ศ.ศ.ป. ปลื้มสุดยอดฝีมือผู้อนุรักษ์หัตถกรรมที่ใกล้สูญ ปี 2563 - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันพฤหัสบดีที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

ศ.ศ.ป. ปลื้มสุดยอดฝีมือผู้อนุรักษ์หัตถกรรมที่ใกล้สูญ ปี 2563

ศ.ศ.ป. ปลื้มสุดยอดฝีมือผู้อนุรักษ์หัตถกรรมที่ใกล้สูญ ปี 2563 คนชื่นชมผลงานที่หาชมยากใน “งานอัตลักษณ์แห่งสยาม”
ศ.ศ.ป. ปลื้มสุดยอดฝีมือผู้อนุรักษ์หัตถกรรมที่ใกล้สูญ ปี 2563
คนชื่นชมผลงานที่หาชมยากใน “งานอัตลักษณ์แห่งสยาม” 

ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ ศ.ศ.ป.  ปลื้มนำผลงานบุคคลแห่งปีภายใต้โครงการเชิดชูผู้ทำงานศิลปหัตถกรรม ประจำปี 2563 ที่ได้รับการเชิดชูเป็น  “ครูศิลป์ของแผ่นดิน” “ครูช่างศิลปหัตถกรรม” และ “ทายาทช่างศิลปหัตถกรรม” 29 ท่าน จัดแสดงสู่สายตาผู้มาชมภายใน “งานอัตลักษณ์แห่งสยาม ครั้งที่ 11” ตอกย้ำอนุรักษ์งานศิลปหัตถกรรมที่ใกล้สูญหาย ให้คงอยู่สืบไป 

นางสาวแสงระวี  สิงหวิบูลย์ รองผู้อำนวยการ รักษาการผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ  กล่าวว่า  ภาพรวมตลอดของการจัดงานทั้ง 4  วัน ภายในงานอัตลักษณ์แห่งสยาม ครั้งที่ 11 นั้น ได้มีประชาชนทั่วไป  ผู้ที่รักงานศิลปหัตถกรรม ตลอดจนกลุ่มนักศึกษาที่สนใจในงานศิลปหัตถกรรม ให้ความสนฝใจได้เข้ามาร่วมชมสุดยอดผลงานของบุคคลแห่งปีที่ได้รับการเชิดชูเป็น  “ครูศิลป์ของแผ่นดิน” “ครูช่างศิลปหัตถกรรม” และ “ทายาทช่างศิลปหัตถกรรม” ประจำปี 2563  ทั้ง 29 ท่าน ที่นำมาจัดแสดง และการสาธิตถ่ายทอดองค์ความรู้ พร้อมทั้งได้เลือกซื้อผลิตภัณฑ์งานหัตถกรรมจากร้านจำหน่ายกว่า 200 ร้านค้า เป็นจำนวนมาก
สำหรับ บุคคลที่ SACICT เชิดชูเป็น “ครูศิลป์ของแผ่นดิน” “ครูช่างศิลปหัตถกรรม” และ“ทายาทช่างศิลปหัตถกรรม” ประจำปี 2563 นี้ มีจำนวน 29 ท่าน และทั้ง 29 ท่านนี้คงจะกล่าวได้ว่าเป็นสุดยอดฝีมือแห่งวงการงานศิลปหัตถกรรมจริงๆ  เพราะนอกจากท่านจะเป็นผู้มีทักษะฝีมือ และผู้ที่เปี่ยมด้วยองค์ความรู้ภูมิปัญญาที่สะท้อนผ่านผลงานอันทรงคุณค่า งดงาม น่าประทับใจ ที่เป็นที่สุดของงานแขนงนั้นๆ จริงๆ แล้ว ยังเป็นผู้ที่อนุรักษ์สืบสาน หรือบางท่านมีการฟื้นฟูงานหัตถกรรมที่ใกล้จะสูญหายให้ได้กลับมามีลมหายใจต่อไปได้อีกซึ่งถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก  และนี่เป็นบทบาทความสำคัญ ที่ในปีนี้ SACICT  ให้ความสำคัญกับบุคคลที่เป็นผู้ทำงานศิลปหัตถกรรมในประเภทที่มีแนวโน้ม ใกล้จะสูญหาย หรือเหลือผู้ทำน้อยราย  หรืองานบางประเภทแทบจะไม่มีใครรู้จัก หรือพบเห็น และหากไม่มีการรักษาสืบสานไว้ ก็คงจะสูญหายไปในที่สุด ตัวอย่างผลงานที่สำคัญ เช่น การทำ “ประทุนเกวียนโบราณ” ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีมาแต่ครั้งบรรพบุรุษ 

ศ.ศ.ป. ปลื้มสุดยอดฝีมือผู้อนุรักษ์หัตถกรรมที่ใกล้สูญ ปี 2563 คนชื่นชมผลงานที่หาชมยากใน “งานอัตลักษณ์แห่งสยาม”
ปัจจุบันการใช้ประทุนเกวียนในวิถีชีวิตแทบไม่มีให้เห็นจนใกล้จะสูญหายคนรุ่นหลังก็แทบไม่รู้จักแล้ว ยังคงเหลือ ครูเหลื่อม สิงห์ชัย ผู้ที่สืบสานการทำประทุนเกวียนอยู่เพียงรายเดียวอยู่ในจังหวัดสุรินทร์ หรือครูสมทรัพย์ ศรีสุวรรณ หรือสล่าแดง ผู้ที่สืบทอดฟื้นฟูภูมิปัญญาท้องถิ่น “การปั้นน้ำต้นแบบโบราณ” ที่นับวันจะหายไปจากวิถีชีวิตของคนล้านนาให้กลับมามีลมหายใจคู่บ้านน้ำต้น และชาวล้านนามาจนถึงในปัจจุบัน  หรือการทำงาน “กุบละแอ” หมวกโบราณของชาวล้านนา ที่ใกล้จะสูญหายไปจากวิถีชีวิตของคนไทยแล้ว แต่ยังมีครูแสวง ศิริ ที่ยังคงอนุรักษ์ภูมิปัญญาการทำ “กุบละแอ” คงอยู่ในปัจจุบันโดยที่ยังไม่สูญหายไปจากชาวล้านนา หรือการทำงาน “กระจกเกรียบ” ที่เคยสูญหายไปจากประเทศไทย แต่กลับมีผู้ที่ฟื้นฟู อย่างครูรชต ชาญเชี่ยว ช่างหุงกระจกที่คงเหลือเพียงคนเดียวในประเทศไทย ที่ทุ่มแรงกาย แรงใจ เพื่อทำให้ งานกระจกเกรียบโบราณหลากสีที่เลือนหายไปแล้วกลับมามีลมหายใจเติมเต็มคุณค่างานประณีตศิลป์ไทยอย่างสง่างามขึ้นอีกครั้ง

ศ.ศ.ป. ปลื้มสุดยอดฝีมือผู้อนุรักษ์หัตถกรรมที่ใกล้สูญ ปี 2563 คนชื่นชมผลงานที่หาชมยากใน “งานอัตลักษณ์แห่งสยาม”
 นอกจากนี้ ยังมีคนรุ่นใหม่ที่เห็นความสำคัญงานหัตถกรรมที่ใกล้สูญหาย กลับกลายเป็นผู้สืบสานรักษาให้ภูมิปัญญาของบรรพบุรุษดำรงคงอยู่ อย่าง “หลูบเงิน” เป็นงานที่หายากและไม่เป็นที่รู้จักของคนในปัจจุบัน แต่กับมีคนหนุ่มรุ่นใหม่อย่าง ธีร์ธวัช แก้วอุด สืบสานไว้จนถึงปัจจุบัน หรือสาวน้อยผู้ที่เกิดและเติบโตมาในชุมชนบ้านห้วยห้อม จังหวัดแม่ฮ่องสอน สืบสานการทอผ้าขนแกะ  งานหัตถกรรมที่เกิดขึ้นด้วยพระมหากรุณาธิคุณในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในการสร้างงาน สร้างอาชีพแก่คนไทยบนดอยสูง และยังคงสืบสานมาจนถึงทุกวันนี้  ตัวอย่างงานเหล่านี้เป็นงานหัตถกรรมที่มีคุณค่า เป็นภูมิปัญญาไม่ควรต้องสูญหายไปจากแผ่นดิน จึงเป็นสิ่งที่ SACICT ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง 

ศ.ศ.ป. ปลื้มสุดยอดฝีมือผู้อนุรักษ์หัตถกรรมที่ใกล้สูญ ปี 2563 คนชื่นชมผลงานที่หาชมยากใน “งานอัตลักษณ์แห่งสยาม”
แต่ในขณะเดียวกัน  SACICT ยังมีแนวคิดที่จะส่งเสริมงานศิลปหัตถกรรมเหล่านี้ให้ได้เป็นที่รู้จัก ตลอดจนได้รับโอกาสในการพัฒนา สร้างมูลค่าในเชิงเศรษฐกิจ การสร้างรายได้ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญ รวมทั้งหน้าที่ของความเป็นครูก็พร้อมส่งเสริมในเรื่องของการถ่ายทอดองค์ความรู้ต่างๆ ซึ่งนับวันมีแต่สูญหาย ดังนั้นใน อัตลักษณ์แห่งสยาม ในครั้งนี้จึงนับเป็นโอกาสที่ทำให้ผู้ที่ SACICT เชิดชูได้เป็นที่รู้จัก  และผู้ที่มาชมผลงานก็ได้สัมผัสกับผลงานในสาขาที่อาจไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อน พร้อมจะได้ความรู้ผ่านการถ่ายทอดแนวคิด แรงบันดาลใจในการทำงานหัตถกรรมผ่านการสาธิต อันจะนำไปสู่การสร้างการรับรู้ เรียนรู้สร้างแรงบันดาลใจและช่วยกันอนุรักษ์งานศิลปหัตถกรรมของชาติให้คงอยู่ต่อไป” นางสาวแสงระวี   กล่าว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad