อก. เผยโครงการกระตุ้น ศก. ของรัฐ และการได้รับวัคซีน สร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคและนักลงทุน - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2564

อก. เผยโครงการกระตุ้น ศก. ของรัฐ และการได้รับวัคซีน สร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคและนักลงทุน

 

อก. เผยโครงการกระตุ้น ศก. ของรัฐ และการได้รับวัคซีน สร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคและนักลงทุน ชี้อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันโควิด-19 ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง

กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เผยการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมหักทองคำในเดือนธันวาคม 2563 ขยายตัวร้อยละ 6.68 โดยเป็นการขยายตัวครั้งแรกในรอบ 12 เดือน ขณะที่การนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปหักทองคำขยายตัวร้อยละ 13.61 สูงสุดในรอบ 26 เดือน สะท้อนสัญญาณที่ดีต่อแนวโน้มการผลิตในระยะต่อไป โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนธันวาคม 2563 หดตัวเล็กน้อยร้อยละ 2.44 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยไตรมาส 4/2563 อยู่ที่ระดับ 96.57 ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาส 3/2563 ที่ร้อยละ 5.63 ตามเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มดีขึ้นตามลำดับ เผยข่าวดีประเทศไทยจะได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ล็อตแรก และเริ่มฉีดได้ในเดือนกุมภาพันธ์ และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล   ทำให้เกิดความเชื่อมั่นในการผลิตและการบริโภค

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เปิดเผยว่ากระทรวงอุตสาหกรรมได้มอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) จัดทำดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) โดยภาพรวมการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมหักทองคำในเดือนธันวาคม 2563 ขยายตัวร้อยละ 6.68 โดยเป็นการขยายตัวครั้งแรกในรอบ 12 เดือน ขณะที่การนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปหักทองคำขยายตัวร้อยละ 13.61 สูงสุดในรอบ 26 เดือน สะท้อนสัญญาณที่ดีต่อแนวโน้มการผลิตในระยะต่อไป โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนธันวาคม2563 หดตัวลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 2.44 เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาไม่นานในการควบคุมการระบาด เนื่องจากระบบการสาธารณสุขของไทยมีความสามารถในการป้องกันและควบคุมโรคได้ดี ประกอบกับประชาชนมีความรู้และมีการเตรียมความพร้อมในการรับมือกับสถานการณ์ในเบื้องต้น รวมทั้งผู้ประกอบการก็มีระบบการจัดการแก้ปัญหาจากโควิด-19 รอบแรก จึงส่งผลให้เศรษฐกิจอุตสาหกรรมชะลอตัวลงเพียงเล็กน้อย โดยสินค้าอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ยังคงขยายตัวตามอุปสงค์ทั้งในและต่างประเทศได้อย่างต่อเนื่อง อาทิเช่น อุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์สำหรับอุปกรณ์ทางการแพทย์ ถุงมือยาง เภสัชภัณฑ์ และอุตสาหกรรมอาหาร  เป็นต้น ประกอบกับในเดือนกุมภาพันธ์ประเทศไทยจะได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ในล็อตแรก และต่างประเทศเริ่มมีการฉีดวัคซีนเช่นเดียวกัน จะสร้างความเชื่อมั่นทั้งในการผลิตและการบริโภคตามแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ดีขึ้น  นายสุริยะ กล่าว

นายทองชัย ชวลิตพิเชฐ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวว่า แนวโน้มเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมไทยค่อย ๆ ฟื้นตัวขึ้น เนื่องจากอุตสาหกรรมหลักที่สำคัญ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ขยายตัวเป็นเดือนที่ 2 หลังจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และอยู่ในหลักแสนคันเป็นเดือนแรกเนื่องจากเศรษฐกิจในประเทศเริ่มฟื้นตัวจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมทั้งมีการออกรถยนต์รุ่นใหม่และการส่งเสริมการขายในงานมหกรรมยานยนต์เมื่อวันที่ 1-13 ธันวาคม 2563 โดยมียอดจองรถยนต์กว่า 33,000 คัน และการผลิตเป็นไปตามเป้าของปี 2563 จำนวน 1.4 ล้านคัน ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ยางรถยนต์  มีคำสั่งซื้อเพิ่มตาม นอกจากนี้อุตสาหกรรมที่มีความเกี่ยวข้องกับการป้องกันโควิด-19 ยังขยายตัวตามอุปสงค์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ อีกทั้งการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป (ไม่รวมทองคำ) ในเดือนธันวาคมขยายตัวร้อยละ 13.61 ซึ่งเป็นการขยายตัวสูงที่สุดในรอบ 26 เดือน สะท้อนถึงสัญญาณที่ดีต่อแนวโน้มการผลิตในระยะต่อไป

นายทองชัยกล่าวต่อว่า นโยบายของภาครัฐสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี อาทิเช่น โครงการคนละครึ่ง ช้อปดีมีคืน และบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ อีกทั้งในเดือนกุมภาพันธ์รัฐบาลได้อนุมัติโครงการเราชนะ จะส่งผลให้การบริโภคของภาคครัวเรือนและการผลิตของผู้ประกอบการโดยเฉพาะ SMEs ดีขึ้น ซึ่งเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจได้อย่างต่อเนื่อง และเมื่อประเทศไทยเริ่มมีการฉีดวัคซีนได้ผลและมีประสิทธิภาพ คาดว่าการส่งออกรวมถึงการท่องเที่ยวที่เป็นกลจักรสำคัญของประเทศกลับมาฟื้นตัวดีขึ้นตามลำดับ


โดยอุตสาหกรรมหลักที่ยังคงขยายตัวดีในเดือนธันวาคม 2563 ได้แก่

ชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 12.03 เนื่องจากตามความต้องการในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์สำหรับอุปกรณ์ทางการแพทย์ ชิ้นส่วนอุปกรณ์โทรคมนาคมและคอมพิวเตอร์

รถยนต์ และเครื่องยนต์ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 4.49 จากรถบรรทุกปิคอัพ รถยนต์นั่งขนาดเล็ก และเครื่องยนต์ดีเซล จากตลาดในประเทศที่ปรับตัวได้ดีขึ้นจากการจัดงานมอเตอร์เอ็กซ์โป 2020 ช่วงต้นเดือนธันวาคมผู้ผลิตออกรถยนต์รุ่นใหม่และจัดแคมเปญพิเศษทำให้มีคำสั่งซื้อและส่งมอบเพิ่มขึ้น เกษตรกรมีกำลังซื้อจากสินค้าเกษตรปรับตัวสูง รวมทั้งการขยายตัวของธุรกิจขนส่งจากการเติบโตของตลาดออนไลน์

ยางรถยนต์ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 16.80 จากยางนอกรถยนต์นั่ง ยางนอกรถกะบะ และยางนอกรถบรรทุกรถโดยสาร เนื่องจากผู้ผลิตบางรายได้รับคำสั่งผลิตเพิ่มขึ้นเนื่องจากไทยมีต้นทุนการผลิตที่ถูกกว่าประเทศอื่น การขยายสาขาศูนย์ยางรถยนต์ใหม่และอานิสงค์จากงานมอเตอร์เอ็กซ์โป 2020 ทำให้ได้รับคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น

เฟอร์นิเจอร์ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 17.50 จากเครื่องเรือนทำด้วยไม้ เป็นหลัก เป็นคำสั่งซื้อพิเศษจากอเมริกาเพื่อจำหน่ายในห้างสรรพสินค้า

เหล็กและเหล็กกล้าขั้นมูลฐาน ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 7.30 จากเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี เหล็กแผ่นเคลือบโครเมี่ยม เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก เหล็กลวดและลวดเหล็ก เป็นหลัก ตามความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น ยานยนต์ อาหารกระป๋อง เครื่องใช้ไฟฟ้า 


ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมและการใช้กำลังการผลิต (รายเดือน)
   

Index

2562

2563

ธ.ค.

ม.ค.

ก.พ.

มี.ค.

เม.ย.

พ.ค.

มิ.ย.

ก.ค.

ส.ค.

ก.ย.

ต.ค.

พ.ย.

ธ.ค.

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม

98.94

103.95

100.90

103.68

78.08

79.68

82.88

87.24

91.73

95.30

95.84

97.35

96.53

อัตราการเปลี่ยนแปลง (MOM) %

1.80

5.06

-2.93

2.75

-24.69

2.05

4.01

5.26

5.15

3.89

0.57

1.57

-0.84

อัตราการเปลี่ยนแปลง (YOY) %

-4.37

-4.02

-4.24

-10.48

-18.22

-23.80

-17.80

-12.93

-9.05

-2.15

-0.42

0.15

-2.44

อัตราการใช้กำลังการผลิต

64.02

66.75

66.06

67.78

51.27

52.34

55.07

57.58

60.86

63.46

63.47

65.43

63.77

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมและการใช้กำลังการผลิต (รายไตรมาส)


Index

2562

2563

Q1

Q2

Q3

Q4

Q1

Q2

Q3

Q4*

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม

109.83

100.29

99.48

97.46

102.85

80.21

91.42

96.57

อัตราการเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน  %

5.02

-8.69

-0.81

-2.03

5.53

-22.00

13.97

5.63

อัตราการเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน  %

-1.22

-2.44

-4.18

 

 

-6.80

-6.36

-20.02

-8.10

-0.91

อัตราการใช้กำลังการผลิต

70.82

65.04

64.78

63.33

66.86

52.89

60.63

64.22

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad