“จุรินทร์”แจ้งข่าวชาวสวนยาง “น้ำยางสด-ยางก้อนถ้วย” ได้ชดเชยงวด 2 รับเงิน 28 ธ.ค.นี้ - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันพฤหัสบดีที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2563

“จุรินทร์”แจ้งข่าวชาวสวนยาง “น้ำยางสด-ยางก้อนถ้วย” ได้ชดเชยงวด 2 รับเงิน 28 ธ.ค.นี้

 

img

“จุรินทร์”แจ้งข่าวชาวสวนยาง “น้ำยางสด-ยางก้อนถ้วย” ได้ชดเชยงวด 2 รับเงิน 28 ธ.ค.นี้

“จุรินทร์”สั่งแจ้งข่าวเกษตรกรชาวสวนยาง เงินส่วนต่างประกันรายได้ งวดที่ 2 เคาะแล้ว “น้ำยางสด-ยางก้อนถ้วย” ได้รับชดเชย หลังราคายังต่ำกว่าที่ประกันเอาไว้ แต่ยางแผนดิบคุณภาพดี ไม่ได้ เหตุราคาเกินเพดาน คาด ธ.ก.ส.โอนเงินให้ไม่เกินวันที่ 28 ธ.ค.นี้ เป็นของขวัญปีใหม่
         
นางมัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้ขอให้แจ้งเกษตรกรถึงสิทธิที่ได้รับ หลังจากที่การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ได้ออกประกาศเรื่อง กำหนดราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 2 ปี 2563/64 งวดที่ 2 แล้ว โดยหลังจากนี้ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จะทำการโอนเงินส่วนต่างเข้าบัญชีเกษตรกรโดยตรง คาดว่าจะโอนได้ไม่เกินวันที่ 28 ธ.ค.2563 ซึ่งทันเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับชาวสวนยาง
         
สำหรับรายละเอียดการจ่ายส่วนต่าง 1.ยางแผ่นดิบคุณภาพดี ราคายางที่ประกันรายได้ 60.00 บาทต่อกิโลกรัม ราคากลางอ้างอิงอยู่ที่ 62.83 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งราคากลางอ้างอิงสูงราคาประกันรายได้ จึงไม่ต้องจ่ายส่วนต่างหรือชดเชย 2.น้ำยางสด (DRC 100%) ราคายางที่ประกันรายได้ 57.00 บาทต่อกิโลกรัม แต่ราคากลางอ้างอิง 49.83 บาทต่อกิโลกรัม เกษตรกรจะได้รับชดเชย 7.17 บาทต่อกิโลกรัม หรือได้รับเงินสูงสุด 3,585 บาท และ 3.ยางก้อนถ้วย (DRC 50%) ราคายางที่ประกันรายได้ 23.00 บาทต่อกิโลกรัม ราคากลางอ้างอิง 19.35 บาทต่อกิโลกรัม เกษตรกรจะได้รับชดเชย 3.65 บาทต่อกิโลกรัม หรือได้รับเงินสูงสุด 3,650 บาท สรุป คือ ได้รับส่วนต่างในยางพารา 2 ชนิด คือ น้ำยางสดกับยางก้อนถ้วย


นางมัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข         

ทั้งนี้ โครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ได้ประกันราคายางแผ่นดิบคุณภาพดี ราคา 60 บาทต่อกิโลกรัม น้ำยางสด (DRC 100%) ราคา 57 บาทต่อกิโลกรัม และยางก้อนถ้วย (DRC 50%) ราคา 23 บาทต่อกิโลกรัม โดยกำหนดปริมาณผลผลิตยางที่จะประกันรายได้ คือ ผลผลิตยางแห้ง (DRC 100%) จำนวนไม่เกิน 20 กิโลกรัมต่อไร่ต่อเดือน และผลผลิตยางก้อนถ้วย (DRC 50%) จำนวนไม่เกิน 40 กิโลกรัมต่อไร่ต่อเดือน

โดยเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ จะต้องขึ้นทะเบียนกับ กยท. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และเป็นสวนยางอายุ 7 ปีขึ้นไปที่เปิดกรีดยางได้แล้ว รายละไม่เกิน 25 ไร่ มีสัดส่วนแบ่งรายได้ระหว่างเจ้าของ 60% และคนกรีดยาง 40% ระยะเวลาโครงการปี 2 คือ ระหว่างเดือนก.ย.2563–ก.ย.2564

นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้มีมาตรการเสริมที่จะนำมาใช้เพื่อผลักดันราคายางพาราให้สูงขึ้น ซึ่งเป็นมาตรการคู่ขนานไปกับโครงการประกันรายได้ เช่น มาตรการกำกับดูแลด้านปริมาณ โดยผู้ประกอบกิจการยางที่มีปริมาณการรับซื้อตั้งแต่เดือนละ 5,000 กก.ขึ้นไป ต้องแจ้งปริมาณการซื้อ ปริมาณการจำหน่าย ปริมาณการใช้ไป ปริมาณคงเหลือ และ สถานที่เก็บสินค้ายางพารา ตลอดจนให้จัดทำบัญชีคุมรายวัน มาตรการการส่งเสริมการใช้ยางของหน่วยงานภาครัฐ ระหว่างต.ค.2562-ก.ย.2565 มาตรการสนับสนุนสินเชื่อ 5 โครงการ คือ โครงการสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนแก่สถาบันเกษตรกรเพื่อใช้ในการรวบรวมยาง วงเงิน 10,000 ล้านบาท ระยะเวลาจ่ายเงินกู้ 1 เม.ย.2563-31 มี.ค.2564 โครงการสนับสนุนสินเชื่อสถาบันเกษตรกรเพื่อแปรรูปยางพารา วงเงิน 5,000 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินงาน 1 ก.ย.2557-31 ธ.ค.2567 โครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบกิจการยาง ชนิดยางแห้ง 20,000 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินงาน ม.ค.2563–ธ.ค.2564 โครงการสนับสนุนสินเชื่อผู้ประกอบการผลิตผลิตภัณฑ์ยาง วงเงินสินเชื่อ 25,000 ล้านบาท ระยะเวลาโครงการ ปี 2559–69 โดยสนับสนุนวงเงินชดเชยดอกเบี้ยเงินกู้ อัตราร้อยละ 3 ไม่เกิน 600 ล้านบาท เป็นต้น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad