ภาพรวมตลาดโรงแรมระดับลักชัวรี่ในกรุงเทพปี 2563 และแนวโน้มปี 2564 - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

ภาพรวมตลาดโรงแรมระดับลักชัวรี่ในกรุงเทพปี 2563 และแนวโน้มปี 2564

 


ภาพรวมตลาดโรงแรมระดับลักชัวรี่ในกรุงเทพปี 2563 และแนวโน้มปี 2564


รวมตลาด

มร.คาร์ลอส มาร์ติเนซ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและที่ปรึกษา บริษัท ไนท์แฟรงค์ ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า ในปี 2563 ประเทศไทยมีนักท่องเที่ยวต่างชาติประมาณ 6.7 ล้านคน ลดลงถึง 83% ปีต่อปี จาก 39.9 ล้านคน ในปี 2562 เนื่องจากข้อจำกัดในการเดินทางระหว่างประเทศ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด -19  โดยระหว่างเดือนเมษายน ถึงกันยายนปี 2563 ไม่มีนักท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศ ขณะที่ไตรมาสที่ 4 ของปี 2563 มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามา 10,822 คน ด้วยวีซ่านักท่องเที่ยวแบบพิเศษระยะยาว ซึ่งต้องกักตัว 14 วัน

จำนวนนักท่องเที่ยวทั้งหมดในปี 2563 ส่วนใหญ่มาจากเอเชียตะวันออก คิดเป็น 56% ตามมาด้วยยุโรป 31% และอีกประมาณ 20% มาจากจีน ซึ่งยังคงเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวที่สำคัญที่สุด



ในเดือนกรกฎาคมปี 2563 รัฐบาลไทยออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวในภายประเทศ และเป็นการพยายามชดเชยบางส่วนจากการไม่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาในประเทศ มาตรการดังกล่าวคือการช่วยเหลือค่าใช้จ่าย 40% ของราคาห้องพักปกติเป็นจำนวน 5 ล้านสิทธิ ซึ่งโรงแรงส่วนใหญ่จะได้รับประโยชน์ในช่วงวันหยุดยาว เช่นโรงแรมในพัทยา และหัวหิน เป็นต้น ในขณะที่โรงแรมระดับลักชัวรี่เสนอแพ็คเกจ “staycation” เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวภายในประเทศด้วยส่วนลดพิเศษต่างๆ

กราฟที่ 1 : จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในกรุงเทพฯ



และอุปสงค์

บริเวณสุขุมวิทตอนต้น ส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยอุปทานโรงแรมระดับลักชัวรี่ประมาณ 40% ของอุปทานทั้งหมด ตามมาด้วยเขตลุมพินี (22%) สีลมและสาทร (15%) และริมแม่น้ำ (16%)

การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วงปลายปี 2562 ทำให้ตลาดได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง โดยในปี 2563 มีอัตราการเข้าพักโดยเฉลี่ยของโรงแรงระดับลักชัวรี่ในกรุงเทพฯ เพียง 27% อย่างไรก็ตามในช่วงไตรมาสแรกของปี 2563 มีอัตราการเข้าพักมากกว่า 50% และลดลงไปต่ำสุดที่ 20% ในไตรมาสที่ 3 และไตรมาสที่ 4 ของปี 2563 โดยอัตราดังกล่าวมาจากแพ็คเกจ Staycations และโครงการสถานที่กักตัวทางเลือก (Alternative State Quarantine) ขณะที่ภาครัฐอนุมัติให้กรุงเทพฯ เป็นจุดเข้า-ออก สำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ แต่เนื่องจากอัตราการเข้าพักที่ต่ำ ทำให้บางโรงแรงหยุดให้บริการจนกว่าตลาดจะกลับมาฟื้นตัว

กราฟที่ 2 : จำนวนห้องพักโรงแรมระดับลักซัวรี่ในกรุงเทพฯ


ในปี 2563 อัตราค่าห้องเฉลี่ยต่อวัน (ADR) ของโรงแรงระดับลักชัวรี่ลดลง 12% เฉลี่ยอยู่ที่ 4,486 บาท ส่งผลมาจากส่วนลดพิเศษต่างๆ ที่เสนอให้กับนักท่องเที่ยวภายในประเทศเพื่อชดเชยรายได้ที่หายไปจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ และในสภาวะที่อัตราการเข้าพักต่ำโรงแรงบางแห่งจึงได้ปิดตัวลงชั่วคราว

กราฟที่ 3 : อัตราการเข้าพักและราคาเฉลี่ยรายวันของโรงแรมระดับลักซัวรี่ในกรุงเทพฯ



ครึ่งหลังของปี 2563 มีโรงแรงระดับลักชัวรี่เปิดใหม่ 4 แห่งในกรุงเทพฯ ทำให้มีอุปทานเพิ่มขึ้น 1,162 ห้อง ได้แก่ โรงแรมโฟร์ซีซั่นส์กรุงเทพ (301 ห้อง) โรงแรมสินธรเคมปินสกี้กรุงเทพ (285 ห้อง) โรงแรมสินธรมิดทาวน์กรุงเทพ (475 ห้อง) และโรงแรม เดอะ คาเพลลากรุงเทพ (101 ห้อง) ทั้งหมดนี้ตั้งอยู่ใจกลางย่านเศรษฐกิจ (CBD) ขณะที่การเปิดตัวของโรงแรมอื่น ๆ ในกลุ่มอัพสเกลและมิดสเกล รวมอยู่ที่ 985 ห้อง ได้แก่ อาศัย กรุงเทพ ไชน่าทาวน์ (224 ห้อง) ไลฟ์ สุขุมวิท 8 บางกอก (196 ห้อง) โรงแรมซัมเมอร์เซ็ต พระราม 9 กรุงเทพ (445 ห้อง) และ เดอะ ควอเตอร์ เพลินจิต (129 ห้อง)

การระบาดของไวรัสโควิด -19 ทำให้ผู้ประกอบการโรงแรมชะลอการเปิดโครงการใหม่ โดยมีโรงแรมสองแห่งเลื่อนการเปิดให้บริการในปี 2563 รวมทั้งหมด 413 ห้อง ซึ่งได้แก่ โรงแรม โอเรียนท์ เอ็กซ์เพรส มหานคร (154 ห้อง) และ โรงแรม ชไตเกนเบิร์กเกอร์ ริเวอร์ไซด์ กรุงเทพฯ (259 ห้อง) นอกจากนี้แผนการพัฒนาโรงแรมใหม่ในปี 2563 ยังถูกเลื่อนออกไป

โรงแรมระดับลักชัวรี่กรุงเทพฯ มีจำนวนห้องพักรวมทั้งสิ้น 20,555 ห้อง ณ สิ้นปี 2563

แนวโน้มตลาด

มร. มาร์ติเนซ กล่าวเสริมว่า ได้มีการคาดการณ์กันว่าประเทศไทยจะสร้างสถิติจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติสูงสุดในปี 2563 แต่น่าเสียดายที่มันอยู่ในระดับต่ำสุดแทน เนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัส-19 โดยตั้งแต่เดือนเมษายน 2563 จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในกรุงเทพฯลดลงจนเหลือ 0 ส่งผลให้ความต้องการห้องพักในโรงแรมลดลงอย่างมาก สะท้อนให้เห็นว่าตลาดโรงแรมหรูในกรุงเทพฯ พึ่งพานักท่องเที่ยวต่างชาติค่อนข้างสูง การพึ่งพาการท่องเที่ยวภายในประเทศเพียงอย่างเดียวมาเพียงพอ ทำให้โรงแรมหลายแห่งเลือกที่จะปิดธุรกิจบางส่วนหรือทั้งหมด จนกว่าจะมีสัญญาณการฟื้นตัวของตลาด

ในส่วนของโรงแรมที่เปิดให้บริการนั้นยังคงไม่ดีนัก มีอัตราการเข้าพักเฉลี่ยเพียง 20% ส่วนใหญ่มาจากแพ็คเกจ Staycation และนักท่องเที่ยวต่างชาติจากโครงการกักตัวทางเลือก (Alternative State Quarantine)

สถานะการยังคงมีความไม่แน่นอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากการเกิดโควิด -19 ระบาดระลอกใหม่ในประเทศไทย ในเดือนมกราคม 2564 แต่อย่างไรก็ตามภายใต้วัคซีนป้องกันโควิด -19 ที่จะเริ่มใช้ในประเทศไทยและทั่วโลก เราคาดหวังว่าจะเห็นจุดฟื้นตัวของภาคโรงแรมในปลายปี 2564 หรืออาจเป็นต้นปี 2565

รัฐบาลไทยคาดการณ์ว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติจะขยับขึ้นเป็น 8 ล้านคนในปี 2564 และจะค่อยๆฟื้นตัวจนถึงระดับก่อนเกิดโควิด ที่มีนักท่องเที่ยว 40 ล้านคน ภายในปี 2567 ชายแดนไทยยังไม่เปิดจนกว่าการใช้วัคซีนจะประสบความสำเร็จ โดยรัฐบาลไทยคาดว่าอย่างน้อยครึ่งหนึ่งของประชากรในประเทศไทยจะได้รับฉีดวัคซีนภายในสิ้นปี 2564 โดยในสถานการณ์นี้ อัตราค่าห้องเฉลี่ยต่อวันอาจปรับลดลงอีก เนื่องจากผู้ประกอบการแข่งขันกันเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว

การท่องเที่ยวภายในประเทศเป็นตัวขับเคลื่อนเดียวในช่วงต้นปี 2564 นี้ เมื่อข้อจำกัดด้านการเดินทางผ่อนคลายลง การกลับมาฟื้นตัวจะเริ่มจากนักท่องเที่ยวในภูมิภาคเดียวกันก่อน พร้อมกับการเดินทางเชิงธุรกิจ ตามมาด้วยการฟื้นตัวอย่างช้าๆ ในภาคการท่องเที่ยวจากต่างชาติและธุรกิจ MICE ที่ประกอบไปด้วย  ธุรกิจการจัดการประชุมขององค์กร (Meeting)  การท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล (Incentive)  การจัดการประชุมนานาชาติ (Conventions)  และการจัดการแสดงสินค้าและนิทรรศการ (Exhibitions)

อัตราการเข้าพักโดยเฉลี่ยในกรุงเทพฯ คาดว่าจะยังคงอยู่ในระดับต่ำ โดยอาจจะเห็นการปรับตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี2564  โดยเฉพาะในช่วงไฮซีซั่นในไตรมาสสุดท้าย หากมีการยกเลิกข้อจำกัดด้านการเดินทาง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad