'ใช้จ่ายแบบไร้สัมผัส' พลิกโลกการเงินยุคโควิด-19 - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันอังคารที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

'ใช้จ่ายแบบไร้สัมผัส' พลิกโลกการเงินยุคโควิด-19


'ใช้จ่ายแบบไร้สัมผัส' พลิกโลกการเงินยุคโควิด-19
เทรนด์การใช้จ่ายแบบคอนแทคเลสช่วงโควิด-19 ทรูมันนี่มียอดโหลดแอพ เพิ่มขึ้น 20%
โลกที่เปลี่ยนไปจากสถานการณ์ที่ผู้คนต้องเว้นระยะห่างทางสังคม และการล็อคดาวน์ เพื่อต่อสู้การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้เทคโนโลยีมีบทบาทมากในการใช้ชีวิตอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน การเรียน และการใช้ชีวิตที่บ้าน เพื่อลดการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
รายงานข่าวจาก อาลีเพย์ แพลตฟอร์มชำระเงินออนไลน์และโมบายที่ใหญ่ที่สุดในโลก ระบุว่า ‘คอนแทคเลส เพย์เม้นท์’ หรือการใช้จ่ายแบบไร้สัมผัส กลายเป็นส่วนสำคัญในชีวิตประจำวันในการซื้อขายออนไลน์ จ่ายบิล หรือสั่งอาหาร เราเห็นแนวโน้ม คอนแทคเลส เพย์เม้นท์ ที่พัฒนาอย่างรวดเร็วพร้อมฟังก์ชั่น หรือการให้บริการที่ตอบสนองความต้องการผู้ใช้มากขึ้น เช่น การจ่ายเงินเดือน การใช้จ่ายด้านความบันเทิง หรือการบริจาคต่างๆ
อาลีเพย์ ยกตัวอย่าง เคสการใช้งานอีวอลเล็ตในในภูมิภาคเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไม่ว่าจะเป็น 'ทรูมันนี่ ประเทศไทย', จีแคชในฟิลิปปินส์, ทัชแอนโก (Touch ’n Go) ในมาเลเซีย และ บีแคช (bKash) ในบังคลาเทศ ที่กลายป็นเครื่องมือสำคัญในช่วงวิกฤติโควิด-19
ความนิยมในฟิลิปปินส์และไทย
‘ฟิลิปปินส์’ เป็นประเทศที่ใช้เงินสดเป็นหลักในการชำระเงินต่างๆ แต่ในช่วงล็อคดาวน์ประเทศนั้นการใช้เงินสดลดลงอย่างเห็นได้ชัด ผู้คนหันมาใช้บริการออนไลน์และโมบายวอลเล็ตมากขึ้น เพื่อความสะดวกและปลอดภัย จีแคช ซึ่งเป็นผู้ให้บริการโมบายวอลเล็ตชั้นนำในฟิลิปปินส์ มียอดดาวน์โหลดเพิ่มมากขึ้นและเป็นแอพฟรีที่ถูกดาวน์โหลดมากที่สุดในหมวดการเงินของกูเกิล เพลย์ สโตร์ 
ทั้งนี้ เดือนมีนาคมบริการที่ใช้งานมากที่สุดใน จีแคช วอลเล็ต คือ การซื้อขาย และการโอนเงิน ซึ่งปริมาณการทำธุรกรรมทั้งหมดเพิ่มกว่า 30%

ขณะที่ ไทย เป็นประเทศแรกๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ใช้มาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม ตั้งแต่เดือนมีนาคม รัฐบาลได้ดำเนินมาตรการต่างๆ รวมถึงการเลื่อนวันหยุดสงกรานต์ แนะนำให้ผู้คน ‘อยู่บ้านหยุดเชื้อเพื่อชาติ’ รวมถึงจำกัดเวลาทำการของธุรกิจ และธุรกิจจำนวนมากต้องปิดทำการชั่วคราวยกเว้น ซูเปอร์มาร์เก็ต และร้านอาหารที่เปิดให้บริการเฉพาะสั่งซื้อกลับบ้าน
TrueMoney Wallet ทรูมันนี่ วอลเล็ท มีทุกอย่างครบในแอปเดียว ให้ชีวิตใช้จ่ายสบายได้ทุกวัน
เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรการภาครัฐ และลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ ทรูมันนี่ ได้ร่วมกับร้านค้าต่างๆ เช่น เซเว่น อีเลฟเว่น, แมคโคร, ซีพีเฟรชมาร์ท, ทรูคอฟฟี่, เชสเตอร์ และร้านค้าแผงลอยเพื่อส่งเสริมการใช้จ่ายแบบคอนเทคเลส พร้อมให้ความสำคัญกับสุขอนามัย ทรูมันนี่แนะนำฟีเจอร์ใหม่ “ช้อป เนียร์ มี" (Shop Near Me) ที่ช่วยให้ผู้บริโภคค้นหาร้านค้าบริเวณใกล้เคียง และสามารถสั่งซื้อแบบดิลิเวอรี่ได้ทันที และจาก เทรนด์การใช้จ่ายแบบคอนแทคเลสช่วงโควิด-19 ทรูมันนี่มียอดโหลดแอพ เพิ่มขึ้น 20% ในเดือนที่ผ่านมา

อีวอลเล็ตเครื่องมือสำคัญยุคโควิด-19
ขณะที่ การระบาดของโควิด-19 ยังแพร่กระจายอยู่ ‘บังคลาเทศ’ ได้บังคับใช้มาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมที่เข้มงวดขึ้น และมีการล็อกดาวน์ทั่วประเทศ ส่งผลให้คนงานที่ได้รับค่าจ้างรายวันตกงานเป็นจำนวนมาก นับเป็นหนึ่งในวิกฤตการณ์ระดับโลกที่เลวร้ายที่สุด บีแคช ผู้ให้บริการด้านการเงินผ่านมือถือที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ มีผู้ใช้งานกว่า 40 ล้านคน ได้ทำงานใกล้ชิดกับรัฐบาล อำนวยความสะดวกด้านการกระจายเงินเดือน และสวัสดิการภาครัฐให้คนงานในประเทศ เนื่องจากคนงานส่วนใหญ่ไม่มีบัญชีธนาคาร บีแคช จึงเป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยรวบรวมเงินเดือนของคนงานเหล่านั้นผ่านโมบายวอลเล็ต 
เชตู คนงานตัดเย็บเสื้อผ้า อายุ 28 ปี อาศัยอยู่ในพื้นที่ห่างไกลทางตะวันออกเฉียงเหนือของบังคลาเทศเล่าว่า เธอเคยได้รับเงินเดือนตามวันที่โรงงานกำหนดทุกเดือน แต่เมื่อเกิดการระบาดของโควิด-19 ในบังคลาเทศ โรงงานถูกปิด คนงานไม่ได้รับค่าจ้างในเดือนที่ผ่านมาเนื่องจากไม่มีบัญชีธนาคาร รัฐบาลเริ่มให้เงินช่วยเหลือผ่าน บีแคช ทำให้เชตูได้รับเงินเดือน และผ่านพ้นปัญหาทางการเงินของครอบครัว
ในมาเลเซีย ทัชแอนโก อีวอลเล็ต เป็นอีวอลเล็ตที่ได้รับความนิยม เป็นช่องทางในการบริจาคไปยังมูลนิธิต่างๆ ปัจจุบัน ทัชแอนโก อีวอลเล็ต ได้มอบเงินบริจาคมูลค่ากว่า 280,000 ริงกิต หรือประมาณ 2 ล้านบาทให้กับมูลนิธิต่างๆกว่า 22 แห่งในมาเลเซีย
อย่างไรก็ตาม ในมาเลเซีย ไทย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ผู้ใช้อีวอลเล็ตของประเทศเหล่านี้ ได้รวบรวมเงินบริจาคผ่านอีวอลเล็ตมากกว่า 600,000 ดอลลาร์ หรือกว่า 2 ล้านบาทจากการบริจาคแบบคอนแทคเลส โดยเงินที่ได้รับจากการบริจาคนี้ได้ช่วยให้ผู้คนมีสิ่งของจำเป็นที่ต้องใช้ช่วงโควิด-19 ไม่ว่าจะเป็นอาหาร หน้ากากอนามัย และอุปกรณ์ป้องกันต่างๆ ขณะที่ในอินเดียและอินโดนีเซียผู้คนเกือบ 50 ล้านคนใช้อีวอลเล็ตในการเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคระบาดได้ทันที
ที่มา กรุงเทพธุรกิจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad