การค้าระหว่างประเทศเป็นสิ่งที่ดี - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันอาทิตย์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

การค้าระหว่างประเทศเป็นสิ่งที่ดี

ทุกวันนี้ “การค้าระหว่างประเทศ” ถูกมองในแง่ไม่ค่อยดีนัก เพราะได้รับการกล่าวโทษว่าเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดการว่างงานจำนวนมาก และทำให้ความร่ำรวยของสหรัฐอเมริกาลดลง ซึ่งการมองแบบนี้ไม่ถูกต้อง อันที่จริงการค้าระหว่างประเทศก่อให้เกิดทรัพยากร และสร้างงานขึ้นมามากกว่าที่มันได้ทำลายลงไปเสียอีก

ตลาดเสรีนั้นมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นตลอดเวลา มีทั้งธุรกิจที่เปิดใหม่ ปิดตัวลง ขยายตัว หรือหดตัว เทคโนโลยีใหม่ๆ ทำให้เกิดการพัฒนาการทำงานทุกด้านให้ดีขึ้น อัตราการเปลี่ยนงานในตลาดแรงงานสูงมาก โดยในแต่ละปีมีตำแหน่งงานที่ถูกปิดลงไปนับล้านตำแหน่ง แต่ในขณะเดียวกันก็มีตำแหน่งงานที่ถูกสร้างขึ้นมาใหม่เพิ่มขึ้นนับล้านตำแหน่งเช่นกัน
ยกตัวอย่างเช่น ในอุตสาหกรรมรถไฟ หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 อุตสาหกรรมนี้มีการจ้างงานสูงที่สุดในสหรัฐฯ โดยมีการจ้างแรงงานมากกว่า 1.4 ล้านคน แต่ปัจจุบันการจ้างงานในอุตสาหกรรมรถไฟของสหรัฐฯ อยู่ที่ประมาณ 170,000 คนเท่านั้น หรือในช่วงปลายทศวรรษที่ 1940 มีการจ้างงานพนักงานเชื่อมต่อคู่สายโทรศัพท์ถึง 350,000 คน ซึ่งต่อมาหน้าที่นี้ก็หายไปเพราะมีการนำอุปกรณ์เชื่อมต่อคู่สายอัตโนมัติมาใช้ เช่นเดียวกับตำแหน่งเสมียนพิมพ์ดีด ในขณะเดียวกัน ทั้งจำนวนตำแหน่งงานและค่าแรงต่างก็เพิ่มขึ้น
แต่ด้วยเหตุผลทางด้านอารมณ์ความรู้สึก เมื่อบริษัทต่างๆ พากันปิดกิจการหรือลดขนาดองค์กรในสหรัฐฯ ลง เพื่อไปเปิดกิจการในต่างประเทศ ก็สามารถก่อกระแสและส่งผลกระทบทางการเมืองอย่างรุนแรงได้ หากดูจากอุตสาหกรรมสิ่งทอของสหรัฐฯ ซึ่งเคยจ้างแรงงานนับเป็นแสนคนในช่วงต้นทศวรรษที่ 1900 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในย่าน New England แต่ต่อมาก็มีการย้ายการผลิตไปยังรัฐทางใต้ ซึ่งทำให้แรงงานของโรงงานในพื้นที่ที่ถูกปิดไปต้องประสบภาวะยากลำบาก แต่ก็ไม่ได้มีการเรียกร้องให้ลงโทษบริษัทที่ย้ายฐานการผลิตไป เพราะยังเป็นการย้ายฐานแค่ภายในสหรัฐฯ
อย่างไรก็ตาม หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่ออุตสาหกรรมสิ่งทอเริ่มย้ายฐานการผลิตไปต่างประเทศ โดยเป้าหมายหลักอยู่ที่ทวีปเอเชีย ประเด็นการนำเข้าสิ่งทอของสหรัฐฯ ก็กลายเป็นประเด็นร้อนแรงขึ้นมา
เพื่อลดความร้อนแรงทางการเมือง รัฐบาลในยุคนั้นจึงดำเนินโครงการ “ปรับเปลี่ยนทางการค้า” เพื่อช่วยเหลือ “คนงานที่ถูกปลด” โดยในบางช่วงมีการกำหนดโควตาการนำเข้าสินค้าที่เป็นประเด็นอ่อนไหวทางการเมือง และบางทีก็มีการเก็บภาษีนำเข้าสินค้าบางประเภท โดยเฉพาะกลุ่มที่ถูกมองว่ามีการ “ทุ่มตลาด” เกิดขึ้น ซึ่งหมายถึงการนำสินค้าเข้ามาขายในอเมริกาที่ราคาต่ำกว่าต้นทุนในการผลิต ทั้งนี้ การค้ามีแนวโน้มเสรีมากขึ้น
ในขณะที่ห่วงโซ่อุปทานก็มีการพัฒนาไปมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการประดิษฐ์เรือขนส่งตู้สินค้าขึ้นมา มีผลให้ต้นทุนการขนส่งสินค้าทางเรือลดลงอย่างมาก และทำให้การค้าโลกขยายตัวถึง 4 เท่าระหว่างปี 1985-2005 ซึ่งหากปราศจากการค้าระหว่างประเทศ อุปกรณ์มือถือในปัจจุบัน ซึ่งมีความสามารถเทียบเท่ากับซูเปอร์คอมพิวเตอร์ในยุคก่อนก็จะไม่เกิดขึ้น และไม่มีทางที่จะมีราคาต่ำอย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ได้
สิ่งที่ทำให้การค้าระหว่างประเทศตกเป็นเป้าโจมตีก็คือ ภาวะเศรษฐกิจชะงักงันที่เกิดขึ้นหลังวิกฤตปี 2008 แต่อันที่จริงการชะลอตัวของเศรษฐกิจไม่ได้เกิดจากการค้าระหว่างประเทศ แต่เป็นผลจากนโยบายที่ผิดพลาดของรัฐบาล ทั้งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการบริหารการเงิน ภาษี และกฎเกณฑ์ต่างๆ ลองทบทวนดูสิว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ดีขึ้นแค่ไหนเมื่อมีการปรับลดภาษีในปลายปี 2017 และเมื่อมีการปรับลดความเข้มงวดของกฎเกณฑ์ต่างๆ ลง
ทั้งนี้ สิ่งเดียวที่ฉุดรั้งเราอยู่ในขณะนี้ก็คือ ความไม่แน่นอนของกรณีพิพาททางการค้าในปัจจุบัน
ที่มา - FORBES THAILAND

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad