Sran ร่วมกับ BKI เปิดตัว Sran Cyber insurance plus เพิ่ความมั่นใจให้กับลูกค้า - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันอังคารที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2564

Sran ร่วมกับ BKI เปิดตัว Sran Cyber insurance plus เพิ่ความมั่นใจให้กับลูกค้า

ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ
ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ

Sran ร่วมกับ BKI เปิดตัว Sran Cyber insurance plus เพิ่ความมั่นใจให้กับลูกค้า

คปภ.มั่นใจ “ประกันภัยไซเบอร์” บูม! ธุรกิจแบงก์แห่ซื้อ

ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย(คปภ.) กล่าวปาฏากฐาพิเศษในหัวข้อเรื่อง Cyber Insurance For All in the Next Normal ว่า ภายใต้สถานการณ์โควิด-19 จะเป็นตัวกระตุ้นให้ผลิตภัณฑ์ประกันภัยไซเบอร์ เป็นสินค้าที่ตอบโจทย์ของการเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบัน โดยในช่วง 10 ปีก่อน ภัยคุกคามที่ก่อความเสียหายมากที่สุดคือ การก่อการร้ายข้ามชาติ แต่ปัจจุบันนี้กลายเป็นภัยไซเบอร์ซึ่งค่อนข้างส่งผลกระทบตามมามากมาย เช่น การแอบขโมยข้อมูลทรัพย์สินสำคัญ, การแฮกข้อมูลในระบบ, การหลอกข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต, การเรียกค่าไถ่, การใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อการทุจริต, การขโมยข้อมูลความเป็นตัวตนเพื่อสวมรอย, การกลั่นแกล้งบูลลี่ เป็นต้น

โดยจากการเปลี่ยนทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และเทคโนโลยีที่เข้ามาดิสรัปทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว แต่ยังมีอีกปัจจัยหนึ่งที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงภาคธุรกิจที่เร็วกว่านั้นคือ ผลกระทบจากการระบาดโควิด-19 ซึ่งส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงไปสู่ชีวิตความเป็นอยู่แบบวิถีใหม่(New Normal) ทุกคนจะต้องปรับไปสู่การทำงานที่บ้าน(WFH) ซึ่งต้องมีวิธีการบริหารความเสี่ยงที่แตกต่างจากอดีต แม้แต่ผลิตภัณฑ์ประกันภัยจะเป็นแบบเฉพาะคน (Tailor-Made)

เลขาธิการ คปภ. กล่าวต่อว่า และด้วยสถานการณ์โควิดทำให้ต้องมีการติดต่อผ่านระบบเทคโนโลยีมากขึ้น เช่น การประชุมผ่าน ZOOM, Face-Time ซึ่งอาจจะถูกแฝงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ได้ จากการดำเนินการด้วยเทคโนโลยีที่นำมาปรับใช้ในส่วนองค์กร

ทั้งนี้การขับเคลื่อนเรื่องนี้ในฐานะบทบาทของสำนักงาน คปภ.ถือว่าจัดอยู่ในยุทธศาสตร์แผนการพัฒนาด้านประกันภัย ฉบับที่ 4 (2564-2568) ทั้งการส่งเสริมเทคโนโลยีด้านการประกันภัย การสนับสนุนการประกันภัยไซเบอร์ การส่งเสริมความรู้ให้ประชาชน และการปรับปรุงกระบวนการให้ความเห็นชอบผลิตภัณฑ์ประกันภัย

โดยหลักๆ ในการพัฒนาการประกันภัยไซเบอร์ จะแบ่งออกเป็น 2 องค์ประกอบคือ 1.การประกันภัยไซเบอร์สำหรับลูกค้าองค์กร (Commercial Line) ซึ่งจะมีความคุ้มครอง อาทิ ความรับผิดต่อข้อมูลส่วนบคคล, ความรับผิดเกี่ยวกับข้อมูลของบริษัท, ความรับผิดต่อการจ้างงานภายนอก, ความรับผิดต่อความปลอดภัยของข้อมูล เป็นต้น โดยจะมีค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดี, การจัดการข้อมูล, การกอบกู้ชื่อเสียง เป็นต้น ซึ่งขณะนี้เริ่มเห็นธุรกิจธนาคารพาณิชย์(แบงก์) ทำกันแพร่หลายมากขึ้น

2.การประกันภัยไซเบอร์ลูกค้าบุคคล (Personal Line) ซึ่งกำลังจะเป็นเทรนด์และจะตอบโทจย์โลกออนไลน์ โดยจะคุ้มครองการโจรกรรมธุรกรรมการเงินบนนอินเตอร์เน็ต, การกลั่นแกล้งทางอินเตอร์เน็ต, การถูกละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลบนอินเตอร์เน็ต, การซื้อขายสินค้าออนไลน์ เป็นต้น

ซึ่งปัจจุบันนี้สำนักงาน คปภ.อนุมัติแบบกรมธรรม์ให้กับบริษัทประกันไปแล้ว 5 ราย และมี 2 บริษัทที่ขายสินค้าตัวนี้แล้ว

“เชื่อว่าการขับเคลื่อนเรื่องนี้จะเป็นโจทย์ของความต้องในระยะยาว โดยตอนนี้จำนวนคนทำประกันภัยไซเบอร์น้อยมาก แต่มองในภาพบวกต่อการประกันภัยไซเบอร์ลูกค้าบุคคล ซึ่งพึ่งจะเปิดตัว คนอาจยังไม่เข้าใจ แต่เชื่อว่าจะมีศักยภาพเติบโตได้สูงมาก ซึ่งปัจจุบันค่าเบี้ยประกันก็ถูก” เลขาธิการ คปภ.กล่าว

นอกจากนี้ภาครัฐเริ่มมีการพิจารณาเรื่องนี้มากขึ้นด้วย โดยนโยบายรัฐมนตรีคลังที่ให้ คปภ.ศึกษาทำประกันภัยทรัพย์สินของราชการ ซึ่งต่อไปอาจจะไม่ใช่เฉพาะวัตถุที่จับต้องได้ แต่รวมไปถึงการทำประกันภัยไซเบอร์ด้วย เพราะวันนี้ภาครัฐก็ถูกกระทำจากการถูกระเมิดข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งวันนี้กำลังอยู่ในระหว่างการติดตามความคืบหน้า

“ภัยไซเบอร์” สร้างมูลค่าความเสียหายทั่วโลก 30 ล้านล้านบาท

ดร.นรัตถ์ สาระมาน กรรมการผู้จัดการ บริษัท โกลบอลเทคโนโลยี อินทิเกรด จำกัด ผู้พัฒนาและให้บริการด้านความปลอดภัยเครือข่ายสารสนเทศ หรือ Cyber Security ครบวงจรภายใต้ชื่อ SRAN กล่าวว่า ปลายปี 2563 สถิติข้อมูลความเสียหายเกี่ยวกับภัยทางไซเบอร์ พบว่า ทั่วโลกมีมูลค่าความเสียหายกว่า 30 ล้านล้านบาท และมีสัดส่วนมากขึ้นถึง 50% จากเมื่อ 2 ปีที่แล้ว ซึ่งสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้นถ้าให้ความรู้ในตลาด และมีระบบให้การช่วยเหลือเชื่อว่าจะช่วยลดความเสียหายที่เกิดขึ้นลงมาได้

โดยบริษัทจึงได้ร่วมมือพัฒนาโปรดักต์ SRAN Insurance Plus ร่วมกับกรุงเทพประกันภัย เพื่อช่วยสนับสนุนหากลูกค้าของ SRAN ถูกบุกรุกจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ ซึ่งค่อนข้างจะเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา โดยเรามีระบบในการมอนิเตอร์ให้ลูกค้า คิดค่าบริการเพียง 6,500 บาทต่อเดือน

ดร.อภิสิทธิ์ อนันตนาถรัตน
ดร.อภิสิทธิ์ อนันตนาถรัตน

ดร.อภิสิทธิ์ อนันตนาถรัตน กรรมการและประธานคณะผู้บริหาร บมจ.กรุงเทพประกันภัย(BKI) กล่าวว่า โปรดักต์ตัวนี้จะมีค่าเบี้ยประกันภัยแค่ 200-1,000 บาทต่อปี แต่ถ้าเป็นลูกค้า SRAN จะได้รับความคุ้มครองฟรี โดยเมื่อเกิดถูกบุกรุกหรือการเข้าถึงภัยคุกคามในเชิงข้อมูล กรุงเทพประกันภัยจะเข้าไปตรวจสอบ หากกอบกู้/ซ่อมแซมคืนได้จะให้ลูกค้าดำเนินการ โดยบริษัทจะมีค่าใช้จ่ายให้สูงสุดไม่เกิน 1 ล้านบาท(จ่ายตามจริง) และค่าใช้จ่ายจากการถูกเรียกค่าไถ่ และการคุ้มครองนิติวิทยาศาสตร์ ค่าใช้จ่ายประชาสัมพันธ์ เพื่อแจ้งให้ลูกค้าที่ได้รับความเสียหายรับทราบ เพื่อกอบกู้ภาพลักษณ์องค์กร

ค่าใช้จ่ายแจ้งลูกค้าของลูกค้าโดยตรง ค่าใช้จ่ายเซตอัพลูกค้าคอลเซ็นเตอร์ ซึ่งมีโอกาสที่จะเป็นค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ซึ่งตาม พ.ร.บ.ข้อมูลส่วนบุคคล ภายใต้สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลส่วนบุคคล(สคส.) จะมีค่าปรับ บริษัทก็จะเข้าไปชดใช้ให้ด้วย นอกจากนี้มีค่าใช้จ่ายกรณีธุรกิจหยุดชะงัก และยังมีค่าใช้จ่ายความรับผิดทางกฎหมาย ซึ่งจะจ่ายค่าเสียหายที่แท้จริงตามศาลหรืออนุญาโตตุลาการ

ตั้งเป้าลูกค้าเป้าหมายปีแรก 500-1,000 ราย

ดร.นรัตถ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ความคาดหวังช่วงแรกเราต้องการให้คนเริ่มตระหนักรู้เกี่ยวกับภัยไซเบอร์ หลังจากนั้นค่อยเดินนโยบายเพราะตลาดนี้ค่อนข้างใหญ่มาก ในไทยมีบริษัทในกลุ่มเอสเอ็มอี(SMEs) กว่า 1-2 ล้านราย ที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย อาทิ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์, พ.ร.บ.ความมั่นคงทางไซเบอร์, พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ดังนั้นช่วงปีแรกคาดหวังลูกค้าเป้าหมายสัก 500-1,000 ราย เช่น โรงพยาบาล, คลินิกทำฟัน, หน่วยงานที่นำข้อมูลมาประมวลผล เป็นต้น

กรุงเทพประกันภัย ถูกคุกคามทางไซเบอร์ 20,000 ครั้งต่อวัน

ดร.อภิสิทธิ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า บนระบบอินเตอร์เน็ตของกรุงเทพประกันภัย ถูกบุกรุกจากภัยคุกคามเฉลี่ยประมาณ 20,000 ครั้งต่อวัน โดยเฉพาะการถูกคุกคามจากข้อมูลประกันสุขภาพของลูกค้า เพราะเป็นข้อมูลที่มีความลับสุดยอด และมักจะถูกโจมตีเพื่อเรียกค่าไถ่ ซึ่งสอดคล้องข้อมูลสถิติที่ว่าหน่วยงานที่มีความเสี่ยงถูกบุกรุกทางไซเบอร์มากที่สุดคือ โรงพยาบาล, บริษัทประกันภัย, สถาบันการเงิน, โรงงานอุตสาหกรรมฯ เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad