สตาร์ทอัพ และ SMEs ไทย จะรอดพ้นจาก COVID-19 ได้อย่างไร - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันอาทิตย์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2563

สตาร์ทอัพ และ SMEs ไทย จะรอดพ้นจาก COVID-19 ได้อย่างไร


Brace for Impact 'ทางรอด' ธุรกิจจาก COVID-19

เมื่อผ่านพ้นวิกฤติ บริษัทที่มีพื้นฐานมั่นคงย่อมได้เปรียบและเติบโตอย่างก้าวกระโดด แล้วเราจะผ่านมันไปด้วยกัน หรือนี่คือบทพิสูจน์ที่แท้จริงของสตาร์ทอัพ และ SMEs ไทย?

ภาวะเคราะห์ซ้ำกรรมซัดที่เกิดขึ้นในประเทศไทยขณะนี้ ทั้ง PM2.5 ทั้ง COVID-19 ทั้งสถานการณ์บ้านเมือง ฯลฯ ทำให้ธุรกิจส่วนใหญ่ก็ล้วนแล้วแต่เผชิญสถานการณ์ที่ยากลำบากทั้งนั้น
แน่นอนว่ามีข้อยกเว้นบางธุรกิจ เช่น หน้ากากอนามัย อุปกรณ์ป้องกัน ชุดอวกาศ ยาต้าน HIV หรือประกันชีวิต ที่มีโอกาสทางธุรกิจเพิ่มขึ้นจากวิกฤติโดยตรง หรือ แอพดูหนังออนไลน์ แพลตฟอร์มเรียนออนไลน์ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต แอพส่งอาหาร และสินค้า ที่มีรายได้เพิ่มขึ้น เพราะคนจำนวนมากเลี่ยงห้างสรรพสินค้า โรงเรียน และที่ชุมชน
แต่ผลกระทบทางลบที่เกิดขึ้นจากวิกฤตินี้เกิดในวงกว้าง ไม่เว้นแม้กระทั่งคลินิกทันตกรรมยังมีคนไข้น้อยลงอย่างเห็นได้ชัด การที่มีนักท่องเที่ยวลดลง คนไทยเก็บตัวอยู่กับบ้าน ไม่ไปร่วมอีเวนท์ ไม่ไปจับจ่ายใช้สอย ยอมส่งผลให้แทบทุกธุรกิจกำลังประสบความท้าทายต่างๆ ดังนี้
1.รายได้ กำไรที่หายไป ที่เห็นได้ชัดอย่างบริษัทที่มีรายได้มาจากการจัดงาน CareerVisa ก็เป็นหนึ่งในนั้น โดยเฉพาะอีเวนท์ที่ผู้สนับสนุนคอนเฟิร์มแล้ว ทีมงานลงทุนเตรียมงาน จองสถานที่แล้ว หายไปในพริบตา รวมถึงรายได้จากการจัดเวิร์คชอปอีกด้วย
2.ในขณะที่รายจ่ายซึ่งส่วนมากเป็นต้นทุนคงที่ไม่หายตาม ไม่ว่าจะเป็นเงินเดือนและสวัสดิการพนักงาน ค่าเช่าออฟฟิศ หรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ไม่สามารถติดหนี้ไว้ก่อนได้
3.ส่งผลให้กระแสเงินสดสุทธิติดลบ สิ่งนี้เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ 29% ของสตาร์ทอัพล้มเหลว ถึงแม้จะมีผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ตอบโจทย์ลูกค้ามากแค่ไหนก็ตาม กลายเป็นว่าใครสายป่านยาวก็รอด สายป่านสั้นก็ลำบาก
4.Runway ที่ไม่เคยยาวพอให้สร้าง traction ตามที่โม้ไว้ burn rate เดือนละเท่าไหร่ แล้วแต่เดิมคิดว่าจะมีรายได้เข้ามาเดือนละเท่าไหร่ burn rate เท่าเดิม หรือมากกว่าเดิม ในขณะที่รายได้ลดลง ยิ่งติดลบแต่ละเดือนมากกว่าเดิมอีก runway ก็ยิ่งสั้นลงไปอีก 
เมื่อผ่านพ้นวิกฤติ บริษัทที่มีพื้นฐานมั่นคงย่อมได้เปรียบและเติบโตอย่างก้าวกระโดด แล้วเราจะผ่านมันไปด้วยกัน
แล้ว startup ที่จะหาเงินลงทุนใหม่จะไปหาจากไหน ในเมื่อสถานการณ์ไม่มั่นคง นักลงทุนก็ไม่กล้าเสี่ยง เก็บเงินไว้กับตัวดีกว่า แล้วทางรอดคืออะไร?
1.สติ ตอนนี้สภาพจิตใจของเจ้าของกิจการและผู้บริหารธุรกิจเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ตามข่าว แต่อย่าอินกับทุกข่าว จนไม่เป็นอันทำอะไร
2.รัดเข็มขัด ตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออก อะไรก็ไม่สำคัญเท่าเงินสดในวิกฤติที่ไม่รู้จะผ่านพ้นไปเมื่อไหร่ แต่ก็อย่ารัดเข็มขัดแน่นจนเกินไป เช่น การไล่คนที่มีความสำคัญกับธุรกิจหลักออก เพราะจะเป็นการกำจัดข้อได้เปรียบทางธุรกิจ หรือทำให้บริษัทไม่สามารถกลับมาดำเนินการได้ปกติ
3.หารายได้เพิ่มเติม แน่นอนว่าการโฟกัส เป็นสิ่งที่ทุกธุรกิจควรทำ แต่การกระจายความเสี่ยงก็เป็นเรื่องสำคัญ ในภาวะที่รายได้จากธุรกิจหลักหดหาย ความอยู่รอดอาจมาจากธุรกิจอื่นๆ ที่สามารถใช้ทักษะ ความเชี่ยวชาญที่ใกล้เคียงกับธุรกิจหลักของเรา
4.หาแหล่งทุนเพิ่มเติม ซึ่งการกู้เงินอาจไม่ใช่เรื่องง่ายในภาวะวิกฤติ ดังนั้นทุนจากหน่วยงานรัฐบาล จึงเป็นแหล่งเงินทุนไม่กี่แหล่งที่มีภูมิต้านทานต่อวิกฤตินี้ อย่างไรก็ตามต้องบริหารจัดการกระแสเงินสดให้ดี เพราะกว่าจะได้เงินมา ต้องควักเนื้อตัวเองลงทุนไปก่อน แล้วจึงสามารถเอาใบเสร็จที่จ่ายเงินออกไปจริงๆ ไปเบิกเงิน ซึ่งส่วนมากก็ได้รับการสนับสนุนเพียงบางส่วน 
นี่ยังไม่ต้องพูดถึงเงินเดือนพนักงาน หรือเงินเดือนตัวเองที่เบิกไม่ได้ แถมกว่าจะได้เงินก็อีกหลายเดือน
5.ลงทุนเพื่อระยะยาว ทำวิจัย สร้างและปรับปรุงโครงสร้างเทคโนโลยีในบริษัท  โดยเฉพาะอย่างยิ่งสตาร์ทอัพที่เน้นการพุ่งทะยานไปข้างหน้า อาจถึงเวลาทำให้ code เป็นระเบียบ วางโครงสร้างเว็บไซต์ใหม่ เพื่อรองรับฟีเจอร์ที่สำคัญต่อการเติบโตในอนาคต สร้างฐานข้อมูลที่เป็นระเบียบ และมีความเสถียร พร้อมสู่การเป็น Data-driven organization เพื่อให้พื้นฐานมั่นคง ไม่พังครืนลงมาเมื่อมีโอกาสเติบโตอย่างก้าวกระโดด
6.สร้างสินทรัพย์ดิจิทัล เช่น การทำคอนเทนท์ เขียนบทความลงเว็บไซต์ ทำ Search Engine Optimization เพื่อให้เว็บไซต์ขึ้นใน Google เป็นอันดับแรกๆ หรืออัด Podcast อัดคอร์สออนไลน์ เป็นต้น
7.พัฒนาตัวเอง ใครบอกว่าเจ้าของกิจการไม่ต้องพัฒนาตัวเอง ต้องบอกว่าในวิกฤติก็ถือเป็นโอกาสในการใช้เวลาให้เรียนรู้ทักษะใหม่ๆ หรือ พัฒนาทักษะที่มีอยู่เดิมให้ดียิ่งขึ้น โดยไม่ต้องมีค่าเสียโอกาสจากการหารายได้ให้ธุรกิจ
8.สร้างความสัมพันธ์ที่ดี เพราะในยามยากนี่แหล่ะที่ทำให้คนมักต้องการความช่วยเหลือ ถ้าคุณช่วยทำให้ใครก็ตามผ่านพ้นวิกฤติได้ในยามนี้ ก็เป็นไปได้สูงที่เขาจะตอบแทนคุณ ยามเมื่อคุณต้องการความช่วยเหลือเช่นเดียวกัน
ถือว่าวิกฤตินี้ คือ Stress Test ที่บริษัทของใครหลายคนจะต้องเผชิญ แน่นอนว่าเวลาที่เลวร้ายก็จะผ่านไปเหมือนครั้งก่อนๆ ขึ้นอยู่กับเวลา ว่าจะเป็นเมื่อไหร่ และเมื่อผ่านพ้นวิกฤติไปได้ บริษัทใดที่มีพื้นฐานที่มั่นคงย่อมได้เปรียบกว่าคู่แข่ง และเติบโตอย่างก้าวกระโดด อดทนไว้ แล้วเราจะผ่านมันไปด้วยกัน
ที่มา - กรุงเทพธุรกิจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad