"มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก ฟินเทคอินโน และหัวเว่ย ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ สนับสนุนการพัฒนาสถาบันการศึกษา และบุคลากรในอีอีซี” - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

"มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก ฟินเทคอินโน และหัวเว่ย ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ สนับสนุนการพัฒนาสถาบันการศึกษา และบุคลากรในอีอีซี”


"มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก ฟินเทคอินโน และหัวเว่ย ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ สนับสนุนการพัฒนาสถาบันการศึกษา และบุคลากรในอีอีซี”

บรรยายภาพ: ดร. อภิชาต ทองอยู่ (ขวาสุดประธานคณะทำงาน EEC-HDC ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านพัฒนาสถาบันการศึกษาและบุคลากรในอีอีซี  โดยมี รศ.ดร.ฤกษ์ชัย ฟูประทีปศิริ (กลางซ้าย) 
รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก นายเฉิง กั๋ว ตง (กลางขวา) รองประธานบริหาร 
กลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด และ
นายเชาวลิต แจ้งไชย (ซ้ายสุด) กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ฟินเทคอินโน จำกัด ร่วมลงนาม

กรุงเทพฯ ประเทศไทย/ 19 กุมภาพันธ์ 2563 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก ร่วมกับบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท ฟินเทคอินโน จำกัด ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ภายใต้ชื่อ “Technology and Innovation-Driven EEC-HDC and University”ผนึกกำลังพัฒนาสถาบันการศึกษาและบุคลากรในพื้นที่อีอีซี  โดยเอ็มโอยูฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมมือกันสนับสนุนทางภาคการศึกษาของประเทศไทย ทั้งในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานไปจนถึงระดับมหาวิทยาลัย   ร่วมถ่ายทอดความรู้ทางด้านนวัตกรรมสมัยใหม่  ร่วมออกแบบโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยดิจิทัลทางการศึกษา ไปจนถึงการร่วมลงทุนกับสถานศึกษาหรือสถาบันทางการศึกษาเพื่อนำเอานวัตกรรมทางการศึกษามาใช้ประโยชน์ทางการเรียนการสอน และสร้างบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ความสามารถที่ทัดเทียมและแข่งขันได้ในเวทีระดับโลก

ภายใต้เอ็มโอยูดังกล่าว ทั้งสามฝ่ายจะร่วมกันจัดหาโครงสร้างพื้นฐานและอีโคซิสเต็มด้านดิจิทัลให้แก่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก อันได้แก่ คลาวด์ดาต้าเซ็นเตอร์เพื่อการศึกษา ระบบการเรียนทางไกล ตลอดจนโซลูชันการจัดการพลังงานอัจฉริยะ รวมถึงจัดหาผู้เชี่ยวชาญทั้งในและต่างประเทศมาให้ข้อมูลความรู้เพื่อช่วยขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเป้าหมายในเขตอีอีซี โดยมหาวิทยาลัยฯ จะจัดหานักศึกษารวมถึงคณาจารย์ในภูมิภาคมาเข้าร่วมโปรแกรมอบรมดังกล่าว ความร่วมมือครั้งนี้มุ่งเตรียมความพร้อมของนักศึกษาในการเข้าสู่โลกที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม เพื่อให้สอดรับกับความต้องการบุคลากรที่มีทักษะขั้นสูงในเขตอีอีซีที่เพิ่มสูงขึ้น สอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐในการส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยผ่านการพัฒนาการศึกษา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad