“หัวเว่ย” จับมือ “ซันไลน์” พลิกโฉมธนาคาร Bank Yudha Bhakti ด้วยเทคโนโลยีทางการเงิน - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันจันทร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2563

“หัวเว่ย” จับมือ “ซันไลน์” พลิกโฉมธนาคาร Bank Yudha Bhakti ด้วยเทคโนโลยีทางการเงิน


ให้บริการฟินเทคครบวงจร ช่วยธนาคารพลิกโฉมบริการอินเทอร์เน็ต
เมื่อเร็ว ๆ นี้ หัวเว่ย (Huawei) และ ซันไลน์ (Sunline) ได้เซ็นสัญญาในโครงการ Internet Banking Core System ของธนาคาร Bank Yudha Bhakti (BYB) ในอินโดนีเซีย เพื่อนำเสนอโซลูชันเทคโนโลยีทางการเงินแบบบูรณาการให้แก่ลูกค้า โดยหัวเว่ยและซันไลน์จะช่วยเหลือสถาบันการเงินจีนที่กำลังขยายธุรกิจสู่สากลด้วยโมเดล ธุรกิจ และเทคโนโลยีทางการเงินชั้นนำของจีน ในการเร่งพลิกโฉมธุรกิจสู่ระบบดิจิทัล ยกระดับการเปิดกว้างและศักยภาพของนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ และเร่งวางรากฐานในตลาดต่าง ๆ นอกประเทศจีน
ธนาคาร BYB ถูกซื้อกิจการโดย Akulaku บริษัทเทคโนโลยีทางการเงินรายใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีผู้ใช้กว่า 7 ล้านรายในอินโดนีเซีย หนึ่งในกลยุทธ์สำคัญของ Akulaku ในปีนี้คือการพลิกโฉมธนาคารสู่ระบบดิจิทัลและปรับปรุงบริการของธนาคาร เช่น การฝากเงิน การปล่อยสินเชื่อ การทำธุรกรรมกับผู้ใช้ และบริการต่าง ๆ ในระบบนิเวศของ Akulaku ด้วยบริการทางการเงินแบบวงปิด ธนาคาร BYB ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านบริการอินเทอร์เน็ตมากมาย ส่งผลให้สถาปัตยกรรม การทำงาน และดีไซน์เดิมของระบบธนาคารไม่สามารถรองรับการทำธุรกรรมที่มีข้อมูลมหาศาลและมีความถี่สูงในยุคอินเทอร์เน็ตได้อีกต่อไป ธนาคาร BYB จึงจำเป็นต้องนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้แทนระบบเดิมเพื่อเริ่มการพลิกโฉมธุรกิจสู่ระบบดิจิทัล หลังจากพิจารณาแง่มุมต่าง ๆ เช่น ความสามารถในการแข่งขันในอุตสาหกรรรม ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ประสบการณ์การทำงาน และความเชี่ยวชาญในท้องถิ่น ในที่สุด ธนาคาร BYB ก็ตัดสินใจเลือกหัวเว่ยและซันไลน์เป็นพาร์ทเนอร์ในโครงการนี้
หัวเว่ยร่วมมือกับซันไลน์ส่งมอบโซลูชันร่วมให้แก่ BYB โดยโซลูชันนี้ผสมผสานผลิตภัณฑ์ดิจิทัลแบงกิ้งของซันไลน์กับผลิตภัณฑ์ของหัวเว่ย เช่น FusionCube และ OceanStor all-flash storage ช่วยให้สามารถวางระบบและโครงสร้างพื้นฐานที่ครอบคลุม ซึ่งไม่เพียงช่วยแก้ปัญหาทางเทคนิคเท่านั้น แต่ยังสนับสนุนการพัฒนาระบบดิจิทัลของ BYB และรับประกันว่าธนาคารจะพัฒนาได้อย่างรวดเร็วในอนาคต
สถาบันการเงินจีนจำนวนมากที่ขยายธุรกิจสู่สากลมีโมเดลธุรกิจลักษณะเดียวกับ BYB และเทรนด์ใหม่ของสถาบันการเงินจีนในระยะหลังคือการแสวงหาโอกาสใหม่ ๆ นอกประเทศ อย่างไรก็ตาม โอกาสและความท้าทายมักมาคู่กัน สถาบันการเงินต้องเผชิญกับความท้าทายมากมายเมื่อขยายธุรกิจสู่สากล และเป็นเรื่องยากที่ระบบเดิมจะเข้ากับทุกประเทศ ขณะที่ซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์เดิมก็ไม่เพียงพอที่จะรองรับการพัฒนา และห่วงโซ่อุตสาหกรรมก็ยากที่จะมีความยั่งยืน
สถาบันการเงินจีนขยายธุรกิจสู่สากลเพื่อการพัฒนาที่ดีกว่าเดิม
กลายเป็นเรื่องปกติที่สถาบันการเงินจะขยายธุรกิจสู่สากลโดยอาศัยเทคโนโลยีใหม่ ธุรกิจรูปแบบใหม่ และคอนเซปต์เทคโนโลยีทางการเงินใหม่ เพื่อเริ่มพลิกโฉมธุรกิจสู่ระบบดิจิทัล
เพื่อจัดการกับความท้าทายที่สถาบันการเงินจีนต้องเผชิญเมื่อขยายธุรกิจสู่สากล หัวเว่ยและซันไลน์ได้ร่วมกันพัฒนาโซลูชันแบบบูรณาการ ซึ่งประกอบด้วยระบบฮาร์ดแวร์ประสิทธิภาพสูงของหัวเว่ย และโซลูชันด้านระบบไอทีธนาคาร ซึ่งมีความยืดหยุ่นสูง มีความสอดคล้องของข้อมูลสูง มีการดำเนินงานและการบำรุงรักษาอัตโนมัติ และมีการควบคุมความเสี่ยง โซลูชันนี้ให้บริการทางการเงินครบวงจรแก่สถาบันการเงินจีนที่ขยายธุรกิจสู่สากล โดยช่วยให้พลิกโฉมธุรกิจสู่ระบบดิจิทัลได้อย่างรวดเร็ว
ซันไลน์คือผู้จัดหาโซลูชันเทคโนโลยีทางการเงินชั้นนำระดับโลก ด้วยประสบการณ์อันยาวนานและลึกซึ้งในอุตสาหกรรมการเงิน ซันไลน์ได้จัดหาโซลูชันไอทีให้แก่สถาบันการเงินกว่า 700 แห่งทั่วโลก และเมื่อ 4 ปีที่แล้ว ซันไลน์เริ่มหยั่งรากธุรกิจทั่วโลก โดยจัดตั้งศูนย์บริการในสิงคโปร์ มาเลเซีย ไทย และอินโดนีเซีย และด้วยความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในความต้องการของแต่ละประเทศ บริษัทจึงมีข้อได้เปรียบในการดำเนินโครงการไอทีทางการเงินในท้องถิ่น
หัวเว่ยช่วยให้สถาบันการเงินต่าง ๆ บรรลุผลสำเร็จในการพลิกโฉมธุรกิจสู่ระบบดิจิทัล ทั้งในส่วนของบริการทางการเงินที่ทั่วถึง นวัตกรรมบริการที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล และการธนาคารแบบเปิดกว้าง โดยมีการเชื่อมโยงการให้บริการร่วมกับพาร์ทเนอร์ทั่วโลก ปัจจุบัน หัวเว่ยให้บริการลูกค้าการเงินกว่า 1,600 รายทั่วโลก ซึ่งรวมถึงธนาคารชั้นนำระดับโลก 45 แห่ง จากทั้งหมด 100 แห่ง
ซันไลน์จะเดินหน้ากระชับความร่วมมือกับหัวเว่ยในการส่งเสริมนวัตกรรมอุตสาหกรรมและสร้างระบบนิเวศดิจิทัล เพื่อช่วยให้สถาบันการเงินทั่วโลกเข้าถึงเทคโนโลยีทางการเงินชั้นนำของจีน และช่วยให้อุตสาหกรรมการเงินทั่วโลกพลิกโฉมสู่ระบบดิจิทัลได้อย่างรวดเร็ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad