วิศวะมหิดล จัดโครงการ ค่ายบ่มเพาะวิศวกรน้อย รุ่นที่ 1 - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันอาทิตย์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2563

วิศวะมหิดล จัดโครงการ ค่ายบ่มเพาะวิศวกรน้อย รุ่นที่ 1


 วิศวะมหิดล จัดโครงการ ค่ายบ่มเพาะวิศวกรน้อย รุ่นที่ 1



คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล งานวิศวกรรมเพื่อความรับผิดชอบต่อสังคม (ESR) นำโดย ผศ.ดร.จำรัส พร้อมมาศ ที่ปรึกษาคณบดี และ ผศ.ดร.กฤษฎา อัศวสกุลเกียรติ รองคณบดีฝ่ายเสริมสร้างความร่วมมือและกิจกรรมเพื่อสังคม จัดโครงการ"ค่ายบ่มเพาะวิศวกรน้อย รุ่นที่ 1" วัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างทักษะทางวิศวกรรม อาทิ วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมเคมี ให้แก่เยาวชนนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม กว่า 100 คน โดยสามารถนำเอาความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้จริง  ห้อง University - Industry Co-working Space คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

รศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า โครงการ "ค่ายบ่มเพาะวิศวกรน้อย รุ่นที่ 1" มุ่งขยายบทบาทของคณะวิศวะมหิดลในการเชื่อมต่อองค์ความรู้ระดับอุดมศึกษากับเยาวชนระดับมัธยมศึกษา เสริมสร้างศักยภาพของเยาวชนไทยได้มาสัมผัสและเรียนรู้เทคโนโลยีวิศวกรรมศาสตร์ เสริมความเข้มแข็งด้านการศึกษาแห่งศตวรรษที่ 21 และนำมาประยุกต์ใช้เพื่อรองรับสังคมที่เปลี่ยนแปลงและโลกอนาคต ซึ่งมีองค์ประกอบที่สำคัญคือ นักเรียน นักศึกษา และประชาชนในยุค 4.0 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ เพิ่มผลผลิต และสร้างประโยชน์ให้กับชุมชนสังคมที่ยั่งยืน และเสริมสร้างเศรษฐกิจระดับชุมชนให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น

ผศ.ดร.กฤษฎา อัศวสกุลเกียรติ รองคณบดีฝ่ายเสริมสร้างความร่วมมือและกิจกรรมเพื่อสังคม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า โครงการ ค่ายบ่มเพาะวิศวกรน้อย รุ่นที่ 1 เน้นการฝึกทักษะการเป็นผู้นำ การถ่ายทอดความรู้ และการทำงานเป็นทีมโดยผู้เชี่ยวชาญ ทั้งด้านปฏิบัติการเรียนรู้และฝึกทักษะที่สำคัญต่อชีวิตวิถีใหม่ สามารถนำเอาองค์ความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และมีกระบวนการคิดวิเคราะห์ที่ก้าวหน้าและตอบโจทย์ สร้างแรงบันดาลใจแก่เยาวชนในการพัฒนาศักยภาพตนเอง สร้างสรรค์ชีวิตในอนาคตและโลกที่น่าอยู่ต่อไป

ทั้งนี้ เยาวชนนักเรียนที่เข้าร่วม "ค่ายบ่มเพาะวิศวกรน้อย " นี้ จะได้รับความรู้ในหลักวิศวกรรมไฟฟ้าเบื้องต้น พร้อมทั้งได้ทดลองฝึกปฏิบัติการจริง โดยมี อาจารย์ธนทิพย์ อ้วนอ่อน เป็นวิทยากร และด้านทักษะการปฎิบัติการสื่อสาร โดย อาจารย์วรวิทย์ อิศรางกูร ณ อยุธยา นอกจากนี้ยังมีพี่ๆ นักศึกษาจิตอาสา จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คอยให้คำแนะนำด้วย เยาวชนยังได้เปืดโลกทัศน์เข้าชม Eco Systems ที่ก้าวหน้าทันสมัยของวิศวะมหิดลเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เช่น ห้องปฎิบัติการภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ ห้องปฎิบัติการภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ และเยี่ยมชมบรรยากาศมหาวิทยาลัยมหิดล ที่ได้รับการจัดอันดับเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว อันดับ 1 เป็นเวลา 5 ปี ต่อเนื่องกันอีกด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad