ASF-โควิด ทุกข์เกษตรกรเลี้ยงหมู หวังผู้บริโภคเข้าใจ เขียนโดย : อุษณีย์ รักษ์กสิกิจ นักวิชาการอิสระ - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันจันทร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2564

ASF-โควิด ทุกข์เกษตรกรเลี้ยงหมู หวังผู้บริโภคเข้าใจ เขียนโดย : อุษณีย์ รักษ์กสิกิจ นักวิชาการอิสระ

 


ASF-โควิด ทุกข์เกษตรกรเลี้ยงหมู หวังผู้บริโภคเข้าใจ

เขียนโดย : อุษณีย์ รักษ์กสิกิจ นักวิชาการอิสระ

 

ภาคปศุสัตว์ไทยวันนี้ นอกจากต้องเผชิญหน้ากับสถานการณ์โควิดที่แพร่ระบาดมาครบ 1 ปีแล้ว เกษตรกรโดยเฉพาะกลุ่มผู้เลี้ยงหมูยังต้องตั้งการ์ดป้องกันโรคในสุกรที่สำคัญอย่างโรคแอฟริกันสไวน์ฟีเวอร์ หรือ ASF ที่แพร่ระบาดสร้างความเสียหายให้กับอุตสาหกรรมหมูใน34 ประเทศ

 

จากข้อมูลของสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ พบว่าการป้องกัน ASF ในสุกร มาตลอดเวลา 2 ปี ทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรต้องดำเนินมาตรการป้องกันโรคที่เข้มงวดเพื่อป้องกันฝูงสัตว์จากโรคนี้ ขณะที่มีสถานการณ์โควิด-19 ที่เกิดขึ้นตลอดปี 2563 ที่ผ่านมาเข้ามาซ้ำเติม เกษตรกรจึงต้องยกระดับการป้องกันโรคในบุคลากรที่ทำงานภายในฟาร์ม เพื่อไม่ให้กระทบกับการเลี้ยงสุกรอย่างเด็ดขาด ทั้งสองปัจจัยส่งผลให้ทุกฟาร์มมีภาระต้นทุนเพิ่มขึ้นกว่า 300 บาทต่อตัว

 

ขณะเดียวกัน ราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่เพิ่มขึ้นยังกระทบโดยตรงต่อต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น โดยเฉพาะราคาเมล็ดถั่วเหลืองและกากถั่วเหลืองนำเข้าที่เพิ่มสูงขึ้น ทำสถิติสูงสุดในรอบ 5 ปี จากความกังวลของตลาดต่อปริมาณสต๊อกถั่วเหลืองของสหรัฐอเมริกา ที่อาจจะปรับตัวลดลงต่ำกว่า 175 ล้านบุชเชล จากที่กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) คาดการณ์ไว้ และยังมีปัญหาภัยแล้งที่ส่งผลต่อการเพาะปลูกถั่วเหลืองของอาร์เจนตินา ทำให้แนวโน้มราคาถั่วเหลืองอาจเพิ่มสูงขึ้นอีก

 

ส่วนวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ผลิตได้ในประเทศอย่างเช่น ข้าวโพด มันสำปะหลัง รำ-ปลายข้าว ราคาก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน จากมาตรการประกันรายได้เกษตรกรของภาครัฐ เพื่อพยุงราคาพืชเกษตรที่ได้รับความเสียหายจากภาวะอากาศแล้งและภัยพิบัติในช่วงปีที่ผ่านมา

 

ขณะที่การเลี้ยงสุกรในปัจจุบันต้องปรับตัวเข้าสู่มาตรฐานของกรมปศุสัตว์ ทั้งฟาร์มเลี้ยงสุกรขนาดใหญ่ที่ต้องทำตามมาตรฐาน GMPส่วนฟาร์มขนาดเล็กต้องอยู่ภายใต้มาตรฐาน GFM ที่ต้องมีระบบป้องกันโรคและการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสมอย่างเคร่งครัด เท่ากับต้องมีต้นทุนการปรับปรุงฟาร์มเพื่อให้สอคล้องกับมาตรฐาน นอกจากนี้ เกษตรกรยังต้องลงทุนด้านสิ่งแวดล้อมเพิ่ม ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่กำหนดให้การเลี้ยงสุกรต้องควบคุมน้ำเสียก่อนปล่อยลงสู่สิ่งแวดล้อม

 

ปัจจัยต่างๆที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ส่งผลต่อภาพรวมต้นทุนการเลี้ยงสุกรที่ปรับตัวขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

 

ปัจจุบันต้นทุนการเลี้ยงสุกร ตามข้อมูลของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เฉลี่ยอยู่ที่กิโลกรัมละ 75 บาท ขณะที่ราคาขายสุกรหน้าฟาร์มเกษตรกรตามประกาศของสมาคมผู้เลี้ยงสุกร อยู่ที่ 76-80บาทต่อกิโลกรัม และต้องจับตาประกาศต้นทุนการเลี้ยงสุกรของ สศก. ในไตรมาสที่ 1/2564 ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นไปถึง 78 บาทต่อกิโลกรัม จากปัจจัยราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่น่าจะเพิ่มขึ้น ภาวะภัยแล้งในช่วงเดือนมีนาคมต่อเมษายน การป้องกันโรคทั้ง ASF และโควิด-19 และยังมีความสูญเสียจากโรคในสุกรที่สำคัญอย่างโรคเพิร์ส (PRRS)ทำให้ต้นทุนสูงขึ้น ขณะเดียวกัน ยังมีการคาดการณ์ว่าปีนี้ภาวะอากาศแปรปรวนจะรุนแรงกว่าทุกปี ฝนจะมาเร็วและหมดเร็ว ส่งผลให้ช่วงฤดูแล้งยาวนานขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง

 

อย่างไรก็ตาม แม้เกษตรกรจะมีปัญหารุมเร้า โดยเฉพาะภาระหนักเรื่องต้นทุนที่สูงขึ้นทุกขณะ แต่เกษตรกรก็ยังคงให้ความร่วมมือกับกรมการค้าภายในกระทรวงพาณิชย์ ในการจำหน่ายสุกรหน้าฟาร์มไม่เกิน 80บาทต่อกิโลกรัม แม้ต้นทุนจะเพิ่มเกือบจะเท่าราคาขายแล้วก็ตาม และหมูไทยก็ยังคง "ราคาถูกที่สุดในภูมิภาคเอเชีย" เมื่อเทียบกับประเทศอื่นที่ได้รับผลกระทบจาก ASF ทำให้ราคาสุกรมีชีวิตสูงขึ้นกว่ 2-3เท่าตัว เช่นประเทศจีน ที่ราคาสูงถึง 160 บาทต่อกิโลกรัม กัมพูชาราคา 95 ต่อกิโลกรัม เวียดนามราคา 90 บาทต่อกิโลกรัม ลาวราคา 85บาทต่อกิโลกรัม ประชาชนในประเทศเหล่านี้ต้องบริโภคเนื้อหมูที่มีราคาสูงตามกลไกตลาด

 

วันนี้สิ่งที่เกษตรกรต้องการคือ “ความเข้าใจจากผู้บริโภค” ว่ากลไกตลาดสุกรควรทำงานอย่างมีเอกภาพ ตามอุปสงค์-อุปทานที่แท้จริง และสุกรถือเป็นสินค้าปศุสัตว์เดียวในยามวิกฤตินี้ ที่สามารถนำเงินตราเข้ามาพัฒนาประเทศ ขณะที่ผู้บริโภคมีอิสระในการเลือกบริโภคอาหารโปรตีนชนิดอื่นอย่างเช่น ไก่ กุ้ง ปลา สัตว์น้ำ หรือไข่ไก่ ที่ปัจจุบันราคาแสนถูก ซึ่งเกษตรกรผู้ผลิตทุกคนก็รอคอยผู้บริโภคคนสำคัญที่จะช่วยให้พวกเขาผ่านพ้นวิกฤตินี้ไปได้./

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad