สสว. และ วิทยาลัยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ มศว ประกาศความสำเร็จ โครงการ BORN STRONG 2563 พัฒนาเอสเอ็มอี กลุ่มจิวเวลรี่ กระตุ้นเศรษฐกิจไทย - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2563

สสว. และ วิทยาลัยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ มศว ประกาศความสำเร็จ โครงการ BORN STRONG 2563 พัฒนาเอสเอ็มอี กลุ่มจิวเวลรี่ กระตุ้นเศรษฐกิจไทย



สสว. และ วิทยาลัยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ มศว ประกาศความสำเร็จ
โครงการ BORN STRONG 2563 พัฒนาเอสเอ็มอี กลุ่มจิวเวลรี่ กระตุ้นเศรษฐกิจไทย

          สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) และ วิทยาลัยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (College of Creative Industry)มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ แถลงข่าวความสำเร็จโครงการพันธมิตรสร้างแบรนด์และธุรกิจเพื่อความยั่งยืนในการแข่งขัน BORN STRONG 2563 กลุ่มเครื่องประดับและจิวเวลรี่ เพื่อช่วยยกระดับผู้ประกอบการและพัฒนาธุรกิจ SMEsสัญชาติไทยให้ก้าวสู่ตลาดส่งออกระดับนานาชาติ รวมถึงเป็นสื่อกลางในการขับเคลื่อนธุรกิจ SMEsไทย พร้อมกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 อย่างเป็นรูปธรรม


          ดร.ปณิตา ชินวัตร ที่ปรึกษา สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เผยว่า “สสว. ได้ให้การสนับสนุนด้านกลยุทธ์และงบประมาณในการดำเนินโครงการพันธมิตรสร้างแบรนด์และธุรกิจเพื่อความยั่งยืนในการแข่งขัน BORN STRONG2563 เพื่อร่วมผลักดันผู้ประกอบการจิวเวลรี่ไทยให้พัฒนาขีดความสามารถแบบรอบด้าน ทั้งการดีไซน์ การสร้างแบรนด์ และการผลิต โดยเป็นสื่อกลางในการจับมือกับภาคการผลิต เพื่อยกระดับแบรนด์จิวเวลรี่ของประเทศไทยให้มีคุณภาพทัดเทียมกับนานาชาติ ให้สมกับที่ประเทศไทยเป็นที่รู้จักดีในเรื่องการผลิตและส่งออกจิวเวลรี่ในตลาดโลก ซึ่งการช่วยพัฒนาธุรกิจ SMEs ในกลุ่มเครื่องประดับและอัญมณี ได้เข้ามามีบทบาทและช่วยกระตุ้นการเดินหน้าสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 โดยมีวิทยาลัยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เป็นหน่วยร่วม”

            “โดยในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ที่ผ่านมา สสว.ได้เร่งพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการ SMEsกลุ่มเครื่องประดับและจิวเวลรี่ โดยปรับเพิ่มทิศทางการพัฒนาศักยภาพ และผลิตภัณฑ์ให้ตอบโจทย์วิถี new normal ที่ใส่ใจเรื่องการปกป้องและดูแลสุขภาพ พร้อมนำองค์ความรู้ นวัตกรรมและเทคโนโลยีมาสนับสนุนแผนธุรกิจ โดยให้คำปรึกษาทั้งในด้านการบริหารจัดการ การพัฒนาสินค้า การเขียนแผนธุรกิจ การวางแผนการตลาด และการผลักดันผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดเชิงพาณิชย์ รวมถึงสร้างการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบการทำธุรกิจแบบเดิม เพื่อรองรับการปรับตัวในตลาดอีคอมเมิร์ซ (E-Commerce) ซึ่งได้ผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจ เนื่องจากโครงการพันธมิตรสร้างแบรนด์และธุรกิจเพื่อความยั่งยืนในการแข่งขัน BORN STRONG 2563 ช่วยให้กลุ่มธุรกิจ OEM หันมาร่วมมือกับผู้ประกอบการรายย่อยในการสร้างสรรค์และพัฒนาผลิตภัณฑ์ พร้อมผนึกกำลังในการผลักดันอุตสาหกรรมเครื่องประดับไทยร่วมกัน และต่อยอดสู่การทำการตลาดแบบออนไลน์อย่างเต็มรูปแบบ นอกจากนี้ยังมีการสร้าง   แบรนด์จากแนวคิดของOEM ที่มีความเข้มแข็งและมีประสบการณ์สูงเกิดขึ้นในโครงการฯ คือ แบรนด์ USafeVSave โดยศูนย์อุตสาหกรรมสร้างสรรค์แห่งประเทศไทย (KiThai)มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งใน KiThai Shop อย่างมีประสิทธิภาพ และถือเป็นการเปลี่ยนแปลงสู่ยุคใหม่ของวงการเครื่องประดับไทยในการร่วมกันพัฒนาผลิตภัณฑ์สู่ระบบอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ดร.ปณิตา กล่าวเพิ่มเติม





             ทั้งนี้โครงการฯ ทำการคัดเลือกผู้ประกอบการจากความเป็นไปได้ในเชิงการตลาด การผลิต และการสร้างแบรนด์ โดยแต่ละแบรนด์มีจุดเด่นหรืออัตลักษณ์ที่แตกต่างกัน ทั้งด้านดีไซน์ กลุ่มลูกค้า และมีความหลากหลายในวัสดุขึ้นรูป ทั้งเครื่องเงิน ทอง ทองเหลือง และทองแดงเป็นต้น โดยมีผู้ประกอบการที่ผ่านการคัดเลือกเพื่อเข้าร่วมโครงการฯ ทั้งสิ้น 10แบรนด์ และสามารถวัดผลความสำเร็จของโครงการได้ในหลายมิติ ได้แก่

1. การสร้างแบรนด์ ผ่านการเพิ่มมูลค่าของแบรนด์ โดยอาจเกิดจากมูลค่าทางทรัพย์สินทางปัญหา แนวคิด ดีไซน์ใหม่ของแบรนด์ รวมถึงการเป็นที่รู้จักในวงกว้าง การสร้างภาพลักษณ์ของแบรนด์ที่ให้เป็นที่รับรู้ การสร้างความเข้มแข็งของแบรนด์จากสินค้า หรือการสร้างสรรค์เพื่อสังคม
2. การสร้างเครือข่ายของอุตสาหกรรม การสร้างรูปแบบเชื่อมโยงกันของสังคมคนจิวเวลรี่ ทั้งคนสร้าง   แบรนด์และผู้ประกอบการภาคการผลิตให้เกิดความเข้มแข็ง กลมเกลียว และสนับสนุนกัน เพื่อร่วมกันผลักดันพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องประดับไทยให้เติบโต

รองศาสตราจารย์ ดร.สมชาย สันติวัฒนกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กล่าวว่า “ในฐานะที่ มศว เป็นมหาวิทยาลัยที่รับใช้สังคมมายาวนาน การที่เราจะพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องประดับขึ้นมานั้น มาจากความคิดที่ว่า ถ้าเราพัฒนาอุตสาหกรรม เราสามารถทำประโยชน์อะไรให้สังคมได้บ้าง รวมถึงมีการร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ในการช่วยพัฒนาผู้ประกอบการชาวไทยมาโดยตลอด

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ขจีพร วงศ์ปรีดี คณบดีวิทยาลัยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กล่าวว่า “สำหรับโครงการฯ ในครั้งนี้ มศว ให้การสนับสนุนทั้งการให้คำปรึกษาเรื่องความรู้ทางวิชาการ การออกแบบ มีการเชื่อมโยงองค์ความรู้กับอาจารย์ทั้งภายในมหาวิทยาลัยฯ และอาจารย์ประจำสาขาออกแบบในประเทศฝรั่งเศส มีการต่อยอดนวัตกรรมในรูปแบบต่างๆ ได้แก่ นวัตกรรมการทำผลิตภัณฑ์ วัสดุใหม่ หรือว่านวัตกรรมทางกระบวนการคิด เพื่อการสร้างภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งเหล่านี้จะช่วยกระตุ้นการคิด การออกไอเดียส์ของผู้ประกอบการได้ รวมถึงให้ความรู้ทางการผลิตที่เรามีความเชี่ยวชาญและเป็นที่รู้จักดีในอุตสาหกรรมนี้ ตลอดจนช่วยดูแลเรื่องการขาย โดยได้KiThai มาสนับสนุน และทำการจับมือกับพันธมิตรทั้งออฟไลน์และออนไลน์ เช่น ศูนย์การค้าสยามพารากอน หรือแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซชื่อดังอย่างShopee ในการเปิดช่องทางจำหน่ายให้กับผู้ประกอบการที่เข้าร่วม นอกจากนี้ยังทำการสนับสนุนทางด้านบุคลากรที่เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับผู้ประกอบการ โดยนิสิตนักศึกษาสามารถเข้าไปร่วมงานกับผู้ประกอบการ ผ่านการแนะนำและโค้ชชิ่งจากอาจารย์ โดยนิสิตจะสามารถฝึกงานและเรียนไปด้วยในช่วงการดำเนินการของโครงการ และมีการนำโมเดล Quadra Helix มาใช้ในการผลักดันอุตสาหกรรมเครื่องประดับไทยอีกทางหนึ่ง”




สำหรับกิจกรรมทางการตลาด สสว. ได้สนับสนุนและเพิ่มช่องทางการตลาด มีทั้งแพลตฟอร์มตลาดออนไลน์ และการจัดแสดงนิทรรศการและส่งเสริมการออกตลาดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ โดยจัดขึ้นภายใต้ชื่องาน “Sparkling Life: the New Value of Jewelry” เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายหลังสถานการณ์โควิด-19 ชวนช้อปเครื่องประดับและจิวเวลรี่ ฝีมือผู้ประกอบการ SMEs ชาวไทย ในระหว่างวันที่ 26 สิงหาคม -  1 กันยายน 2563 ณ ลานแฟชั่นแกลลอรี่ 2 ชั้น 1 ศูนย์การค้าสยามพารากอน ภายในงานพบกับกองทัพเครื่องประดับมากมายที่ให้คุณเปล่งประกายไปกับความคิดสร้างสรรค์ในอัญมณีไทยหลากหลายรูปแบบ เช่น ต่างหูเซรามิคต่างหูเทคนิครดน้ำกำไลข้อมือที่ผสานงานหนังและโลหะ และเครื่องประดับงานโลหะแบบสตรีทแฟชั่น ไปจนถึงเครื่องประดับเทคนิคยุโรปจาก 10 แบรนด์ที่ร่วมโครงการ BORN STRONG 2563  ได้แก่ แบรนด์ VASA (วาซ่า),  MAALAAYAA (มาลายา),  GAGO (กาโก), PONK SMITHI (พ้อง สมิทธิ), THANASUDA  (ธนสุดา),MARON (มาร็อง),  SEWN Handicraft Studio (ซน แฮนดิคราฟต์ สตูดิโอ), SUPARNO (สุภาโน่),TAERA (แทรา) และ UsafeVsave (ยู เซฟ วี เซฟ)  โดย KiThai ที่ออกแบบนวัตกรรมเครื่องประดับ เพื่อปรับฟังก์ชั่นให้สร้างสรรค์เข้ากับวิถีชีวิตรูปแบบใหม่อย่างลงตัว และคืนกำไรให้สังคมผ่านการนำรายได้ทั้งหมดจากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในโครงการฯ สมทบทุนในโครงการส่งเสริมโอกาสทางการศึกษาสำหรับนักเรียนที่ขาดแคลนโอกาสที่ดำเนินการโดยสมาคมนักเรียนเก่าสวิสส์ ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์  อีกทั้งยังมีการประมูลเครื่องประดับและจิวเวลรี่เพื่อการกุศลภายในงาน ผ่านเฟสบุกแฟนเพจwww.facebook.com/KiThaiOrg  โดย สสว. คาดว่า ผลจากการดำเนินโครงการในภาพรวม จะช่วยพัฒนาศักยภาพ สร้างโอกาส สร้างงาน สร้างรายได้ เพิ่มช่องทางการตลาดให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs ในการส่งออกไปยังระดับนานาชาติ ซึ่งมีตลาดใหญ่ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา, ยุโรป, ฮ่องกง และญี่ปุ่น เป็นต้น

นอกจากนี้ ผู้ที่สนใจยังสามารถเลือกซื้เครื่องประดับและจิวเวลรี่จากทั้ง 10 แบรนด์ที่ร่วมโครงการฯ ได้ที่ KiThai Official Store บน Shopee หรือwww.shopee.co.th/kithaishop

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad