โครงการ Smart Business Transformation โดย ยูโอบี (ไทย) จุดประกาย วัชมนฟู้ด เปลี่ยนถ่ายสู่ธุรกิจดิจิทัลเต็มรูปแบบ - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันจันทร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2563

โครงการ Smart Business Transformation โดย ยูโอบี (ไทย) จุดประกาย วัชมนฟู้ด เปลี่ยนถ่ายสู่ธุรกิจดิจิทัลเต็มรูปแบบ

โครงการ Smart Business Transformation โดย ยูโอบี (ไทย) จุดประกาย วัชมนฟู้ด เปลี่ยนถ่ายสู่ธุรกิจดิจิทัลเต็มรูปแบบ

ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน) (ธนาคารยูโอบี (ไทย)) ขับเคลื่อนโครงการ Smart Business Transformation (SBTP) ในปีที่ 2 ด้วยเป้าหมายช่วยเหลือและสนับสนุนเอสเอ็มอีไทยอย่างน้อย 150 ราย ให้สามารถนำดิจิทัล โซลูชันไปใช้ปรับเปลี่ยนธุรกิจและให้เห็นผลลัพธ์เชิงบวกที่สำคัญเช่นเดียวกับเอสเอ็มอี 15 บริษัทที่เข้าร่วมโครงการในปีแรก (2562) ที่สามารถเพิ่มรายได้ ลดต้นทุน ตลอดจนปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจต่างๆ รวมถึงสร้างทัศนคติและความคิดดิจิทัลให้เกิดขึ้นในองค์กร

บริษัท วัชมนฟู้ด จำกัด ผู้นำเข้าและจำหน่ายผลไม้เกรดพรีเมียมอันดับชั้นนำของประเทศไทย หนึ่งในเอสเอ็มอีไทยที่เข้าร่วมโครงการ SBTP ในปีที่ 2 โดย คุณวิภาวี วัชรากร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เปิดเผยถึง จุดเปลี่ยนที่ทำให้บริษัทเกิดแนวคิดที่จะปรับเปลี่ยนองค์กรไปสู่ธุรกิจดิจิทัล เกิดจากยอดขายที่เติบโตขึ้นสิบเท่าจาก 200 ล้านสู่ 2,500 ล้านในช่วงสิบปีที่ผ่านมา (พ.ศ.2550-2562) ทำให้ระบบการทำงานแบบเดิมไม่สอดคล้องกับการเติบโต โดยหลังจากที่ได้เข้าร่วมโครงการ SBTP เข้าร่วมเวิรคชอปกับทีมงานยูโอบีและเดอะ ฟินแล็บ (The FinLab) บริษัทฯได้จุดประกายความคิดดิจิทัลอีกหลายแง่มุม พบทางลัดที่รวดเร็ว มองเห็นภาพธุรกิจดิจิทัลที่ชัดเจนขึ้นจากการให้คำปรึกษา คำแนะนำในการเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับธุรกิจ ส่งผลให้ วัชมนฟู้ด ตัดสินใจเข้าสู่กระบวนการเปลี่ยนถ่ายสู่ธุรกิจดิจิทัล ตามขั้นตอนที่ได้รับการแนะนำ ซึ่งมีผลลัพธ์สำเร็จ ตอบโจทย์ ตรงกับสิ่งที่ทีมผู้บริหาร ตั้งเป้าหมายที่จะก้าวสู่ผู้นำด้านการนำเข้าและจัดจำหน่ายผลไม้ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้จริงตามลำดับ

ตัวเร่งที่ทำให้บริษัทต้องปรับใช้ดิจิทัลโซลูชัน นั่นคือ 1) ต้องการลดทอนความล่าช้าของระบบการทำงานในส่วนสำนักงาน อาทิ ออเดอร์สินค้า เอกสารใบสั่งซื้อ ซึ่งเดิมใช้ระบบ manual ทำให้ความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ง่ายจึงต้องการปรับเปลี่ยน 2) แนวคิดคนทำงาน เพิ่มทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาอำนวยความสะดวกให้มากขึ้น และ 3) ต้องการบริหารจัดการข้อมูลธุรกิจที่มาจากหลายๆ ทางให้มีระบบบ สามารถใช้ข้อมูลเหล่านั้นเพื่อสร้างแต้มต่อทางด้านการแข่งขันและสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน คุณวิภาวี กล่าวต่อว่า “ ผลลัพธ์ที่เห็นประโยชน์ได้อย่างชัดเจนหลังเข้าร่วมโครงการ SBTP ในปีนี้คือ ด้วยวิกฤตของข้อจำกัดโควิด-19 ทำให้ช่องทางการนำเข้าและจัดจำหน่ายของเราเกิดข้อจำกัด เป็นเหตุและผลที่บริษัทต้องเพิ่มช่องทางการขายผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ทำให้ก่อตั้งบริษัท เฟรช ลิฟวิ่ง ขึ้นเพื่อเปิดช่องทางสื่อสาร นำเสนอสินค้า สร้างการซื้อขายกับผู้บริโภคเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ซึ่งด้วยระยะเวลาที่รวดเร็ว ทาง ยูโอบี ได้แนะนำดิจิทัลโซลูชัน UOB BizSmart ระบบบริหารจัดการธุรกิจเป็น ERP ขนาดที่เหมาะสมกับองค์กร ร่วมด้วยเทคโนโลยี ZWIZ.AI หรือ chat bot อัตโนมัติ ตัวช่วยการขาย ตอบคำถามนำเสนอและปิดยอดขายได้ทันที ทำให้ยอดขายของเฟรช ลิฟวิ่ง ในช่วง1-2 เดือนที่ผ่านมาจาก 2 แสนบาทเพิ่มเป็น 2 ล้านบาทเกินกว่าความคาดหมายอย่างยิ่ง ในขณะเดียวกับที่ เฟรช ลิฟวิ่ง ยังได้รับเงินทุนสนับสนุนจากโปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยี จาก ITAP ที่ดำเนินงานภายใต้ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หนึ่งในพันธมิตรของยูโอบีในการดำเนินโครงการ SBTP ในฐานะ start up ซี่งเป็นผลสำเร็จได้จากการแนะนำและติดต่อจากทางยูโอบีเช่นกัน”

คุณสิรินันท์ จิรดิลก ผู้อำนวยการอาวุโส ด้าน Digital Engagement & FinTech Innovation ธนาคารยูโอบี (ไทย) กล่าวต่อถึง การให้คำปรึกษา ข้อเสนอแนะและการทำงานร่วมกับ วัชมนฟู้ด ว่า เราต้องพิจารณา business model และความต้องการทางธุรกิจของวัชมนฟู้ดเพื่อให้คำแนะนำด้านเทคโนโลยีและโซลูชันได้ตรงจุด อย่างเช่น เฟรช ลิฟวิ่ง เป็นช่องทาง e-commerce ที่เข้ามาต่อยอดธุรกิจ เพิ่มช่องทางการซื้อขายวัตถุดิบตรงกับร้านอาหาร มีความต้องการระบบการจัดการที่รวดเร็ว ช่วยนำเสนอสินค้าและบริการได้อย่างทันท่วงที ต้องการใช้ดิจิทัลเทคโนโลยีที่รวดเร็ว ก็สามารถใช้โซลูชันที่ไม่ซับซ้อน เรียนรู้ง่ายและนำไปใช้งานได้อย่างรวดเร็ว ในขณะที่วัชมน ด้วยขนาดองค์กรที่ใหญ่และมีความซ้ำซ้อนในระบบงาน ดิจิทัลเทคโนโลยีที่ควรเข้ามาช่วยสนับสนุนเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว ซึ่งทางบริษัทฯ เองก็ได้เห็นสอดคล้องกันนั่นคือการติดตั้งระบบ SAP ERP ซึ่งเมื่อการติดตั้งแล้วเสร็จในต้นปีหน้าจะเป็นการเพิ่มโอกาสและศักยภาพองค์กรของวัชมนฟู้ดให้สามารถขยายธุรกิจออกไปได้ในระดับภูมิภาคได้เพิ่มมากขึ้น รวมถึงยังเปิดโอกาสทางธุรกิจในการแง่มุมของการหาพันธมิตรร่วมค้าได้อีกด้วย

ขณะเดียวกันสำหรับ เอสเอ็มอี ที่ต้องการเข้าร่วมโครงการเพื่อสร้างแต้มต่อทางธุรกิจด้วยการใช้ ดิจิทัลเทคโนโลยีและมีความพร้อมที่จะเปลี่ยนถ่ายธุรกิจ ในโครงการปีที่ 2 นี้ สามารถสมัครเข้าร่วมโครงการ ได้สะดวกมากยิ่งขึ้นด้วยการนำโครงการ SBTP เข้าสู่แพลตฟอร์มออนไลน์ ภายใต้ชื่อ เดอะ ฟินแล็บ ออนไลน์ (The FinLab Online) ที่จะช่วยให้เอสเอ็มอี ไทย ทั่วทุกภูมิภาคสามารถเข้าถึงโปรแกรมการปรับเปลี่ยนธุรกิจสู่ดิจิทัลนี้ได้อย่างง่ายดาย

“รูปแบบโครงการยังเหมือนเดิม แต่ เอสเอ็มอี จะยังได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้นจาก เดอะ ฟินแล็บ ออนไลน์ ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มรูปแบบดิจิทัลโดยมีกรอบการเรียนรู้ที่เรียกว่า PROPEL ที่ เอสเอ็มอี สามารถเริ่มจากการทำแบบทดสอบ Digital Needs Assessment (DNA) เพื่อจัดลำดับความสำคัญความต้องการด้านดิจิทัล เข้าถึงข้อมูลและทรัพยากรต่างๆ ตามต้องการภายใต้เนื้อหาการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสนับสนุนธุรกิจของเอสเอ็มอี ทำแบบทดสอบ Digital Solutions Advisory (DSA) เพื่อค้นหาโซลูชันที่ต้องการ เลือกโซลูชันที่ต้องการ และวางแผนดำเนินงาน นำโซลูชันที่ได้เลือกเข้ามาใช้จริง ด้วยการรับการสนับสนุนจากทีมงานเดอะ ฟินแล็บ และยังสามารถเข้าถึงเพื่อใช้ประโยชน์จากทรัพยากรต่างๆ บนแพลตฟอร์ม เดอะ ฟินแล็บ ออนไลน์ อาทิ เนื้อหา แหล่งข้อมูลและเครื่องมือธุรกิจผ่านการสัมมนาทางเว็บและวิดีโอคำแนะนำการสอน”

ด้วยความโดดเด่นของเครือข่ายธนาคารยูโอบีในอาเซียน รวมถึงประสบการณ์เกือบ 85 ปีในการดำเนินธุรกิจ และความโดดเด่นของโครงการที่จะนำความรู้ความเชี่ยวชาญและสายสัมพันธ์ทางธุรกิจให้แก่ชุมชนสมาชิกของเดอะ ฟินแล็บ ออนไลน์ ที่มีความร่วมมือกับผู้ให้บริการทางเทคโนโลยีมากกว่า 1500 แห่งใน 48 ประเทศ จะช่ยสนับสนุนให้ เอสเอ็มอี ที่เข้าร่วมโครงการสามารถขยายธุรกิจของตนเองออกไปได้ใยระดับภูมิภาคผ่านครือข่ายของโครงการ

สำหรับเอสเอ็มอีที่มีความต้องการและความพร้อมปรับธุรกิจสู่ดิจิทัล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad