เมื่อเมืองไทยไม่ได้มีแค่ PM 2.5 รับมือ “ฝุ่นจิ๋ว” ด้วยเทคโนโลยีฟอกอากาศอัจฉริยะ - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันอาทิตย์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2563

เมื่อเมืองไทยไม่ได้มีแค่ PM 2.5 รับมือ “ฝุ่นจิ๋ว” ด้วยเทคโนโลยีฟอกอากาศอัจฉริยะ


Danger of PM 2.5 Air & AP

กรุงเทพฯ (10 มกราคม 2563) - เมื่อคนไทยต้องกลับมาเผชิญกับปัญหา “ค่าฝุ่นละอองในอากาศเกินค่ามาตรฐาน” กันอีกครั้ง จากการเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศนิ่ง ไม่มีลม ประกอบกับมีหมอกทำให้อากาศไม่หมุนเวียน ซึ่งแน่นอนว่ามลพิษดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคุณและคนรอบตัวอย่างคาดไม่ถึง โดยเฉพาะละอองฝุ่นที่มีอนุภาคขนาดเล็กนั้นสามารถซึมลึกเข้าไปในปอด ทางเดินหายใจ และกระแสเลือด เป็นเหตุให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่นๆ ตามมาภายหลัง

ปรากฏการณ์ฝุ่นล้อมเมืองเริ่มรุนแรงขึ้นตั้งแต่วันแรกที่เปิดศักราช 2563 ส่งผลกระทบต่อคนจำนวนมาก เนื่องจากฝุ่นละออง PM2.5 นั้นถือเป็นภัยเงียบที่มองไม่เห็น ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น แต่สามารถซึมเข้าสู่ร่างกายและกระแสเลือดได้ง่ายด้วยอนุภาคขนาดเล็กที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กกว่า 2.5 ไมครอน ซึ่งลอยปะปนอยู่กับอากาศ ไอน้ำ ควัน หรือก๊าซที่เราสูดดมเข้าไปได้เมื่อเดินทางหรือทำกิจกรรมกลางแจ้ง

PM1.0 ภัยร้ายที่เล็กกว่าและร้ายแรงกว่า PM2.5

การสูดรับเอาฝุ่นละออง PM2.5 เข้าไปในระยะเริ่มต้นอาจจะแสดงเพียงอาการระคายเคืองจมูก แสบคอ ไอ ไปจนถึงมีเสมหะ แต่หากสะสมต่อเนื่องเป็นเวลานานก็จะกลายเป็นสาเหตุของโรคที่ร้ายแรงยิ่งขึ้น อาทิ โรคหอบหืด ถุงลมโป่งพอง ความดันโลหิตสูง และมะเร็งปอด แต่คุณทราบหรือไม่? ว่ายังมีฝุ่นละอองอนุภาคขนาดเล็กยิ่งกว่า PM2.5 ที่สามารถแทรกซึมเข้าสู่ผิวของเราจนสร้างเป็นเซลล์ร้ายที่เป็นอันตรายต่อระบบต่างๆ ภายในร่างกาย นั่นคือ PM1.0

PM1.0” หรือชื่อเต็ม particulate matter ฝุ่นละอองจิ๋วที่มีขนาดไม่เกิน 1 ไมครอน เพราะอนุภาคขนาดเล็กเท่านี้จะสามารถซึมทะลุถุงลมปอดเข้าไปในเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจและสมอง ก่อเป็นปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ ให้ชัดเจนและรวดเร็วยิ่งขึ้น และหากสะสมต่อเนื่องในระยะยาวก็อาจก่อให้เกิดโรคหัวใจล้มเหลว และโรคหลอดเลือดสมอง เป็นอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพโดยเฉพาะในเด็กและผู้สูงอายุ

แนวทางรับมือปัญหาฝุ่นละอองขนาดจิ๋ว

ปฏิเสธไม่ได้ว่าคนกรุงยังจำเป็นต้องเดินทางออกไปทำงานหรือทำกิจกรรมนอกบ้านไม่ว่าอากาศข้างนอกนั้นจะแย่ขนาดไหน สิ่งที่ทำได้ก็มีเพียงการใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่อออกจากบ้าน แต่เมื่ออยู่ภายในบ้าน เราควรจะควบคุมอากาศให้ปลอดภัยด้วยเครื่องฟอกอากาศและเครื่องปรับอากาศคุณภาพสูง ที่ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคภัยไข้เจ็บที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ
ดังนั้น หนึ่งในวิธีที่จะช่วยหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับมลภาวะทางอากาศได้ดีที่สุดวิธีหนึ่งคือการอยู่ในห้องที่มี เครื่องปรับอากาศและเครื่องฟอกอากาศคุณภาพดีจะช่วยมอบความความสบายพร้อมอุณภูมิที่เหมาะสม ให้ที่พักอาศัยของคุณมีอากาศสะอาดบริสุทธิ์ ซึ่งจะส่งผลให้สมาชิกในบ้านมีสุขภาพแข็งแรง นอนหลับสบาย อีกทั้งปอดยังไม่ต้องทำงานหนักจนเกินไป

หมดห่วงเรื่องฝุ่นจิ๋วที่แสนอันตราย

ซัมซุง ในฐานะผู้นำด้านนวัตกรรมสำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าอันดับหนึ่งของโลก มีการพัฒนาเทคโนโลยีการฟอกอากาศที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานทั้งด้านการดูแลสุขภาพทางเดินหายใจ ด้วยคุณสมบัติการฟอกอากาศได้อย่างดีเยี่ยม สามารถดักจับฝุ่นอนุภาคเล็ก 1 ไมครอนในเครื่องปรับอากาศ และในเครื่องฟอกอากาศสามารถดักจับฝุ่นอนุภาคขนาดเล็กกว่า 0.3 ไมครอน ซึ่งเป็นฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กกว่าPM 2.5 ได้ถึง 99.9 เปอร์เซ็นต์ สามารถสั่งการผ่านแอปพลิเคชั่น SmartThings มาพร้อมกับเทคโนโลยี Wind-FreeTM Cooling ซึ่งเป็นเอกสิทธิ์เฉพาะจากซัมซุงที่ให้ความเย็นสบายโดยไม่มีลมมาปะทะตัว อีกทั้งมีดีไซน์ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของผู้ใช้ช่วยผู้ให้สามารถวางใจได้ว่าเครื่องปรับอากาศและเครื่องฟอกอากาศจากซัมซุงจะสามารถมอบอากาศบริสุทธิ์เพื่อสุขภาพที่ดีให้แก่คุณและคนที่คุณรักอย่างแน่นอน

สำหรับผู้ที่สนใจสามารถพบกับโปรโมชั่น “Bring Back Clean Air” มอบอากาศเย็นบริสุทธิ์แก่บ้านของคุณด้วยราคาสุดพิเศษสำหรับเครื่องปรับอากาศและเครื่องฟอกอากาศ สูงสุด 30% และพิเศษ เมื่อซื้อเครื่องปรับอากาศแบบฝังฝ้า 4 ทิศทาง แถมฟรี Virus doctor ได้ที่https://shop.samsung.com/th/offer/bringbackcleanair ตั้งแต่วันที่ 11 มกราคม 2563 ถึง 29 กุมภาพันธ์ 2563 นี้ 

# # # # #
เกี่ยวกับ ซัมซุง อิเลคโทรนิคส์
บริษัท ซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ จำกัด จุดประกายแรงบันดาลใจและสร้างวิถีแห่งอนาคตด้วยความคิดสร้างสรรค์และเทคโนโลยีที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้น โดยบริษัทได้สร้างนิยามใหม่ให้กับโลกของโทรทัศน์ สมาร์ทโฟน อุปกรณ์อัจฉริยะสวมใส่ได้ แท็บเล็ต กล้องถ่ายภาพ เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน อุปกรณ์การแพทย์ ระบบเครือข่าย สารกึ่งตัวนำและ LED โซลูชั่น สำหรับข่าวสารล่าสุด ท่านสามารถเยี่ยมชม Samsung Newsroom ได้ที่news.samsung.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad