อาจารย์ประจำภาควิชาสถิติ คณะบัญชีฯ จุฬาฯ โชว์ผลงานวิจัยรางวัลระดับนานาชาติ จากการศึกษาพฤติกรรมการเข้าชมเว็บไซต์อเมซอน สะท้อนความสำคัญของฐานข้อมูลที่เป็นกลาง เพื่อการวิจัย และพัฒนาเศรษฐกิจสังคม โดยเผยพฤติกรรมการเข้าใช้บริการเว็บไซต์คือตัวแปรสำคัญชี้อนาคตค้าปลีกออนไลน์ของกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อยในไทย ซึ่งอยู่ในโลกแห่ง Big Data จึงอยากเรียกร้องภาครัฐและเอกชน จับมือร่วมกันพัฒนาสร้างฐานข้อมูลสาธารณะ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพทางการแข่งขันให้กับภาคเศรษฐกิจไทย
ผลงานวิจัยดังกล่าว ได้รับการเชิดชูเกียรติในงาน "เรียง 100 ความภูมิใจ Chulalongkorn Business School" ประจำปี 2563 เพื่อเชิดชูเกียรติเหล่าคณาจารย์และนิสิตที่สร้างผลงาน สร้างชื่อเสียงให้กับคณะฯ มหาวิทยาลัย และประเทศชาติ ณ อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รศ.ดร. ชัชพงศ์ ตั้งมณี อาจารย์ประจำภาควิชาสถิติ และผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัย คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่าฐานข้อมูลที่เป็นกลาง คือกุญแจสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทย ซึ่งแม้ที่ผ่านมาทุกภาคส่วนจะมีความตื่นตัวในเรื่อง Big Data และ Data Analytic หากแต่การเตรียมพร้อมรับมือเป็นแบบต่างคนต่างทำ ทำให้ใครมีกำลังก็จะลงทุนทำเพื่อประโยชน์เฉพาะของหน่วยงานตน โดยไม่ได้ตระหนักถึงธุรกิจขนาดเล็ก ที่ยังขาดศักยภาพในการลงทุนด้วยตัวเอง ทั้งที่ธุรกิจขนาดเล็กคือรากฐานสำคัญของเศรษฐกิจประเทศ
"ข้อสรุปนี้ เป็นผลสะท้อนมาจากการทำวิจัยที่มีชื่อว่า Visit Behavior at Amazon.com: An Analysis of Viewers' Demographics ซึ่งเป็นการศึกษาพฤติกรรมการเข้าชมเว็บไซต์อเมซอน โดยพิจารณาในเรื่องของกลุ่มประชากรในแต่ละภูมิภาคของสหรัฐอเมริกา ส่งผลต่อรสนิยมการเข้าชมเว็บที่แตกต่างกัน ซึ่งมีผลโดยตรงต่อการตัดสินใจซื้อ เช่น ทางตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ บอสตัน นิวยอร์ก มีการดู 10.12 หน้า แต่ใช้เวลาเพียง 10.70 นาที เมื่อเทียบกับทางตอนกลาง ตะวันตก และตอนใต้ ที่ดูหน้าจำนวนน้อยกว่า ไม่ถึง 10 หน้า หากแต่ใช้เวลาในการดูนานกว่าถึง 11-13 นาที เป็นต้น
ด้วยงานวิจัยพฤติกรรมออนไลน์ จำเป็นอย่างมากที่ต้องใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการจัดเก็บข้อมูล เราไม่สามารถใช้แบบสอบถามในการจัดเก็บได้ เพราะมีความแม่นยำไม่เพียงพอ คณะบัญชีฯ จุฬาฯ ของเรา เล็งเห็นถึงความสำคัญนี้ จึงได้ลงทุนเงินหลักล้าน เพื่อซื้อสิทธิ์ในการเข้าใช้บริการฐานข้อมูลจาก โครงการ WRDS ของ มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย (University of Pennsylvania) ที่มีข้อมูลส่วนหนึ่งคือฐานข้อมูล Comscore ซึ่งเป็นฐานข้อมูลพฤติกรรมออนไลน์ในสหรัฐอเมริกา จึงให้ผมมีโอกาสได้ทำงานวิจัยนี้ได้สำเร็จ
"ผลวิจัยที่ได้เป็นประโยชน์อย่างมาก ต่อการพัฒนาเว็บไซต์ให้ตอบโจทย์ด้านการตลาดให้กับองค์กรธุรกิจ แต่เพราะข้อมูลที่ได้เป็นข้อมูลประชากรของสหรัฐอเมริกา ประโยชน์ต่อภาคธุรกิจไทยจึงส่งผลเฉพาะกลุ่มธุรกิจการค้าที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นคนอเมริกันเป็นหลัก ซึ่งหากมีหน่วยงานในไทย หรือมีการจับมือร่วมกันระหว่างภาครัฐ และเอกชนในการสร้างฐานข้อมูลที่เป็นกลางขึ้น เปิดให้ทุกคนมีสิทธิ์นำไปใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะได้ ก็จะสร้างคุณูปการให้กับเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก"
ในมุมมองของอาจารย์ ความตื่นตัวในเรื่อง Big Data หรือ Data Analytic ของไทย จะเป็นลักษณะต่างคนต่างทำ องค์กรขนาดใหญ่จึงมีความได้เปรียบ เพราะมีความพร้อมมากกว่า ขณะที่องค์กรขนาดเล็ก อย่างเอสเอ็มอี ซึ่งเป็นกลุ่มคนส่วนใหญ่ของประเทศ จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ หรือแม้กระทั่งองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีความเกี่ยวข้องอยู่ในซัพพลายเชนเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเชื่อมโยงกันของทุกธุรกิจที่หากธุรกิจใดล้ม ก็จะส่งผลต่อธุรกิจอื่นๆ ให้ล้มตามกันเป็นโดมิโน ด้วยเหตุนี้การจับมือก้าวไปพร้อมกันจึงเป็นเรื่องที่ทุกภาคส่วนควรตระหนักร่วมกัน
ทั้งนี้ งานวิจัย Visit Behavior at Amazon.com: An Analysis of Viewers' Demographics ของ รศ.ดร. ชัชพงศ์ ได้รับรางวัล Best Paper Award ในการประชุมทางวิชาการนานาชาติ The 2019 International Conference on Business Management Research (IBMRC 2019)
รศ.ดร. ชัชพงศ์ ตั้งมณี อาจารย์ประจำภาควิชาสถิติ และผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัย คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่าฐานข้อมูลที่เป็นกลาง คือกุญแจสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทย ซึ่งแม้ที่ผ่านมาทุกภาคส่วนจะมีความตื่นตัวในเรื่อง Big Data และ Data Analytic หากแต่การเตรียมพร้อมรับมือเป็นแบบต่างคนต่างทำ ทำให้ใครมีกำลังก็จะลงทุนทำเพื่อประโยชน์เฉพาะของหน่วยงานตน โดยไม่ได้ตระหนักถึงธุรกิจขนาดเล็ก ที่ยังขาดศักยภาพในการลงทุนด้วยตัวเอง ทั้งที่ธุรกิจขนาดเล็กคือรากฐานสำคัญของเศรษฐกิจประเทศ
"ข้อสรุปนี้ เป็นผลสะท้อนมาจากการทำวิจัยที่มีชื่อว่า Visit Behavior at Amazon.com: An Analysis of Viewers' Demographics ซึ่งเป็นการศึกษาพฤติกรรมการเข้าชมเว็บไซต์อเมซอน โดยพิจารณาในเรื่องของกลุ่มประชากรในแต่ละภูมิภาคของสหรัฐอเมริกา ส่งผลต่อรสนิยมการเข้าชมเว็บที่แตกต่างกัน ซึ่งมีผลโดยตรงต่อการตัดสินใจซื้อ เช่น ทางตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ บอสตัน นิวยอร์ก มีการดู 10.12 หน้า แต่ใช้เวลาเพียง 10.70 นาที เมื่อเทียบกับทางตอนกลาง ตะวันตก และตอนใต้ ที่ดูหน้าจำนวนน้อยกว่า ไม่ถึง 10 หน้า หากแต่ใช้เวลาในการดูนานกว่าถึง 11-13 นาที เป็นต้น
ด้วยงานวิจัยพฤติกรรมออนไลน์ จำเป็นอย่างมากที่ต้องใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการจัดเก็บข้อมูล เราไม่สามารถใช้แบบสอบถามในการจัดเก็บได้ เพราะมีความแม่นยำไม่เพียงพอ คณะบัญชีฯ จุฬาฯ ของเรา เล็งเห็นถึงความสำคัญนี้ จึงได้ลงทุนเงินหลักล้าน เพื่อซื้อสิทธิ์ในการเข้าใช้บริการฐานข้อมูลจาก โครงการ WRDS ของ มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย (University of Pennsylvania) ที่มีข้อมูลส่วนหนึ่งคือฐานข้อมูล Comscore ซึ่งเป็นฐานข้อมูลพฤติกรรมออนไลน์ในสหรัฐอเมริกา จึงให้ผมมีโอกาสได้ทำงานวิจัยนี้ได้สำเร็จ
"ผลวิจัยที่ได้เป็นประโยชน์อย่างมาก ต่อการพัฒนาเว็บไซต์ให้ตอบโจทย์ด้านการตลาดให้กับองค์กรธุรกิจ แต่เพราะข้อมูลที่ได้เป็นข้อมูลประชากรของสหรัฐอเมริกา ประโยชน์ต่อภาคธุรกิจไทยจึงส่งผลเฉพาะกลุ่มธุรกิจการค้าที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นคนอเมริกันเป็นหลัก ซึ่งหากมีหน่วยงานในไทย หรือมีการจับมือร่วมกันระหว่างภาครัฐ และเอกชนในการสร้างฐานข้อมูลที่เป็นกลางขึ้น เปิดให้ทุกคนมีสิทธิ์นำไปใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะได้ ก็จะสร้างคุณูปการให้กับเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก"
ในมุมมองของอาจารย์ ความตื่นตัวในเรื่อง Big Data หรือ Data Analytic ของไทย จะเป็นลักษณะต่างคนต่างทำ องค์กรขนาดใหญ่จึงมีความได้เปรียบ เพราะมีความพร้อมมากกว่า ขณะที่องค์กรขนาดเล็ก อย่างเอสเอ็มอี ซึ่งเป็นกลุ่มคนส่วนใหญ่ของประเทศ จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ หรือแม้กระทั่งองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีความเกี่ยวข้องอยู่ในซัพพลายเชนเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเชื่อมโยงกันของทุกธุรกิจที่หากธุรกิจใดล้ม ก็จะส่งผลต่อธุรกิจอื่นๆ ให้ล้มตามกันเป็นโดมิโน ด้วยเหตุนี้การจับมือก้าวไปพร้อมกันจึงเป็นเรื่องที่ทุกภาคส่วนควรตระหนักร่วมกัน
ทั้งนี้ งานวิจัย Visit Behavior at Amazon.com: An Analysis of Viewers' Demographics ของ รศ.ดร. ชัชพงศ์ ได้รับรางวัล Best Paper Award ในการประชุมทางวิชาการนานาชาติ The 2019 International Conference on Business Management Research (IBMRC 2019)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น