Covestro Innovation Design Contest 2020 ประกาศผลรางวัลการประกวดออกแบบสิ่งประดิษฐ์เชิงนวัตกรรม - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันพุธที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2563

Covestro Innovation Design Contest 2020 ประกาศผลรางวัลการประกวดออกแบบสิ่งประดิษฐ์เชิงนวัตกรรม

ผู้ชนะการแข่งขันCovestro Innovation Design Contest 2020

ไอเดียสุดเจ๋ง “SUCKER เครื่องดูดขยะในน้ำ” จากนักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมและการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ  คว้ารางวัลชนะเลิศการประกวดสิ่งประดิษฐ์เชิงนวัตกรรมเพื่อการใช้ชีวิตอย่างยั่งยืน จากโครงการ Covestro Innovation Design Contest 2020

22 ธันวาคม 2563: การแข่งขันรอบชิงชนะเลิศและการประกาศผลผู้ชนะเลิศการแข่งขันCovestro Innovation Design Contest 2020 (IDC 2020) โครงการประกวดออกแบบสิ่งประดิษฐ์เชิงนวัตกรรมจากไอเดียสร้างสรรค์ ภายใต้แนวคิด โลกแห่งนวัตกรรมเพื่อการใช้ชีวิตอย่างยั่งยืน (World of innovation for sustainable living)” ซึ่งจัดโดย โคเวสโตร ผู้นำด้านวัสดุโพลิเมอร์ระดับโลก ร่วมกับศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC by MQDC) ได้เสร็จสิ้นลงอย่างเป็นทางการ โดยรางวัลชนะเลิศเป็นของนักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมและการออกแบบ สาขาสถาปัตยกรรมจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เจ้าของผลงานสิ่งประดิษฐ์เพื่อตอบโจทย์การใช้ชีวิตอย่างยั่งยืนกับผลงาน SUCKER เครื่องดูดขยะในน้ำ

บริษัท โคเวสโตร (ประเทศไทย) จำกัด จัดการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศและประกาศผลทีมผู้ชนะ พร้อมมอบรางวัลการประกวดออกแบบสิ่งประดิษฐ์เชิงนวัตกรรมจากไอเดียสร้างสรรค์ ในโครงการ Covestro Innovation Design Contest 2020 (IDC 2020) ภายใต้แนวคิด โลกแห่งนวัตกรรมเพื่อการใช้ชีวิตอย่างยั่งยืน (World of innovation for sustainable living)” ซึ่งได้ร่วมมือกับศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC by MQDC) จัดขึ้นเพื่อเป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้เยาวชนระดับปริญญาตรีและปวส. ทั่วประเทศ ได้แสดงศักยภาพด้านการคิดและพัฒนานวัตกรรมอย่างสร้างสรรค์ เพื่อชิงทุนการศึกษารวมกว่า 195,000 บาท โดยมีคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากหลากหลายหน่วยงานร่วมให้เกียรติเป็นคณะกรรมการตัดสิน อาทิ รศ.ดร. สิงห์ อินทรชูโต หัวหน้าคณะที่ปรึกษา และดร. สฤกกา พงษ์สุวรรณ ผู้อำนวยการฝ่ายบูรณาการงานวิจัยเพื่อการเผยแพร่ จากศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC by MQDC)  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภิสักก์ สินธุภัค ผู้แทนจากสภาสถาปนิก  รวมถึงผู้เชี่ยวชาญจากบริษัท โคเวสโตร (ประเทศไทย) จำกัด ได้แก่ นางสาวกวิสรา วรรธนะพิศิษฐ์ หัวหน้าฝ่ายสื่อสารองค์กรประจำภูมิภาคอาเซียน  และ นายชัยยุทธ แจ้งเจนรบ ผู้จัดการโรงงาน ศูนย์การผลิตโพลีคาร์บอเนต  โดยการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศนี้จัดขึ้น ณ ห้องออดิทอเรียม ทรู ดิจิทัล พาร์ค


คณะกรรมการตัดสิน


ดร. เยอร์เกน มายน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โคเวสโตร(ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า โครงการ Covestro Innovation Design Contest 2020 (IDC 2020) ที่จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 นี้ เกิดขึ้นจากความมุ่งมั่นของโคเวสโตรในการดำเนินธุรกิจที่ให้ความสำคัญต่อการพัฒนานวัตกรรมเพื่อสร้างความยั่งยืน โดยเราเชื่อมั่นว่าความท้าทายต่างๆ ที่เกิดขึ้นในโลก ถือเป็นแรงผลักดันสำคัญที่จะนำเราไปสู่ความร่วมมือในการสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อให้เกิดความยั่งยืนขึ้นอย่างแท้จริงต่อสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม รวมถึงการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับคนในสังคมยุคใหม่ในระยะยาว ซึ่งตลอดระยะเวลาที่เปิดรับสมัคร โครงการ IDC2020 ได้รับความสนใจและการตอบรับที่ดี และมีนักศึกษาในระดับปริญญาตรีและปวส. ส่งผลงานที่น่าสนใจเข้าร่วมประกวดกว่า 80 ไอเดีย ซึ่งเพิ่มมากขึ้นจากการประกวดในปีที่แล้ว นับว่าเป็นอีกหนึ่งก้าวของความสำเร็จในการจัดโครงการนี้ และเราเชื่อว่าเวทีการแข่งขันนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาทักษะของคนรุ่นใหม่ในการเติบโตไปเป็นผู้สร้างนวัตกรรมเพื่อการสร้างสรรค์โลกแห่งความยั่งยืนของประเทศไทยต่อไปในอนาคต

ผลงานของผู้เข้าแข่งขันทั้ง 8 ทีมที่ผ่านเข้าสู่การแข่งขันรอบสุดท้าย ล้วนแสดงถึงศักยภาพด้านการคิดและพัฒนานวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์เรื่องความยั่งยืนได้อย่างดีเยี่ยม ที่สำคัญที่สุดคือแนวคิดและวิธีการนำเสนอผลงานของแต่ละทีมที่มีความโดดเด่นไม่แพ้กัน สร้างความตื่นเต้นและความประทับใจให้กับคณะกรรมการตัดสินเป็นอย่างมาก โดยผลงาน “SUCKER เครื่องดูดขยะในน้ำ” จากทีมปลาครึ่งตัว นักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมและการออกแบบ สาขาสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ สามารถคว้ารางวัลชนะเลิศไปครอง โดยได้รับรางวัลเป็นทุนการศึกษามูลค่า 80,000 บาท พร้อมถ้วยรางวัลและประกาศนียบัตร ซึ่งแนวคิดหลักในการออกแบบผลงานเกิดจากการอยากลดขยะในแหล่งน้ำที่มีจำนวนมาก โดยที่SUCKER หรือ เครื่องดูดขยะเป็นเครื่องที่ใช้หลักการธรรมชาติแบบ Zero Energy ที่ไม่ใช้พลังงานไฟฟ้า และยังเกิดระบบพลังงานหมุนเวียนในตัวเอง ไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยลดขยะในน้ำ รวมถึง สามารถลดปัญหาน้ำเน่าเสียได้เป็นอย่างดี หลังจากที่เก็บขยะมาแล้ว เรายังสามารถคัดแยกขยะเพื่อนำไปรีไซเคิลและจัดการตามกระบวนการที่เหมาะสมต่อไปได้อีกด้วย

รศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต หัวหน้าคณะที่ปรึกษา ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน


รศ.ดร. สิงห์ อินทรชูโต หัวหน้าคณะที่ปรึกษา ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC by MQDC) กล่าวว่าRISC by MQDC ขอแสดงความยินดีกับนักศึกษาทุกทีมที่ได้รับรางวัล รวมทั้งขอชื่นชมทุกทีมที่ได้แสดงศักยภาพพลังความคิดสร้างสรรค์ และปลดปล่อยในการสร้าง “นวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน" ออกมาได้อย่างเต็มที่ และเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า น้องๆ นักศึกษาทุกคนจะได้รับความรู้ และไม่หยุดคิดและหยุดพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ จนพัฒนากลายเป็นนักออกแบบนวัตกรรมรุ่นใหม่ ต่อยอดให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงเทคโนโลยีสู่การสร้างสรรค์ผลงานเพื่อให้สรรพสิ่งบนโลกมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน

RISC by MQDC  ในฐานะศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน ที่ได้รับรองมาตรฐาน WELL Building Standardแห่งแรกของไทยและในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ระดับ "Gold" ประเภทอาคาร New and Existing Interiors มีความมุ่งมั่นตอกย้ำแนวคิดการดำเนินงานเพื่อสร้างความเป็นอยู่ที่ยั่งยืนให้กับทุกสรรพสิ่งบนโลก หรือ ‘for all well-being’และมุ่งมั่นขยายแนวคิดนี้สู่สาธารณชนเป็นวงกว้าง เราจึงร่วมมือกับบริษัท โคเวสโตร (ประเทศไทย) จำกัด จัดการแข่งขันโครงการ Covestro Innovation Design Contest 2020 ซึ่งมีแนวคิดสอดคล้องกับกลยุทธ์และงานวิจัยของ RISC by MQDC  โดย RISC by MQDC เชื่อมั่นว่า คนรุ่นใหม่สามารถสร้างสรรค์และต่อยอดผลงานประดิษฐ์ ให้สามารถใช้ได้จริง และมีประสิทธิภาพในการส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีอย่างยั่งยืนและเป็นรูปธรรม” รศ.ดร. สิงห์ กล่าว

 “ผมขอแสดงความยินดีกับน้องๆ นักศึกษาทุกทีมที่ได้รับรางวัลจากเวทีการแข่งขันของเราในปีนี้ และขอชื่นชมที่ทุกทีมสามารถโชว์พลังความคิดสร้างสรรค์ด้านนวัตกรรมออกมาได้อย่างเต็มที่ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าน้องๆ ทุกคนจะไม่หยุดคิดและหยุดพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ซึ่งจะกลายเป็นแรงบันดาลใจให้กับเยาวชนคนรุ่นใหม่ และอีกหลายๆ ฝ่าย ที่กำลังจะก้าวเข้ามาร่วมกันสร้างสรรค์และยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในสังคมให้มีความยั่งยืนอย่างแท้จริงต่อไป”                ดร.เยอร์เกน กล่าวทิ้งท้าย

 

ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับสื่อมวลชน

-          รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ผลงาน PUSH YOUR AIR SUB จากทีม AREA 51 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ได้รับถ้วยรางวัลและประกาศนียบัตร  พร้อมทุนการศึกษาจำนวน50,000 บาท

-          รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ ผลงาน Pure Air Wall Innovation จากทีม PURE AIR WALLมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ได้รับถ้วยรางวัลและประกาศนียบัตร  พร้อมทุนการศึกษามูลค่า 30,000 บาท

-          รางวัลชมเชยอีก 5 รางวัล ประกอบด้วย  ผลงานWater Cycle Boat จากทีม BIGKUSANGKHO สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, ผลงาน Whale Wash จากทีม พลังความสุข สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, ผลงาน E-Cold Bus Stop จากทีม E-Cold Bus Stop มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, ผลงาน The FIN จากทีม มันจบแล้วอนาคิน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, ผลงาน VOLTA จากทีม VOLTAมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน  ได้รับทุนการศึกษา รางวัลละ 5,000 บาท

-          รางวัล Popular Vote ทีมที่มีผู้ชื่นชอบได้รับการโหวตมากที่สุดคือทีม AREA 51จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ รับทุนการศึกษาพิเศษ 10,000 บาท


 

เกี่ยวกับโคเวสโตร

โคเวสโตรเป็นผู้ผลิตวัสดุโพลิเมอร์ชั้นนำระดับโลก มียอดขายในปี 2562 มากถึง 12.4 พันล้านยูโร ธุรกิจของโคเวสโตรให้ความสำคัญกับการผลิตวัสดุโพลิเมอร์ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงและการพัฒนานวัตกรรมที่ตอบโจทย์สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน อุตสาหกรรมหลักที่ใช้ผลิตภัณฑ์และบริการของโคเวสโตรคืออุตสาหกรรมยานยนต์ ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ก่อสร้าง กีฬาและสันทนาการ  โคเวสโตรมีศูนย์การผลิตอยู่ 30 แห่งทั่วโลก และมีพนักงานประจำและเทียบเท่า ประมาณ 17,200 คน (ข้อมูล ณ ปลายปี 2562

 

ข้อความที่บ่งชี้ถึงอนาคต
ข่าวประชาสัมพันธ์ชิ้นนี้อาจมีข้อความที่บ่งชี้ถึงอนาคต โดยใช้ข้อสันนิษฐานและการคาดการณ์ของโคเวสโตร เอจี เป็นพื้นฐาน ปัจจัยด้านความเสี่ยงที่คาดการณ์ได้และที่คาดการณ์ไม่ได้ ความไม่แน่นอน และปัจจัยอื่นๆ อาจส่งผลต่อข้อมูลที่แตกต่างกันอย่างมีนัยยะสำคัญ ทั้งด้านผลประกอบการจริง สถานการณ์ทางการเงิน ผลการดำเนินงานและการพัฒนาของบริษัทในอนาคต โดยปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ หมายรวมถึงปัจจัยที่อยู่ในรายงานสาธารณะของโคเวสโตร ซึ่งสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ที่เว็บไซต์โคเวสโตรwww.covestro.com ทั้งนี้ โคเวสโตรจะไม่ขอรับผิดชอบในการอัพเดทข้อความบ่งชี้ถึงอนาคตต่างๆ หรือการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ตรงตามสถานการณ์หรือการพัฒนาในอนาคต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad