เปิด 4 เหตุผล.. ทำไมถึงมั่นใจ “เศรษฐกิจจีน” ยังเติบโตได้ ในโลกหลัง COVID-19 - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

เปิด 4 เหตุผล.. ทำไมถึงมั่นใจ “เศรษฐกิจจีน” ยังเติบโตได้ ในโลกหลัง COVID-19


(Photo by Kevin Frayer/Getty Images)
ท่ามกลางมรสุมโรคระบาดจากเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ซึ่งถาโถมพัดถล่ม “จีน” เช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ทั่วโลก บรรดาผู้มองโลกแง่ร้ายจากฟากฝั่งตะวันตกกลับรุดเร่งออกมาพร่ำพรรณนาภาพความเลวร้ายของ “เศรษฐกิจจีน”
สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า เมื่อสัปดาห์ก่อน NBC News สถานีโทรทัศน์สัญชาติอเมริกัน รายงานว่าการหดตัวของเศรษฐกิจจีนในไตรมาสแรก (ม.ค.-มี.ค.) ของปีนี้ได้สั่นสะเทือน “สถานะศูนย์กลางเศรษฐกิจ” ของจีน ขณะที่ไอริส ผาง (Iris Pang) หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ประจำจีนแผ่นดินใหญ่ของ ING สถาบันการเงินระดับโลก ระบุในรายงานเมื่อเดือนมีนาคมว่าเศรษฐกิจจีนจะยังคงเผชิญ “ฝันร้าย” ต่อไป
อย่างไรก็ดี ผู้มองโลกแง่ร้ายเหล่านี้หลงลืมว่ามรสุมลูกนี้จะพัดผ่านพ้นไปในท้ายที่สุด และจีนที่ครองฐานะ “มหาอำนาจทางเศรษฐกิจอันดับ 2 ของโลก” มีความยืดหยุ่นเพียงพอจะฟันฝ่าวิกฤตนี้ในระยะยาว
ด้วยเหตุนี้โลกหลังหายนะโรคระบาดจึงสามารถมั่นใจในเศรษฐกิจจีนได้ โดยมีเหตุผลหลัก 4 ประการ ดังนี้
ประการที่ 1 การเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาวของจีนยังมั่นคง และมีเสถียรภาพ
ปัจจุบันจีนกำลังฟื้นฟูเศรษฐกิจ และการผลิตภายในประเทศอย่างเป็นระเบียบ โดยผลผลิตอุตสาหกรรม (มูลค่าเพิ่ม) ซึ่งถือเป็นตัวบ่งชี้ภาวะเศรษฐกิจที่มีความสำคัญ กลับมาเติบโตในเดือนเมษายนด้วยกิจกรรมการผลิตของโรงงานที่กลับมาเป็นปกติอย่างค่อยเป็นค่อยไป บ่งชี้พัฒนาการโดยรวมของเศรษฐกิจมหภาค
(Photo by Lintao Zhang/Getty Images)
นอกจากนั้นข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) ระบุว่าดัชนีชี้วัดภาคบริการ และยอดค้าปลีกของสินค้าอุปโภคบริโภคในเดือนเมษายนลดลง 4.5% และ 7.5% ตามลำดับ ซึ่งน้อยกว่าเดือนมีนาคมที่ลดลงถึง 9.1% และ 15.8% ตามลำดับ
ประการที่ 2 จีนเก่งกาจในการแสวงหาโอกาสและบ่มเพาะแหล่งการเติบโตอันสดใหม่ในห้วงยามแห่งวิกฤตการณ์
ตัวอย่างเช่น วิกฤตการเงินเอเชีย ปี 1997 (วิกฤตต้มยำกุ้ง พ.ศ. 2540) และวิกฤตการเงินโลก ปี 2008
ช่วงสองเดือนแรกของปีนี้ที่จีนคลุกฝุ่นตะลุมบอนอยู่กับไวรัสร้าย ภาคบริการอินเทอร์เน็ต และธุรกิจที่เกี่ยวข้องในประเทศกลับมีรายได้รวม 1.84 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 5.89 แสนล้านบาท) เพิ่มขึ้น 4.5% เมื่อเทียบปีต่อปี โดยปัจจัยหลักมาจากความต้องการทำงาน ประชุมทางไกล และการศึกษาเล่าเรียนผ่านระบบออนไลน์
Photo : Shutterstock
ขณะเดียวกันเศรษฐกิจดิจิทัล และอีคอมเมิร์ซก็โอบรับกระแสคลื่นแห่งความต้องการลูกใหม่นี้อย่างแข็งขัน โดยการขายของผ่านเทคโนโลยี Livestreaming หรือไลฟ์สด ซึ่งช่วยให้ผู้บริโภคจับจ่ายซื้อสินค้าทุกประเภทได้จากที่บ้าน กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ประการที่ 3 จีนครองบทบาทที่มิอาจมีใครแทนที่ในห่วงโซ่อุปทานโลก
การที่ประชาคมระหว่างประเทศต่างพิจารณาทบทวนจุดบกพร่องของห่วงโซ่อุปทานโลกปัจจุบันที่ปรากฏออกมาในวิกฤตสาธารณสุขครั้งนี้ และพยายามเพิ่มหนทางป้องกันเศรษฐกิจโลกจากนานาความเสี่ยง ถือเป็นเรื่องธรรมดาสามัญที่เข้าใจได้ แต่การที่พวกฝักใฝ่แต่แพ้หรือชนะในวอชิงตันประโคมทฤษฎีแยกตัว (decoupling) ซึ่งแสวงหาการย้ายฐานการผลิตกลับประเทศ และการแยกตัวจากจีนอย่างเด็ดขาดนั้น ถือเป็นเรื่องที่ไร้ความรับผิดชอบ และไม่มีทางเป็นไปได้
หนึ่งเหตุผลหลักที่จีนจะยังคงเป็นส่วนสำคัญของห่วงโซ่อุปทานโลกคือ จีนเป็นประเทศเดียวในโลกที่มีอุตสาหกรรมครบทุกประเภทตามการแบ่งแยกของสหประชาชาติ (UN) และภาคการผลิตของจีนก็ครองสัดส่วนเกือบ 30% ของภาคการผลิตทั้งหมดในโลก นอกจากนั้นจีนยังเป็นตลาดผู้บริโภคขนาดใหญ่ที่สุดในโลกด้วยจำนวนผู้มีรายได้ปานกลางกว่า 400 ล้านคน ซึ่งมุ่งเปิดกว้าง และกระจายโอกาสการแข่งขันในตลาดภายในประเทศแก่ทั้งธุรกิจจีน และต่างชาติ
ผลสำรวจเมื่อเดือนมีนาคมโดยหอการค้าอเมริกัน (AmCham China) ในกรุงปักกิ่ง พบว่าบรรดาธุรกิจสหรัฐฯ ยังคงมั่นใจ และคาดหวังจากผู้บริโภคชาวจีน แม้พานพบผลกระทบหนักหน่วงจากโรคระบาด โดยปริมาณการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศบนจีนแผ่นดินใหญ่ฟื้นตัวในเดือนเมษายน เพิ่มขึ้น 11.8% เมื่อเทียบปีต่อปี
ประการที่ 4 จีนดำเนินนโยบายที่กว้างขวางครอบคลุมจนเพียงพอจะรองรับผลกระทบของวิกฤตครั้งนี้
มาร์ติน เรสเซอร์ (Martin Raiser) ผู้อำนวยการธนาคารโลกประจำจีน กล่าวว่ารัฐบาลจีนได้เสริมสภาพคล่องแก่ตลาดและการสนับสนุนแบบพุ่งเป้าแก่ผู้ประกอบการขนาดกลาง-ขนาดย่อม (SME) และบริษัทต่างๆ ซึ่งดำเนินการอยู่ในห่วงโซ่อุปทานที่ได้รับผลกระทบ เพื่อค้ำจุนให้ธุรกิจห้างร้านเดินหน้าต่อไปได้ ขณะเดียวกันจีนมีโอกาสขยับขยายและปรับปรุงระบบคุ้มครองทางสังคมให้ทันสมัยยิ่งขึ้น และเพิ่มพูนการลงทุนแบบพุ่งเป้าในโครงสร้างพื้นฐานแบบใหม่
กรมการเมืองแห่งคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน (CPC) ได้ตัดสินใจ ณ การประชุมว่าด้วยร่างรายงานการปฏิบัติงานของรัฐบาลจีน เมื่อวันที่ 22 พ.ค. ว่าจีนควรเพิ่มการดำเนินนโยบายการคลังเชิงรุกในทิศทางบวก นโยบายการเงินที่มีความยืดหยุ่นและเหมาะสม และนโยบายเน้นการจ้างงานที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้น

HONG KONG, CHINA – 2020/01/22: Pedestrians cover their faces with sanitary masks after the first cases of coronavirus have been confirmed in Hong Kong. Hours earlier, China officially announced the Wuhan’s virus outbreak can be transmitted human-to-human. (Photo by Miguel Candela/SOPA Images/LightRocket via Getty Images)

ด้านกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดการณ์เมื่อกลางเดือนเมษายนว่าเศรษฐกิจจีนจะเติบโต 1.2% ในปีนี้ แม้มีการหดตัวในไตรมาสแรกก็ตาม ก่อนจะกระโดดกลับมาเติบโตถึง 9.2% ในปี 2021 กลายเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจของโลก ซึ่งการคาดการณ์เหล่านี้ส่งสัญญาณความมั่นใจของโลกต่อเศรษฐกิจจีนที่มีความยืดหยุ่นในโลกยุคหลังโรคระบาดใหญ่
ขณะที่อดัม โพเซน (Adam Posen) ประธานสถาบันเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศปีเตอร์สัน (PIIE) ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ของสหรัฐฯ กล่าวกับสำนักข่าวซินหัวว่า “สถานะทางเศรษฐกิจของจีนจะผงาดง้ำค้ำโลก” หลังการระบาดของโรค COVID-19
ที่มา Positioning

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad