ไวรัสโควิด-19 วิกฤตเป็นโอกาสของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันศุกร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2563

ไวรัสโควิด-19 วิกฤตเป็นโอกาสของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ

ธุรกิจอีคอมเมิร์ซปรับตัว หลังจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ในจีน
การเตรียมรับมือคือเรื่องสำคัญ ซึ่งทุกอย่างมีเหรียญสองด้าน มีฟ้าหลังฝนเสมอ
ซึ่งหลังจากการระบาดของไวรัสโคโรน่า หรือ โควิด-19 ที่อู่ฮั่น ได้แพร่ระบาดและส่งผลต่อชีวิตคนจีนจำนวนมหาศาล และมีผลกระทบต่อการค้าปลีกของจีนด้วย ทั้งผู้ที่อาศัยอยู่ในและนอกประเทศจีน หลายคนอาจมีข้อสงสัยเกี่ยวกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นว่าจะส่งผลกระทบอย่างไรต่อธุรกิจของเรา แต่ก็มีการวิเคราะห์ถึงแนวทางการรับมือและการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น รวมถึงแนวทางการพลิกวิกฤตเป็นโอกาส โดยเฉพาะช่องทางออนไลน์

ผลกระทบต่อภาคธุรกิจอีคอมเมิร์ซ

ที่มาภาพ shutterstock / โดย Robert Wei
ปฏิเสธไม่ได้ว่า มันส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมทางธุรกิจในเชิงลบอย่างมาก โดยเฉพาะในภาคโลจิสติกส์ และการขนส่งสินค้ามีปัญหา แม้หลายฝ่ายจะพยายามชี้ว่าในส่วนนี้จะเริ่มกลับสู่สภาพปกติแล้วตั้งแต่วันที่ 10 ก.พ. แต่เอาเข้าจริงหลายโรงงานยังคงปิดตัวอย่างไม่มีกำหนด ทำให้การสั่งของจากจีนหยุดชะงัก
ขณะที่ ระบบขนส่งในภาพรวมของจีนแผ่นดินใหญ่น่าจะได้กลับสู่สภาพปกติในช่วงกลางเดือน ก.พ. แต่ก็ยังมีหลายส่วนที่จำเป็นต้องเฝ้าระวังและน่าเป็นห่วงก็คือ Cross-border Ecommerce โดยเฉพาะที่ฮ่องกง ซึ่งเวลานี้ปิดดำเนินการไปชั่วคราว
ถึงกระนั้น ธุรกิจอีคอมเมิร์ซก็ยังคงมีทิศทางที่ดี โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าในสินค้าบางประเภท เช่น แฟชั่น เครื่องสำอาง สกินแคร์ ซึ่งไม่ได้รับผลกระทบมากนักจากเหตุการณ์โรคระบาดในเดือน ก.พ. นี้ อันที่จริงแล้ว มีลูกค้าจำนวนมากที่เลือกอยู่บ้านแล้วสั่งสินค้าทางออนไลน์แทนด้วย
ในภาพรวมแล้ว นี่อาจจะเป็น โอกาส ที่การขายสินค้าจะขยับจากภาคออฟไลน์ มาสู่ช่องทางออนไลน์มากขึ้น โดยเฉพาะการใช้งานแพลทฟอร์มสำคัญอย่าง WeChat ซึ่งกลุ่มสินค้าที่ติดอันดับขายดี คือกลุ่ม แฟชั่น 

ช่องทางออนไลน์ต้องใช้ หนึ่งในทางแก้ไขปัญหาคือ การให้ความสำคัญกับการเพิ่ม Engagement สำหรับช่องทางออนไลน์

ตัวอย่างเช่น การแก้ไขปัญหาของ Starbuck
ซึ่งในช่วงที่เกิดวิกฤตโควิด-19 แฟรนไชส์ยักษ์ใหญ่อย่าง Starbuck จำต้องปิดสาขามากกว่า 2,000 แห่ง แต่พวกเขาก็หันมาให้ความสำคัญกับช่องทางออนไลน์และการเข้าถึงลูกค้าด้วยการใช้แพลทฟอร์มมากขึ้น เช่น การใช้ WeChat สำหรับกลยุทธ์ทางการตลาดอย่างง่ายๆ คือหาทางเพิ่มจำนวนผู้สั่งทางออนไลน์มากขึ้น รวมถึงแนะนำวิธีสั่งสินค้าให้ชัดเจนเพื่อดึงดูดลูกค้า
ที่มาภาพ shutterstock / โดย Jirapong Manustrong
กลยุทธ์ที่แบรนด์นำมาใช้คือ การโชว์สโลแกนที่ว่า “We are Together” เราอยู่เคียงข้างกัน พร้อมทั้งลดราคา 10% สำหรับผู้ที่สั่ง 2 คน และโปรโมชั่นให้กับคนที่ต้องกลับมาทำงานหลังจากไวรัสโควิด-19 ระบาด

การ Rebound ของสินค้า

เป็นเรื่องที่จะเกิดขึ้นแน่ๆ นั่นคือ สินค้าหรือผลิตภัณฑ์และบริการเกี่ยวกับ สุขภาพ ยา ซึ่งคาดว่าจะได้รับผลสะท้อนกลับอย่างมากหลังจากช่วงตรุษจีนไปแล้ว เรียกง่ายๆว่าการตื่นตัวในเรื่องนี้จะเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งการระบาดของไวรัส จะส่งผลอย่างมากต่อความจริงจังในการดูแลสุขภาพ การให้ความใส่ใจเรื่องคุณภาพในการบริโภค
ดังนั้นในหลายธุรกิจน่าที่จะกระตุ้นการขายและโปรโมชั่นในช่วงเดือน มีนาคม – พฤษภาคม โดยอาจจะใช้บริการของ KOL เข้ามาช่วย ร่วมถึงการกระตุ้นสินค้าในแง่บวก มากขึ้นครับ
ซึ่งโดยสรุปแล้ว ในภาพรวมต้องถือว่านี่เป็นช่วงเวลาที่ท้าทายที่สุดช่วงหนึ่งในตลาดจีน แต่อย่าลืมว่า มันเป็นเพียงชั่วคราวเท่านั้น หลายแบรนด์จำเป็นต้องทำการศึกษาและสำรวจตลาดในช่วงนี้ให้ดี โดยเฉพาะการให้ความสำคัญกับการตลาดบนออนไลน์ และการใช้ KOL เข้าช่วย สหรับการทำตลาดระยะสั้น เพราะผู้คนในช่วงนี้จะมีแนวโน้มอยูบ้านมากขึ้น และการสั่งสินค้าออนไลน์เมื่อเกิดประสบการณ์และความเคยชินแล้ว ก็มีแนวโน้มที่จะทำซ้ำนั่นเองครับ
ดังนั้นหลายแบรนด์ต้องเตรียมพร้อมสำหรับช่วงลดราคาครั้งใหญ่หลังผ่านวิกฤต

ที่มา MarketingOops

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad