วสท. เผยข้อสันนิษฐานหอพักทรุดในสมุทรสาคร และตรวจทาวน์เฮ้าส์ทรุดในสมุทรปราการ - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2563

วสท. เผยข้อสันนิษฐานหอพักทรุดในสมุทรสาคร และตรวจทาวน์เฮ้าส์ทรุดในสมุทรปราการ

วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) โดย ดร.ธเนศ วีระศิริ นายก วสท.และทีมวิศวกรผู้เชี่ยวชาญลงพื้นที่ตรวจวิเคราะห์ทางวิศวกรรมจากกรณีเกิดเหตุไม่คาดฝันอาคารวิบัติในพื้นที่ 2 แห่ง คือ อาคารหอพัก 3 ชั้น เมืองสมุทรสาครทรุดตัว และยังเดินทางตรวจทาวน์เฮ้าส์ทรุด 5 หลังรวด ย่านบางเสาธง จ.สมุทรปราการ เพื่อช่วยเหลือหน่วยงานภาครัฐและประชาชน พร้อมแนวทางป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบต่ออาคารข้างเคียงหรือผู้สัญจรผ่าน
เผยปมหอพัก ชั้น เมืองสมุทรสาคร ทรุดตัว




ช่วงค่ำวันที่ 19 ส.ค. 2563 เกิดเหตุอาคารหอพัก ชั้นในในซอยเสรีแฟคเตอรี่ หมู่  ต.พันท้ายนรสิงห์ อ.เมืองสมุทรสาคร ทรุดตัว โดยเป็นอาคารปูน ชั้น มีห้องพักชั้นละ 10 ห้อง รวมทั้งหมด 30 ห้อง โดยมีผู้เช่าเข้าพักอาศัย 29 ห้อง รวมกว่า 6คน ขณะเกิดเหตุเป็นเวลาเลิกงานจึงมีคนอยู่ในหอพักจำนวนมาก เมื่อเกิดเหตุการณ์ตึกทรุดตัวลงต่างวิ่งหนีออกมาจากห้องพัก
ดร.ธเนศ วีระศิริ นายก วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) กล่าวว่า จากการลงพื้นที่ตรวจสอบอาคารหอพัก 3 ชั้นนี้ เป็นอาคารที่ก่อสร้างมาแล้ว 5 ปี ได้รับอนุญาตการก่อสร้างอย่างถูกต้อง สภาพอาคารมีการทรุดลักษณะเอียงไปทางหนองน้ำด้านหลัง ฐานของอาคารปริแยกออกจากพื้น บริเวณชั้นแรกและเสาด้านหน้าเสียหายทั้งหมด
 โดย วสท. ได้นำกล้องสแกนตรวจวัดค่าความทรุดตัวของอาคารอย่างละเอียด ใช้เวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง หากไม่มีการทรุดตัวเพิ่มก็สามารถเข้าไปนำทรัพย์สินออกมาได้ ซึ่งพบว่าอาคารหอพักมีอัตราการทรุดตัวอยู่ที่ 0.01 มิลลิเมตรต่อชั่วโมง โดยฐานรากของอาคารหอพักบางส่วนได้หลุดจากหัวเสาเข็ม ทำให้น้ำหนักอาคารถูกถ่ายเทลงพื้นดินโดยตรง จึงได้ร่วมกับกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัย (ปภ.) กำหนดมาตรการขั้นตอนการเคลื่อนย้ายสิ่งของออกจากตัวอาคาร
ด้านข้อสันนิษฐานความเป็นไปได้ วสท.คาดว่าสาเหตุการทรุดเอียงของอาคาร น่าจะมาจากเสาเข็มมีพฤติกรรมเป็น Friction Pile หรือ เสาเข็มเสียดทานที่รับน้ําหนักบรรทุกโดยแรงเสียดทานจากดินรอบเสาเข็มเป็นส่วนใหญ  เสาเข็มต้นที่รับน้ำหนักมากจะทรุดตัวมากกว่าเสาเข็มที่รับน้ำหนักน้อยอย่างชัดเจนและทรุดตัวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาคารหลังใดก็ตามที่วางบนเสาเข็มชนิดที่เป็น Friction Pile ควรคำนึงถึงตำแหน่งจุดศูนย์กลางน้ำหนักของอาคาร (Center of Load) ว่าอยู่บริเวณช่วงกลางอาคารหรือไม่ หากไม่อยู่ช่วงกลางของอาคาร การทรุดตัวจะเกิดกับฐานรากที่อยู่ใกล้ตำแหน่ง Center of load มากกว่าฐานรากที่อยู่ห่างออกไป สันนิษฐานว่าอาคารนี้อาจมีน้ำหนักที่กดลงเสาเข็มแนวด้านหลังอาคาร มากกว่าน้ำหนักที่กดลงเสาเข็มแนวด้านหน้าของอาคาร ทำให้เสาเข็มด้านหลังทั้งแนวทรุดตัวมากกว่าด้านหน้า และเป็นการทรุดตัวอย่างต่อเนื่องโดยตลอด นอกจากนี้อาคารมีช่วงเสาเข็มช่วงเดียว ทำให้อาคารทรุดเอียงโดยไม่มีการดึงรั้ง ซึ่งอาคารทรุดเอียงมักจะไม่มีรอยแตกร้าวให้เห็น ดังนั้นผู้พักอาศัยจะไม่เห็นความผิดปกติโดยง่าย เมื่ออาคารทรุดไปจนถึงจุดหนึ่งที่ฐานรากตัวใดตัวหนึ่งหรือหลายตัวหลุดจากหัวเสาเข็ม จะทำให้เกิดการทรุดเอียงอย่างทันทีทันใดดังที่ปรากฏ
ส่วนสาเหตุจากดินเลื่อนไหลและสภาพดินอ่อนเพราะอาคารอยู่ใกล้ริมน้ำนั้น น่าจะเป็นปัจจัยรองลงมาเมื่อเทียบกับการที่น้ำหนักกดลงฐานรากแตกต่างกัน เนื่องจากสภาพดินริมบึงมีการขยับตัวน้อยมาก โดยเฉพาะแนวท่อระบายน้ำของอาคารที่อยู่ด้านหลังอาคารที่ไม่มีการเสียรูปที่ชัดเจน ทั้งนี้ การวิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริงจะต้องมีการเก็บข้อมูลอย่างรอบด้าน อาทิ รายละเอียดสภาพอาคาร การทำ Crack Mapping การสำรวจลักษณะการเอียงตัว การคำนวณหาน้ำหนักลงฐานราก รวมถึงการเจาะสำรวจดิน และสำรวจเสาเข็ม
รุดตรวจทาวน์เฮ้าส์ทรุด หลังรวด สมุทรปราการ
ภัยพิบัติอีกแห่งหนึ่งย่านสมุทรปราการ วสท.ลงพื้นที่ในช่วงเย็นวันเดียวกันดร.ธเนศ วีระศิริ นายก วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.)กล่าวว่า จากการลงพื้นที่หมู่บ้านแห่งหนึ่ง ถนนเทพารักษ์ ก.ม. 25 ม.17 ต.บางเสาธงจ.สมุทรปราการ พบว่าเป็นบ้านทาวน์เฮาส์ ชั้น ปลูกติดกันเป็นล็อก ล็อกละ 19 หลัง ก่อสร้างมานานกว่า 20 ปี ตัวโครงสร้างภายในบ้าน คาน ผนัง แตกร้าวและทรุดอย่างหนักจำนวน 5 หลังรวด จนประชาชนผู้อยู่อาศัยไม่สามารถเข้าไปขนของและอยู่อาศัยภายในบ้านพักได้


ส่วนการวิเคราะห์ถึงสาเหตุของการทรุดจำเป็นต้องดูข้อมูลประกอบหลายๆ ด้าน เช่น แบบแปลนการก่อสร้างอาคารมีลักษณะอย่างไร แต่จากการตรวจสอบเบื้องต้น ลักษณะการทรุดแบบนี้ไม่แนะนำให้ประชาชนเข้าไปในอาคารอย่างเด็ดขาด จะต้องมีการตรวจสอบโครงสร้างด้นล่างของอาคารให้แน่นอนก่อน ว่าโครงสร้างทางวิศวกรรมส่วนใหญ่ยังแข็งแรงดีพอหรือไม่ หากยังใช้ได้ก็สามารถเสริมกำลัและซ่อมแซมได้ แต่ก็ควรที่จะพิจารณาว่าจะคุ้มกับค่าซ่อมหรือไม่ สำหรับอาคารข้างเคียงที่ต่อเนื่องกันในลักษณะดังกล่าวนั้นมีการดึงกันอยู่ ปกติจะซ่อมได้ เพราะแต่ละหลังจะรั้งกันอยู่
ทั้งนี้ อบต.ที่รับผิดชอบในพื้นที่ ได้เข้าไปดูแลความเป็นอยู่ของผู้ที่ได้รับผลกระทบ จนไม่สามารถพักอาศัยได้ ด้วยการจัดหาเช่าบ้านพักในซอยดังกล่าวให้เข้าพักเป็นการชั่วคราว และประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าช่วยเหลือ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad