กรมการแพทย์ ลงนาม MOU พัฒนานวัตกรรมเฮลท์แคร์และเฮลท์เทค สู่ตลาดโลก - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันจันทร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

กรมการแพทย์ ลงนาม MOU พัฒนานวัตกรรมเฮลท์แคร์และเฮลท์เทค สู่ตลาดโลก

กรมการแพทย์ ลงนาม MOU พัฒนานวัตกรรมเฮลท์แคร์และเฮลท์เทค สู่ตลาดโลก

     คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ลงนามบันทึกความร่วมมือทางวิชาการ ร่วมกับ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการให้บริการทางวิชาการแก่ชุมชน สังคม หน่วยงานภาครัฐ และเอกชน ในการพัฒนานวัตกรรม สร้างเสริมและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ระหว่างผู้ผลิตและบุคลากรทางการแพทย์ ให้มีความรู้ความเข้าใจในด้านอุปกรณ์การแพทย์ เครื่องมือแพทย์ ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและนวัตกรรม ภายในงาน มีปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ "Sustainable Health and Well-Being" โดย ดร.สาธิต ปิตุเดชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ณ ห้องประชุมพิบูลสงคราม ชั้น 12 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา โรงพยาบาลราชวิถี
          นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า กรมการแพทย์ มีความยินดีในการผนึกความร่วมมือกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ด้วยความมุ่งมั่นในการที่จะเพิ่มผลผลิตทางวิชาการและนวัตกรรมสนองความต้องการในประเทศและตลาดโลก พัฒนาให้ประชาชนได้รับบริการทางการแพทย์ที่มีคุณภาพและมาตรฐานวิชาชีพอย่างเสมอภาค ยกระดับความรู้ทางด้านการแพทย์ และเป็นการประสานความร่วมมือ เพิ่มศักยภาพของบุคลากรทางการแพทย์ให้มีความรู้ความเข้าใจในการส่งเสริมความอยู่ดีมีสุขให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นโดยสอดคล้องกับนโยบาย "ประชาชนสุขภาพดี เจ้าหน้าที่มีความสุข ระบบสุขภาพยั่งยืน"

กรมการแพทย์ ลงนาม MOU พัฒนานวัตกรรมเฮลท์แคร์และเฮลท์เทค สู่ตลาดโลก
          รศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า โลกแห่งสุขภาพและการแพทย์ยุคดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นวันนี้และอนาคตขับเคลื่อนด้วยองค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญและเทคโนโลยีนวัตกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และกรมการแพทย์ มีผลงานในการสร้างสรรค์ร่วมกันหลายนวัตกรรมทซึ่งสร้างประโยชน์ทางการแพทย์และคุณภาพชีวิตของประชาชน ดังนี้ 1. พัฒนาศูนย์เรียกเก็บเงินอัจฉริยะ 2. นาฬิกาเตือนน้ำตาลต่ำ (Smart Hypoglycemia Warning Watch) 3. การตรวจวัดค่าอะซิโตนในลมหายใจในการวินิจฉัยภาวะเลือดเป็นกรดจากคีโตนจากเบาหวาน (G Breath) 4. Telmed & Node Center 5. การดูแลแผลผู้ป่วยเบาหวานและทวารเทียมด้วย AI (AI With Wound Assessment) 6. Super App for Diabetes Center (ระบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานแบบองค์ร่วม ผ่าน Mobile Application) 7. เครื่องดันเปลนอนและเปลนั่งด้วยแบตเตอรี่ 8. เส้นใยนาโนบนวัสดุรองรับสำหรับแผลติดเชื้อแบคทีเรีย 9. ระบบ Recliam และ AI ในการตรวจการเบิกสิทธิผู้ป่วยกับกองทุนต่าง ๆ 10. ประสานกลุ่มคลัสเตอร์ด้านการแพทย์เพื่อส่งเสริมเป็นผู้ประกอบการ และพัฒนานวัตกรรมการแพทย์ 
          ทั้งนี้ในอนาคต มหาวิทยาลัยมหิดลและกรมการแพทย์ จะประสานกลุ่มผู้ประกอบการด้านเฮลท์แคร์และเฮลท์เทค เพื่อพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ไปสู่เชิงพาณิชย์ เพื่อเปิดตลาดกว้างและเชื่อมโยงกับนานาประเทศและตลาดโลกผ่าน UNTIL UN Technology Innovation Lab อีกด้วย
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad