PTT GC GCME จับมือพัฒนาเทคโนโลยี Microchannel Heat Exchanger ทดแทนการนำเข้า ประหยัด 40 ล้านบาท สร้างความแข็งแกร่งให้กลุ่มปตท. - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2563

PTT GC GCME จับมือพัฒนาเทคโนโลยี Microchannel Heat Exchanger ทดแทนการนำเข้า ประหยัด 40 ล้านบาท สร้างความแข็งแกร่งให้กลุ่มปตท.

นายวรวัฒน์ พิทยศิริ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่นวัตกรรมและดิจิทัล บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) นายวริทธิ์ นามวงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มปฏิบัติการเพื่อความเป็นเลิศ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC และ นายไพโรจน์ สมุทรธนานนท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท จีซี เมนเทนแนนซ์ แอนด์ เอนจิเนียริง จำกัด หรือ GCME ร่วมลงนามในพิธีลงนาม License Agreement ของโครงการ Microchannel Heat Exchanger ณ ห้องพลังไทย สำนักงานใหญ่ ปตท.

ความร่วมมือการพัฒนาเทคโนโลยี เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนด้วยช่องการไหลขนาดไมโคร สเกล (Microchannel Heat Exchanger Technology) นี้ อาศัยองค์ความรู้ด้าน Microchannel Technology ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการออกแบบให้เครื่องมือในกระบวนการผลิตมีขนาดเล็กลงกว่าเดิมได้ถึง 70 - 90% อีกทั้งช่วยเรื่องการลดอุณหภูมิของสารไฮโดรคาร์บอนในกระบวนการลงจากเดิม 5-20 องศาเซลเซียส ทำให้สารไฮโดรคาร์บอนกลั่นตัวเป็นของเหลวได้มากขึ้น ช่วยให้องค์กรสามารถประหยัดเงินได้ถึงปีละ 40 ล้านบาท จากการร่วมมือวิจัยนี้ ปตท. และ GC ยังได้ร่วมกันยื่นจดสิทธิบัตรการประดิษฐ์และการออกแบบผลิตภัณฑ์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ กว่า 40 ฉบับ โดย ปตท. และ GC ในฐานะเจ้าของเทคโนโลยี ได้อนุญาตให้ GCME ในฐานะผู้นำทางด้าน Maintenance and Engineering Solution Provider เป็นผู้ที่จะนำเทคโนโลยีดังกล่าวไปขยายผลในเชิงพาณิชย์ได้ รวมทั้งการวิจัยและพัฒนา โดยมุ่งทำการตลาดเข้าทดแทนเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนเทคโนโลยีเดิมในอุตสาหกรรม LNG, LPG, HVAC และจำพวกอุตสาหกรรมอาหาร
PTT GC GCME จับมือพัฒนาเทคโนโลยี Microchannel Heat Exchanger ทดแทนการนำเข้า ประหยัด 40 ล้านบาท สร้างความแข็งแกร่งให้กลุ่มปตท.
ความร่วมมือการพัฒนาเทคโนโลยี เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนด้วยช่องการไหลขนาดไมโคร สเกล (Microchannel Heat Exchanger Technology) นี้ อาศัยองค์ความรู้ด้าน Microchannel Technology ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการออกแบบให้เครื่องมือในกระบวนการผลิตมีขนาดเล็กลงกว่าเดิมได้ถึง 70 - 90% อีกทั้งช่วยเรื่องการลดอุณหภูมิของสารไฮโดรคาร์บอนในกระบวนการลงจากเดิม 5-20 องศาเซลเซียส ทำให้สารไฮโดรคาร์บอนกลั่นตัวเป็นของเหลวได้มากขึ้น ช่วยให้องค์กรสามารถประหยัดเงินได้ถึงปีละ 40 ล้านบาท จากการร่วมมือวิจัยนี้ ปตท. และ GC ยังได้ร่วมกันยื่นจดสิทธิบัตรการประดิษฐ์และการออกแบบผลิตภัณฑ์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ กว่า 40 ฉบับ โดย ปตท. และ GC ในฐานะเจ้าของเทคโนโลยี ได้อนุญาตให้ GCME ในฐานะผู้นำทางด้าน Maintenance and Engineering Solution Provider เป็นผู้ที่จะนำเทคโนโลยีดังกล่าวไปขยายผลในเชิงพาณิชย์ได้ รวมทั้งการวิจัยและพัฒนา โดยมุ่งทำการตลาดเข้าทดแทนเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนเทคโนโลยีเดิมในอุตสาหกรรม LNG, LPG, HVAC และจำพวกอุตสาหกรรมอาหาร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad