ลุย “เคาน์เตอร์เทรด” ปี 2 - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันจันทร์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2564

ลุย “เคาน์เตอร์เทรด” ปี 2

img

ลุย “เคาน์เตอร์เทรด” ปี 2

ปีที่แล้ว กระทรวงพาณิชย์ภายใต้การนำของ “นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์” ได้ขับเคลื่อนนโยบายสำคัญนโยบายหนึ่ง ก็คือ “เคาน์เตอร์เทรด” เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร และผู้ผลิตสินค้าชุมชน ให้มีช่องทางการจำหน่ายสินค้าเพิ่มขึ้น

ปีที่แล้ว ได้สร้างความพึ่งพอใจให้กับเกษตรกร และผู้ผลิตสินค้าชุมชนเป็นอย่างมาก เพราะสามารถขายสินค้าได้เพิ่มขึ้น และมีรายได้สูงขึ้นจริง  
         
และปีที่แล้ว ปรากฏผลการทำงานเป็นที่น่าพอใจ สามารถทำยอดซื้อขายได้สูงถึง 3,244 ล้านบาท
         
ปีนี้ นายจุรินทร์จึงสั่งการให้ “ลุยต่อ
         
“รัฐมนตรีได้มอบหมายนายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ และสำนักงานพาณิชย์ทั้ง 76 จังหวัดทั่วประเทศ เดินหน้านโยบายเคาน์เตอร์เทรดเป็นปีที่ 2 อย่างเข้มข้น”นางมัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์กล่าว  
         
การทำเคาน์เตอร์เทรด พูดแบบให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ การแลกเปลี่ยนสินค้า นำสินค้าที่ผลิตได้ในพื้นที่หนึ่งไปแลกกับสินค้าอีกพื้นที่หนึ่ง เช่น เอาสินค้าภาคเหนือไปแลกกับสินค้าภาคใต้ เอาผลไม้ไปแลกกับสินค้าชุมชน หรือเอาสินค้าชุมชนไปแลกผลไม้ อะไรทำนองนี้
         
ส่วนการชำระค่าสินค้า ก็นำสินค้าที่แลกกันมาตีเป็นมูลค่า ถ้าตีราคาแล้วเท่าๆ กันก็ปิดดีล แต่ถ้ามีส่วนต่าง ก็จ่ายเป็นเงินสดไป หรือจะเติมสินค้าให้ก็แล้วแต่จะตกลงกัน หรือจะซื้อขาด จ่ายเงินสดทันที ก็ไม่ว่ากัน          
         
ปัจจุบัน สำนักงานพาณิชย์จังหวัดหลายๆ จังหวัด ได้เริ่มดำเนินการเชื่อมโยงจำหน่ายสินค้าทางการเกษตรกันไปแล้ว
         
แต่ละจังหวัดได้มีการนำเสนอสินค้า “ดี เด่น ดัง” ในจังหวัดตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นสินค้าเกษตร ผลไม้ สินค้าชุมชน สินค้าท้องถิ่น บ้างก็นำมาจัดทำเป็นโบรชัวร์เอาไว้ บ้างก็ประกาศโฆษณา ใช้ช่องทางโซเซียลมีเดีย เพื่อแจ้งข่าว
ใครต้องการสินค้าอะไร ก็สามารถสั่งซื้อได้ หรือใครอยากแลกสินค้า ก็ติดต่อได้ มีพาณิชย์จังหวัดคอยช่วยเหลือและประสานงานให้  
         
ไม่เพียงแค่นั้น ยังมีการประสานผู้ซื้อ ผู้ประกอบการค้า ร้านค้า ห้างค้าส่งค้าปลีก ห้างสรรพสินค้า โมเดิร์นเทรด ให้มาเจรจาจับคู่ซื้อสินค้าจากเกษตรกร และผู้ผลิตสินค้าชุมชนโดยตรงด้วย

ที่ผ่านมา มีการจับคู่แลกเปลี่ยนและซื้อขายสินค้ากันแล้วเบื้องต้น คิดเป็นมูลค่าประมาณ 1,000 ล้านบาท
         
จะเห็นได้ว่า โครงการ “เคาน์เตอร์เทรด” มีแต่ได้กับได้
         
ได้แรก เป็นมิติใหม่ของการซื้อขาย หรือแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างจังหวัด
         
ได้สอง ผู้ซื้อ ผู้ขาย สามารถมาพบปะเจรจากันโดยไม่ต้องเสียเวลาไปตะเวนหาสินค้าของแต่ละจังหวัด แค่แจ้งความประสงค์ตรงไปยังพาณิชย์จังหวัดได้เลย เพราะพาณิชย์จังหวัด ซึ่งเป็น “เซลส์แมนจังหวัด” รู้ดีอยู่แล้วว่า “จังหวัดของตนมีของดีอะไร อยู่ตรงไหน หรือผลผลิตทางการเกษตรอะไร กำลังจะออกสู่ตลาด” ส่วนการเจรจาซื้อขาย จะเอาแบบมาเจอตัว หรือจะผ่านช่องทางออนไลน์ ก็ได้หมด มีอำนวยความสะดวกให้อยู่แล้ว  
         
ได้สาม ได้ช่วยเหลือเกษตรกร ผู้ผลิตสินค้าชุมชน ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ทำให้จำหน่ายผลผลิตทางการเกษตร และสินค้าได้ยาก ก็มีช่องทางการจำหน่ายเพิ่มขึ้น ช่วยแก้ปัญหาขาดเงินสด ขาดสภาพคล่อง
         
นายบุณยฤทธิ์ บอกถึงความคืบหน้าการทำงานล่าสุด ว่า กำลังเตรียมจัดงานเซลส์แมนจังหวัด จัดซื้อขายแลกเปลี่ยน เคาน์เตอร์เทรด ครั้งใหญ่ที่กรุงเทพฯ เหมือนการจัดงานปีก่อน

“ได้สั่งการให้พาณิชย์จังหวัดไปเตรียมความพร้อม ไปหาเกษตรกร ผู้ผลิตสินค้าเกษตรแปรรูป ผู้ผลิตสินค้าชุมชน เพื่อนำมาเจรจาซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนสินค้ากับเกษตรกรด้วยกันเอง หรือกับผู้ประกอบการ ห้างร้าน ร้านค้าส่งค้าปลีก ห้างสรรพสินค้า โมเดิร์นเทรดแล้ว”

การจัดงานกำหนดไว้ประมาณเดือน ก.ค.2564 นี้ เพราะต้องเลี่ยงช่วงนี้ เนื่องจากยังมีการแพร่ระบาดของโควิด-19

ปลัดพาณิชย์” บอกว่า ปีนี้ จะพิเศษกว่าปีก่อน เพราะจะจัดใหญ่ขึ้น มีสินค้าหลากหลายมากขึ้น และเชื่อว่ามูลค่าการซื้อขาย ก็จะมากขึ้นตามไปด้วย
         
เป็นอีกหนึ่งนโยบายที่นายจุรินทร์ผลักดัน และกำลังมีความคืบหน้าอย่างเป็นรูปธรรม  
 
ซีเอ็นเอ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad