“พาณิชย์”ไขปม Supreme แบรนด์ดัง นำ “ผ้ายันต์หลวงพ่อคูณ” ไปใช้ในคอลเลกชันใหม่ - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

“พาณิชย์”ไขปม Supreme แบรนด์ดัง นำ “ผ้ายันต์หลวงพ่อคูณ” ไปใช้ในคอลเลกชันใหม่

img

“พาณิชย์”ไขปม Supreme แบรนด์ดัง นำ “ผ้ายันต์หลวงพ่อคูณ” ไปใช้ในคอลเลกชันใหม่

กรมทรัพย์สินทางปัญญาตอบข้อสงสัยกฎหมายลิขสิทธิ์ กรณี Supreme แบรนด์สินค้าแฟชั่นชื่อดัง นำ “ผ้ายันต์รูปหลวงพ่อคูณ” ไปใช้ในคอลเล็กชันใหม่ ยันถือเป็นงานลิขสิทธิ์ ได้รับการคุ้มครอง แต่จะเป็นการละเมิดหรือไม่ ต้องพิจารณาเป็นรายกรณี ส่วนการนำงานลิขสิทธิ์มาประยุกต์หรือสร้างสรรค์ผลงานใหม่ สามารถทำได้ แต่ต้องขออนุญาตให้ถูกต้อง  
         
นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยถึงกรณีที่กำลังเป็นที่พูดถึงในสื่อสังคมออนไลน์ เกี่ยวกับ Supreme แบรนด์สินค้าแฟชั่นชื่อดัง เปิดตัวคอลเล็กชัน Spring/Summer 2021 โดยปรากฏภาพเสื้อสกรีนลายผ้ายันต์รูปหลวงพ่อคูณ เกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งวัดบ้านไร่ จ.นครราชสีมา และเกิดประเด็นคำถามว่าการนำผ้ายันต์รูปหลวงพ่อคูณไปใช้ลักษณะนี้เข้าข่ายเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หรือไม่ ว่า กรมฯ ขอให้ข้อมูลตามกฎหมายลิขสิทธิ์ว่ารูปหลวงพ่อคูณที่ปรากฏในผ้ายันต์ ถือเป็นงานศิลปกรรม จัดเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ประเภทหนึ่ง โดยผู้สร้างสรรค์จะได้รับความคุ้มครองทันที เมื่อสร้างสรรค์ผลงานนั้นขึ้นมา ซึ่งกฎหมายจะให้สิทธิแต่เพียงผู้เดียวแก่เจ้าของลิขสิทธิ์ เช่น ทำซ้ำ ดัดแปลง เผยแพร่ต่อสาธารณะ หรืออนุญาตให้ผู้อื่นนำงานไปใช้ประโยชน์ เป็นต้น ดังนั้น การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งกับงานอันมีลิขสิทธิ์โดยไม่ได้รับอนุญาต อาจเข้าข่ายเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ได้
         

นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา

ทั้งนี้ จากการตรวจสอบในฐานข้อมูลลิขสิทธิ์ของกรมฯ พบว่า มีผู้มายื่นแจ้งข้อมูลงานลิขสิทธิ์เกี่ยวกับหลวงพ่อคูณไว้ 21 รายการ ประกอบด้วย ผลงานเพลง 15 รายการ งานวรรณกรรม 1 รายการ (หนังสือเจาะลึกข้อมูลเหรียญรุ่นพิเศษ หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ วัดบ้านไร่ ปี 2517) งานโสตทัศนวัสดุ 1 รายการ (สารคดีเรื่องแรงศรัทธาแด่หลวงพ่อคูณ) และงานศิลปกรรม 4 รายการ ได้แก่ รูปปั้น รูปหล่อ เหรียญ โดยไม่พบข้อมูลเกี่ยวกับผ้ายันต์รูปหลวงพ่อคูณลักษณะดังกล่าวในระบบ
         
อย่างไรก็ตาม หากวัดบ้านไร่ ซึ่งมีฐานะเป็นนิติบุคคล เป็นผู้จัดทำผ้ายันต์รูปหลวงพ่อคูณนี้ขึ้นมา โดยมีหลักฐานยืนยันการสร้างสรรค์งานลิขสิทธิ์นี้ จะได้รับความคุ้มครองเป็นระยะเวลา 50 ปี นับตั้งแต่วันที่สร้างสรรค์ขึ้น ส่วนการพิจารณาว่ากรณีใดๆ จะเข้าข่ายละเมิดลิขสิทธิ์หรือไม่ อาจต้องพิจารณาในรายละเอียดข้อเท็จจริงเป็นรายกรณีไป สำหรับการนำงานลิขสิทธิ์มาประยุกต์ใช้หรือสร้างสรรค์เป็นผลงานใหม่ๆ สามารถทำได้ โดยสามารถเจรจาในการขออนุญาตใช้สิทธิ์ หรือทำการตกลงเพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกัน

ส่วนในกรณีหากมีข้อพิพาทด้านทรัพย์สินทางปัญญาเกิดขึ้น กรมฯ มีบริการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้านทรัพย์สินทางปัญญาออนไลน์ เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการแก้ปัญหาและยุติข้อพิพาทโดยไม่ต้องเข้าสู่กระบวนการของศาล รายละเอียดสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ www.ipthailand.go.th หรือติดต่อกองกฎหมาย กรมทรัพย์สินทางปัญญา โทร. 02 547 5029 ในวันและเวลาราชการ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad