กรมประมง ชวนกิน กุ้ง-ปลา ช่วยเกษตรกรไทยผ่านวิกฤตโควิด-19 ไปด้วยกัน ซีพีเอฟ พร้อมช่วยขยายช่องทางจำหน่ายที่ ซีพี เฟรชมาร์ทและแม็คโคร - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันศุกร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2563

กรมประมง ชวนกิน กุ้ง-ปลา ช่วยเกษตรกรไทยผ่านวิกฤตโควิด-19 ไปด้วยกัน ซีพีเอฟ พร้อมช่วยขยายช่องทางจำหน่ายที่ ซีพี เฟรชมาร์ทและแม็คโคร

 


กรมประมง ชวนกิน กุ้ง-ปลา ช่วยเกษตรกรไทยผ่านวิกฤตโควิด-19 ไปด้วยกัน

ซีพีเอฟ พร้อมช่วยขยายช่องทางจำหน่ายที่ ซีพี เฟรชมาร์ทและแม็คโคร


25 ธันวาคม 2563 – กรมประมง ร่วมกับ สมาพันธ์การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและบริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหารจำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ จัดกิจกรรม “สัตว์น้ำมาตรฐานไทย สู้ภัยโควิด-19” นำผลผลิตคุณภาพดี สด สะอาด ปลอดภัย จากฟาร์มมาตรฐานมาจำหน่ายให้ประชาชน เพื่อสร้างความมั่นใจในการบริโภคอาหารทะเล ช่วยอุดหนุนเกษตรกรให้มีรายได้สามารถดำเนินกิจการได้ต่อเนื่อง หลังยอดขายลดจากโควิด-19 รอบใหม่


นายมีศักดิ์ ภักดีคง อธิบดีกรมประมง กล่าวว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 รอบใหม่ จากตลาดกุ้ง-ปลาในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาครและได้ขยายวงกว้างไปยังพื้นที่อื่นๆ สร้างความไม่มั่นใจด้านความปลอดภัยและสุขอนามัยในการบริโภคสัตว์น้ำของประชาชน ส่งผลกระทบต่อการจำหน่ายสินค้าสัตว์น้ำ รวมถึงเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและชาวประมงเป็นอย่างมาก กรมฯ ขอยืนยันว่าจนถึงขณะนี้ยังไม่มีรายงานการตรวจพบเชื้อไวรัสในกลุ่มโคโรน่า 2019 อยู่ในตัวของสัตว์น้ำแต่อย่างใด


การนำผลผลิตสัตว์น้ำมาจำหน่ายในวันนี้ ถือเป็นส่วนหนึ่งในการบรรเทาความเดือดร้อนที่สร้างรายได้ให้เกษตรกรได้ทันที

และเป็นช่องทางให้ผู้บริโภคเลือกซื้ออาหารทะเลที่สด สะอาดและปลอดภัย จากฟาร์มเกษตรกรและผู้ผลิตที่ได้รับการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี GAP (Good Aquaculture Practice) ของกรมประมง  ผู้บริโภคจึงมั่นใจได้ว่าปราศจากเชื้อโควิด-19 โดยจัดกิจกรรมที่ ลานโพธิ์ กรมประมง ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  



อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคควรเลือกซื้อสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและผ่านการผลิตที่ได้การรับรองมาตรฐาน ล้างทำความสะอาดด้วยน้ำอย่างดี ปรุงสุกด้วยความร้อน และไม่ควรใช้มือสัมผัสสัตว์น้ำโดยตรงและใช้ถุงมือหรืออุปกรณ์ในการหยิบหรือตัก เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากการปนเปื้อนและจากสุขอนามัยที่ดี จากการรับประทานและสัมผัสสัตว์น้ำ


นายมีศักดิ์ กล่าวย้ำ กรมประมง ให้ความสำคัญกับการควบคุมความปลอดภัยและสุขอนามัยในสินค้าสัตว์น้ำอย่างเข้มงวด เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคตลอดห่วงโซ่การผลิต โดยมีการตรวจสอบแหล่งที่มาของสัตว์น้ำที่วางจำหน่ายก่อนถึงมือผู้บริโภค ควบคู่ไปกับการเพิ่มมาตรการความปลอดภัยด้านสุขภาพและสุขอนามัยในกลุ่มเกษตรกร ชาวประมง และผู้ประกอบการ โดยทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการติดตาม เฝ้าระวัง และป้องกันการแพร่การระบาดของโรคในฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและจากการทำประมง อย่างใกล้ชิด


นายไพโรจน์ อภิรักษ์นุสิทธิ์ รองกรรมการผู้จัดการบริหาร ธุรกิจสัตว์น้ำ ซีพีเอฟ กล่าวว่า กุ้ง “ซีพี แปซิฟิก” ของบริษัทให้ความสำคัญกับการจัดการการเลี้ยงด้วยระบบไบโอซีเคียวริตี้ (Biosecurity) และนวัตกรรม 3 สะอาด ควบคู่ไปกับมาตรการ GAP และยังถ่ายทอดองค์ความรู้การเลี้ยงสัตว์น้ำตามหลักวิชาการให้กับเกษตรกร เพื่อช่วยให้ผลผลิตมีคุณภาพตามมาตรฐานสากล ปลอดภัย ปราศจากโรค และการปนเปื้อน ตลอดจนสนับสนุนช่องทางการตลาดเพื่อจำหน่ายกุ้งจากฟาร์มถึงมือผู้บริโภคโดยตรง เป็นการช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งในภาวะวิกฤตโควิด-19 รอบใหม่


สำหรับผลผลิตกุ้ง “ซีพี แปซิฟิก” ผ่านการตรวจสอบมาตรฐานกรมประมง ส่งตรงจากฟาร์มสู่โรงงานแปรรูปในพื้นที่ด้วยระบบขนส่งห้องเย็นที่ทันสมัย ลดการสัมผัสมือ ทำให้กุ้งสด สะอาด ปลอดภัย ไม่มีจากสิ่งปนเปื้อน ผู้บริโภคนำไปปรุงสุกด้วยความร้อนตามคำแนะนำของแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญและโภชนากร รับประทานได้อย่างปลอดภัย สามารถเลือกซื้อกุ้งสด และอาหารทะเลคุณภาพดี ได้ที่ร้านซีพี เฟรชมาร์ท และแม็คโคร ทุกสาขา



“ขอให้ผู้บริโภคมั่นใจ ว่า กุ้งซีพี แปซิฟิก และกุ้งที่จากฟาร์มเลี้ยงมาตรฐาน มีความปลอดภัยและผ่านการตรวจสอบคุณภาพจากกรมประมงถูกต้องทุกขั้นตอน ผู้บริโภครับประทานได้อย่างปลอดภัย” นายไพโรจน์ กล่าว


ด้านนายบรรจง นิสภวาณิชย์ ประธานสมาพันธ์การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย กล่าวว่า สมาพันธ์ส่งเสริมให้สมาชิกปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคโควิด-19 ในระดับสูง และดำเนินการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การผลิตปลอดภัยจากโรค


“สมาพันธ์ฯ ขอยืนยันว่ากุ้งไทยกินได้ปลอดภัย พี่น้องเกษตรกรยังคงยืนหยัดเฝ้าระวัง ป้องกันอย่างเข้มแข็ง ขอให้ผู้บริโภคมั่นใจว่า กุ้ง ปลา และอาหารทะเลไทย กินได้ ปลอดภัยแน่นอน และเป็นการช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรให้อยู่รอดได้ในภาวะโรคระบาด” นายบรรจง กล่าว


ทั้งนี้ การผลิตกุ้งและสัตว์น้ำ มีการควบคุมทุกขั้นตอนการผลิต พนักงานและแรงงาน ปฏิบัติตามแนวทางป้องกันโรคของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้มีความปลอดภัยในการผลิต 100% ส่วนการแพร่ระบาดที่จังหวัดสมุทรสาคร เป็นโรคที่เกิดจากคนสู่คนเท่านั้น ไม่ได้แพร่ไปยังผลิตภัณฑ์กุ้ง ผู้บริโภคมั่นใจได้ว่าไม่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคใดๆ" นายบรรจง กล่าว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad