วิศวะมหิดล ผนึกความร่วมมือ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ร่วมวิจัยและพัฒนานวัตกรรม...รองรับโลกอนาคต - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

วิศวะมหิดล ผนึกความร่วมมือ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ร่วมวิจัยและพัฒนานวัตกรรม...รองรับโลกอนาคต

 


วิศวะมหิดล ผนึกความร่วมมือ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

ร่วมวิจัยและพัฒนานวัตกรรม...รองรับโลกอนาคต


คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์คณบดี พร้อมด้วยผู้บริหาร คณาจารย์ ผนึกความร่วมมือกับ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล นำโดย รศ.นพ.รัฐพล ตวงทอง รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และ รศ.นพ.ก้องเขต เหรียญสุวรรณ รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร ในโอกาสมาเยี่ยมชมและขับเคลื่อนแนวทางพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมรองรับโลกอนาคต เพื่อให้เกิดความรู้ที่หลากหลายและต่อยอดนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมเศรษฐกิจไทยและประชาคมโลก ณ ศูนย์บ่มเพาะและสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรม Innogineer Maker Studio คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

ทั้งนี้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้นำเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการที่ก้าวหน้าทันสมัยและ Eco-System ต่าง ๆที่สนับสนุนการพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 การศึกษาและวิจัยบูรณาการที่ตอบโจทย์ใช้ประโยชน์ได้จริง อาทิ Innogineer Maker Studio ศูนย์บ่มเพาะและสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรม เปรียบเสมือนเวิร์คช็อป ครบครันเครื่องมือไฮเทคที่เปิดโอกาสให้เมคเกอร์และเอสเอ็มอีสามารถเข้ามาทำโปรเจคต่าง ๆ บ่มเพาะสตาร์ทอัพ สร้างชิ้นงานและต้นแบบจากความคิดสร้างสรรค์ สานความฝันสู่ความเป็นจริงและกิจกรรมอื่น ๆ อีกมากมาย , BART LAB 




ศูนย์เครือข่ายวิจัยประยุกต์ทางเทคโนโลยีหุ่นยนต์และชีวการแพทย์, Laboratory for Biocompatibility Testing of Medical Devices ห้องปฏิบัติการทดสอบความเข้ากันได้ทางชีวภาพของเครื่องมือแพทย์, BCI LAB ห้องปฎิบัติการการเชื่อมต่อคลื่นสัญญาณสมองด้วยคอมพิวเตอร์, BIOSENS LAB ห้องปฏิบัติการเกี่ยวกับเทคโนโลยีไอโอเซนเซอร์ เทคโนโลยีสำหรับการตรวจวัดหาสาร , SMART LAB ห้องวิจัยที่พัฒนาอุปกรณ์เพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายและการฟื้นฟูเพื่อผู้พิการและผู้สูงอายุ ด้วยเทคโนโลยีการประมวลภาพและสัญญาณจากกล้ามเนื้อ, AIOT LAB ห้องปฏิบัติการวิจัยปัญญาประดิษฐ์ของสรรพสิ่ง และ Flexible Manufacturing System ห้องปฏิบัติการเกี่ยวกับงานอุตสาหกรรม การเชื่อมประกอบแบบโดยใช้หุ่นยนต์อุตสาหกรรม เชื่อมต่อกับอุปกรณ์เสริมที่ให้ความยืดหยุ่น รวมถึงการผลิตเครื่องมือแพทย์ทางด้านงานโลหะและการขึ้นรูปโลหะ เป็นต้น

      นอกจากนี้ ยังได้นำชมโครงการแข่งขันชิงแชมป์โลก ไซบาธอน2020 (Cybathlon)...ซึ่งเปรียบเสมือนโอลิมปิกแห่งเทคโนโลยีเพื่อผู้พิการ การแพทย์และมนุษยชาติ ซึ่งมีผู้สมัครเข้าแข่งขัน 77 ทีม จาก 30 ประเทศ โดยทีมมหิดลบีซีไอแลบ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้สร้างนวัตกรรมและส่งนักแข่งผู้พิการร่วมแข่งขัน 2 ประเภท เมื่อเร็วๆนี้ และสามารถคว้ารองแชมป์โลก รางวัลเหรียญเงิน ในประเภท BCI (Brain-Computer Interface Race) หรือ ใช้คลื่นสมองเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ควบคุมสั่งการแข่งรถ แค่คิด...ก็ขับรถแข่งได้ สร้างชื่อเสียงให้ประเทศไทยบนเวทีโลก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad