วิศวะมหิดล สร้างเสริม ร.ร.ประหยัดพลังงาน พัฒนาจักรยานรีไซเคิล-โซลาร์เซลล์เพื่อผลิตไฟฟ้าและรดน้ำแปลงเกษตร - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

วิศวะมหิดล สร้างเสริม ร.ร.ประหยัดพลังงาน พัฒนาจักรยานรีไซเคิล-โซลาร์เซลล์เพื่อผลิตไฟฟ้าและรดน้ำแปลงเกษตร

วิศวะมหิดล สร้างเสริม ร.ร.ประหยัดพลังงาน พัฒนาจักรยานรีไซเคิล-โซลาร์เซลล์เพื่อผลิตไฟฟ้าและรดน้ำแปลงเกษตร

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดย รศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดี และ ผศ.ดร.กฤษฏา อัศวสกุลเกียรติ รองคณบดีฝ่ายเสริมสร้างความร่วมมือและกิจกรรมเพื่อสังคม ดำเนินโครงการ "MUEG จิตอาสาพัฒนาจักรยานรีไซเคิลร่วมกับระบบโซล่าเซลล์ เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าและรดน้ำแปลงเกษตร" โดยส่งมอบจักรยานปั่นน้ำด้วยระบบพลังงานกลและระบบอัตโนมัติด้วยระบบโซลาร์เซลล์ มุ่งการประหยัดพลังงาน เพื่อลดค่าใช้จ่ายให้แก่โรงเรียนคลองบางกระทึก และปลูกฝังการดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง และพัฒนาแปลงเกษตรสำหรับเป็นอาหารกลางวันให้กับเด็กๆ ในโรงเรียน โดยมี นายเจน เกิดโพชา ผู้อำนวยการโรงเรียน กรรมการสถานศึกษา คณะครูและนักเรียน ร่วมรับมอบ ณ โรงเรียนคลองบางกระทึก จ.นครปฐม

ผศ.ดร.กฤษฏา อัศวสกุลเกียรติ รองคณบดีฝ่ายเสริมสร้างความร่วมมือและกิจกรรมเพื่อสังคม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ที่มาของโครงการ "MUEG จิตอาสาพัฒนาจักรยานรีไซเคิลร่วมกับระบบโซล่าเซลล์ เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าและรดน้ำแปลงเกษตร" เกิดจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เล็งเห็นความสำคัญในการสนับสนุนการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ประหยัดพลังงานและการใช้พลังงานหมุนเวียน ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมการบูรณาการทางวิศวกรรมเพื่อความรับผิดชอบต่อสังคม จึงได้ดำเนินงานนี้แก่โรงเรียนคลองบางกระทึก จ.นครปฐม ทั้งนี้โดยได้รับความร่วมมือจากนักศึกษาและทีมงาน จิตอาสาวิศวะมหิดล ร่วมกันนำจักรยานที่ไม่ได้ใช้งานแล้วมารีไซเคิล ซ่อมแซมและพัฒนาเป็นจักรยานปั่นน้ำด้วยระบบพลังงานกลและระบบอัตโนมัติ และได้นำระบบเซลล์แสงอาทิตย์ หรือโซลาร์เซลล์ (Solar Cell) มาประยุกต์ใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าซึ่งช่วยประหยัดพลังงานและค่าใช้จ่าย นำมาใช้รดน้ำแปลงเกษตร จำนวน 2 ชุด โดยพืชผักเหล่านี้ ทางโรงเรียนจะนำไปปรุงเป็นอาหารกลางวันแก่นักเรียน

นอกจากนี้ยังได้ติดตั้งระบบควบคุมการรดน้ำสนามหญ้าโรงเรียนอัตโนมัติด้วยระบบโซลาร์เซลล์ จำนวน 1 ชุด พร้อมทั้งติดตั้งระบบไฟฟ้าส่องสว่างอัตโนมัติด้วยระบบโซลาร์เซลล์ จำนวน 4 ชุด อีกด้วย โดยครูและนักเรียนได้เรียนรู้ในบทบาทของตนเองและโรงเรียนในการลงมือทำเพื่อประหยัดพลังงาน ซึ่งส่งผลดีต่อทุกคน ครอบครัว โรงเรียน ชุมชนและสิ่งแวดล้อมของโลก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad