กระทรวงเกษตรฯ โชว์ผลการขับเคลื่อนการผลิตและการตลาดสินค้าเกษตร “พะเยาโมเดล” นำร่องสินค้าข้าวหอมมะลิ ตามนโยบายตลาดนำการผลิต - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

กระทรวงเกษตรฯ โชว์ผลการขับเคลื่อนการผลิตและการตลาดสินค้าเกษตร “พะเยาโมเดล” นำร่องสินค้าข้าวหอมมะลิ ตามนโยบายตลาดนำการผลิต


กระทรวงเกษตรฯ โชว์ผลการขับเคลื่อนการผลิตและการตลาดสินค้าเกษตร “พะเยาโมเดล” นำร่องสินค้าข้าวหอมมะลิ ตามนโยบายตลาดนำการผลิต

      วันนี้ (18 ก.พ. 63) เวลา 08.30 น. ณ หน้าตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เยี่ยมชมการจัดนิทรรศการประชาสัมพันธ์การขับเคลื่อนการผลิตและการตลาดสินค้าเกษตร "พะเยาโมเดล" และผลผลิต/ผลิตภัณฑ์ของโครงการ ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี โดยมี ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และนายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตลอดจน นายอนันต์ สุวรรณรัตน์ ปลัดกระทรวงเกษตรฯ เข้าร่วมงาน โดย ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรฯ กล่าวรายงานผลการดำเนินงานขับเคลื่อนการผลิตและการตลาดสินค้าเกษตร "พะเยาโมเดล" ณ หน้าตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล
          ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้บูรณาการความร่วมมือร่วมกับจังหวัดพะเยา ผู้ประกอบการภาคเอกชน เกษตรกร และสถาบันเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดพะเยา เพื่อดำเนินการขับเคลื่อนการผลิตและการตลาดสินค้าเกษตร "พะเยาโมเดล" โดยนำร่องในสินค้าข้าวหอมมะลิ ปีการผลิต 2562/2563 เป็นลำดับแรก มีวัตถุประสงค์มุ่งเน้นให้เกิดการส่งเสริมและยกระดับคุณภาพชีวิตและรายได้ของเกษตรกรในจังหวัดพะเยา รวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้แก่สินค้าข้าวหอมมะลิ และเพื่อพัฒนาให้ได้มาตรฐาน ตรงตามความต้องการของตลาด ตลอดจนสามารถแก้ไขปัญหาสินค้าเกษตรล้นตลาดและราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งเป็นไปตามนโยบาย "การตลาดนำการผลิต" ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
          สำหรับสถานการณ์การผลิตและการตลาดสินค้าข้าวหอมมะลิจังหวัดพะเยา ปีการผลิต 2562/63 มีพื้นที่ปลูกข้าวนาปี จำนวน 638,079 ไร่ ครอบคลุม 9 อำเภอของจังหวัดพะเยา โดยมีพื้นที่ปลูกข้าวหอมมะลิ 419,164 ไร่ ปริมาณผลผลิตข้าวเปลือกหอมมะลิ อออกสู่ตลาด จำนวน 151,900 ตัน ซึ่งจำนวนดังกล่าวมีการบริหารจัดการการผลิตและการตลาด โดย 1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ ที่รับซื้อในโครงการ "พะเยาโมเดล" ภายใต้ตราสินค้า "ฮักพะเยา" โดยความร่วมมือระหว่าง บจก. ข้าว ซี.พี. กับสหกรณ์การเกษตร และผู้ประกอบการภาคเอกชนในพื้นที่ 8 แห่ง ร่วมกันเปิดจุดรับซื้อผลผลิตข้าวหอมมะลิจากเกษตรกร จำนวน 15 จุด รับซื้อในราคา 18,000 บาท/ตัน ที่ความชื้น 15 % ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ 9 อำเภอของจังหวัดพะเยา จำนวน 72,594.38 ตัน มูลค่ารวม 949,162,133.44 บาท และเตรียมสานต่อโครงการในปี 2563 โดยขยายผลการรวบรวมและรับซื้อผลผลิตครอบคลุมทั้งจังหวัด 2) ข้าวเปลือกหอมมะลิ ที่รับซื้อและจำหน่ายผ่านสถาบันเกษตรกรและผู้ประกอบการ จำนวน 24,918.19 ตัน มูลค่ารวม 295,463,148.00 บาท
          "สำหรับในปี 2563 หน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในพื้นที่จังหวัดพะเยาร่วมกันจัดทำแนวทางการขับเคลื่อนในปีการผลิต 2563/64 โดย 1) กำหนดเป้าหมายบริหารจัดการผลิตและการตลาดข้าวหอมมะลิพะเยา ทั้งหมด (100%) ราคารับซื้อ 18,000 บาท/ตัน (ณ ความชื้น 15%) 2) ส่งเสริมการตลาดสินค้าอัตลักษณ์และขยายตลาดสินค้าข้าวหอมมะลิพะเยาภายใต้แบรนด์ "ฮักพะเยา" 3) เพิ่มบริการรถเกี่ยวข้าวและโรงสีข้าวและปรับปรุงคุณภาพข้าว ให้เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกร 4) สนับสนุนการไถกลบ ตอซังข้าว เพื่องดการเผาที่เป็นสาเหตุของ PM 2.5 และการปรับปรุงบำรุงดินเพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพข้าว และ 5) วางแผน การเพาะปลูกให้เหมาะสม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำและจัดระเบียบการเก็บเกี่ยวให้สามารถใช้ประโยชน์ จากเครื่องจักรกลและบริหารให้ผลผลิตมีคุณภาพออกสู่ตลาดในช่วงเวลาที่เหมาะสม ซึ่งหลังจากรวบรวมและจัดทำข้อมูลดังกล่าวเสร็จสิ้นแล้ว กระทรวงเกษตรฯ จะกำหนดจัดการประชุมหารือเพื่อขับเคลื่อนการส่งเสริมการผลิตและการตลาดสินค้าเกษตร "พะเยาโมเดล" และวางแผนการดำเนินงานในปีการผลิต 2563/64 โดยมี พันตำรวจเอก รวมนคร ทับทิมธงไชย หัวหน้าคณะทำงานรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า) เป็นประธาน ทั้งนี้ รูปแบบการบริหารจัดการผลิตและการตลาด ข้าวหอมมะลิพะเยา "พะเยาโมเดล" จะเป็นตัวอย่างที่จะขยายผลไปสู่การบริหารจัดการสินค้าเกษตรชนิดอื่น ๆ ต่อไป ซึ่งจะเป็นรูปแบบ ที่ไม่พึ่งพางบประมาณ ภาครัฐจำนวนมาก เนื่องจากใช้หลักตลาดนำการผลิต สร้างคุณค่าสินค้าเพิ่มจากอัตตลักษณ์พื้นถิ่นที่ซึ่ง ผู้บริโภคมีความพึงพอใจ" ร้อยเอก ธรรมนัส กล่าว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad