATM สีขาวช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางการเงินได้

          "ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ปริมาณ แต่อยู่ที่ 70% ของเครื่อง ATM กระจุกตัววางทับซ้อนกัน" แต่ละธนาคารมีนโยบายการติดตั้ง ATM ที่อาจเหมือนหรือแตกต่างกัน อย่างไรก็ดี พบว่า 70% ของ ATM ทั้งหมดในประเทศ มีวางทับซ้อนกันมากกว่า 3 เครื่องในรัศมีน้อยกว่า 1 กิโลเมตร ซึ่งเป็นข้อมูลบ่งชี้ถึงการกระจุกตัว สำหรับในเขตกรุงเทพพบว่าจุดที่มี ATM ทับซ้อนมากที่สุด คือ ย่านสยามแสควร์ มี ATM ถึง 150 เครื่อง เรียกได้ว่าแทบเดินชนตู้ ATM แต่พอลองสำรวจในพื้นที่ต่างจังหวัด พบว่ามี 18,000 ชุมชน ที่มีประชากร 10 ล้านคน อยู่ห่างจากจุด ATM เกิน 5 กิโลเมตร กรณีตัวอย่างที่เห็นภาพชัดเจนได้แก่ ตำบลแม่อุสุ อ.ท่าสองยาง จ.ตาก มีประชากร 17,000 คน ที่ระยะทางจาก ATM ที่ใกล้ที่สุดคือห่างไปจากที่อยู่อาศัยถึง 30 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางถึง 2 ชั่วโมง ไปกลับก็เสียเวลาไปครึ่งวัน ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาอื่นๆ ตามมา เช่น การถูกโกงจากการฝากผู้อื่นไปกดเงินแทน 
          ATM สีขาว (White Label ATM) หรือโครงการใช้เครื่อง ATM ร่วมกันในระบบธนาคารสามารถตอบโจทย์การกระจายการเข้าถึงบริการการเงินและช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางการเงิน TMB Analytics มองการใช้โมเดลนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการ ประการแรก คือ สามารถลดค่าธรรมเนียมที่ผู้ใช้บริการต้องจ่ายถึง 22 พันล้านบาท/ปี ซึ่งเทียบเท่ากับมูลค่าการซื้อ LTF/RMF ทั้งปีของคนไทยโดยรวม การที่สามารถลดค่าธรรมเนียมได้ก็เพราะธนาคารจะมีต้นทุนในการบริหารจัดการที่เกี่ยวกับ ATM ลดลงจากปัจจุบันอยู่ที่ 28.5 พันล้านบาท (ประกอบด้วยค่าเช่า 8.5 พันล้านบาท และค่าบริหารจัดการเงินสด 20 พันล้านบาท) ซึ่งธนาคารจะส่งผ่านผลประโยชน์จากการประหยัดต้นทุนไปยังผู้ใช้บริการได้ 
          ประการที่สอง คือ สามารถเพิ่มการเข้าถึงบริการการเงินของคนไทยได้ดีขึ้น โดยสามารถนำเครื่อง ATM ที่วางทับซ้อนไปไว้ในชุมชนที่ยังขาดแคลน ช่วยให้ ATM เข้าถึงทุกพื้นที่ได้มากขึ้น จากปัจจุบัน ระยะทางเฉลี่ยจากชุมชนถึงเครื่อง ATM ที่ใกล้ที่สุดคืออยู่ในรัศมี 3 กิโลเมตร ทำให้มีจำนวนชุมชนที่มีระยะห่างจาก ATM เกิน 0.5 กิโลเมตรถึง 42,000 ชุมชน จากการศึกษาพบว่า ถ้าเรามีโครงการ ATM สีขาว จะสามารถจัดสรรทรัพยกรได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยจัดวาง ATM ในจุดที่ขาดแคลนซึ่งจะช่วยย่นระยะทางเฉลี่ยจากชุมชนถึง ATM เหลือเพียง 300 เมตรหรือเทียบได้กับสามารถเพิ่มการเข้าถึงบริการการเงินของคนไทยได้ถึง 10 เท่า และลดจำนวนชุมชนที่มีระยะห่างจาก ATM เกิน 0.5 กิโลเมตร อยู่ที่ 7,000 ชุมชน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad