ปอร์เช่ ประยุกต์ใช้กระบวนการผลิตใหม่ล่าสุดสำหรับ ไทคานน์ (Taycan) - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันพฤหัสบดีที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2564

ปอร์เช่ ประยุกต์ใช้กระบวนการผลิตใหม่ล่าสุดสำหรับ ไทคานน์ (Taycan)

ปอร์เช่ ประยุกต์ใช้กระบวนการผลิตใหม่ล่าสุดสำหรับ ไทคานน์ (Taycan)

สตุ๊ทการ์ท. Porsche AG พัฒนากระบวนการผลิตใหม่ที่สำนักงานใหญ่ เมือง Zuffenhausen โดยร่วมมือกับTesa SE. ผลจากกระบวนการดังกล่าว ช่วยให้รูหรือรอยบุบที่เกิดขึ้นบนตัวถังรถยนต์เรียบเนียน เพื่อเตรียมไปสู่ขั้นตอนการป้องกันการผุกร่อนให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นอย่างมาก หลุมที่เกิดขึ้นบนตัวถังคือภารกิจที่ศูนย์พ่นสีและตัวถังจะต้องจัดการให้เรียบร้อย นวัตกรรมที่ได้รับการคิดค้นขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหานี้คือการอุดแบบ sealing patches แทนแบบ plastic plugs รถสปอร์ตพลังงานไฟฟ้าปอร์เช่ ไทคานน์ (Porsche Taycan) จึงเป็นรถยนต์คันแรกของโลกที่ใช้กระบวนการดังกล่าวในการผลิต  หุ่นยนต์จะทำหน้าที่ติดตั้ง sealing patches มากกว่า 100 ตำแหน่งด้วยระบบอัตโนมัติ จึงทำให้กระบวนการตกแต่งตัวถังมีความรวดเร็วยิ่งขึ้นส่งผลให้ประสิทธิภาพของสายพานการผลิตรถยนต์ปอร์เช่ เป็นไปในทิศทางที่ดีและสามารถสร้างความมั่นใจให้ผู้ใช้ได้

“นวัตกรรม คือสิ่งที่ผลักดันให้เราประสบความสำเร็จตลอดมา” Albrecht Reimold สมาชิกคณะกรรมการบริหาร ผู้กำกับดูแลส่วนงานการผลิตและโลจิสติกส์ ของ Porsche AG กล่าวต่อไปอีกว่า “นวัตกรรมใหม่ๆ  เกิดขึ้นจากความเชี่ยวชาญที่จำเป็นต้องอาศัยความมุ่งมั่นและความคิดสร้างสรรค์อันไร้ขอบเขตจำกัด นั่นคือบทบาทหน้าที่ของฝ่ายบริหารที่จะต้องส่งเสริมให้บรรยากาศในการทำงานทุกๆ วันของบริษัทเอื้ออำนวยต่อทุกกระบวนการทำงานภายในบริษัท” ส่วนงาน Porsche Innovation Management คำนึงถึงประโยชน์ในการนำ sealing patches มาใช้ โดยเริ่มตั้งแต่เดือน กรกฎาคม ปี 2020 มากกว่า 2 ใน 3 หรือประมาณ 150 plugs ซึ่งเป็นกระบวนการเก่าที่ใช้ในศูนย์พ่นสีและตัวถังของไทคานน์ (Taycan) ถูกยกเลิกไป ในอนาคตศูนย์สีและตัวถังที่โรงงาน Leipzig จะเปลี่ยนเป็นกระบวนการดังกล่าวภายในฤดูร้อนปี 2021 เช่นเดียวกัน

“กระบวนการดังกล่างคือสิ่งสำคัญที่จะไม่สับสนระหว่างกระบวนการ adhesive solution ของปอร์เช่กับ Tesa tape ที่ทุกคนรู้จักกันดีในฐานะผู้ให้บริการอุปกรณ์สำนักงานของพวกเขานั่นเอง” Dirk Paffe หัวหน้างานวางแผนศูนย์สีและตัวถัง ผู้รับผิดชอบการประยุกต์ใช้นวัตกรรม อธิบายเพิ่มเติม “เมื่อ Tesa sealing patches ได้ถูกนำมาใช้ ถือเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ความพยายามของพวกเขาบรรลุผลสำเร็จอย่างยอดเยี่ยม สิ่งที่เราได้รับคือวิธีการแก้ปัญหาระยะยาวในการทำให้ Tesa sealing patches ทนทานต่อความเค้นที่เกิดขึ้นจากการเคลื่อนที่ของรถยนต์และมีอายุการใช้งานที่ยาวนานยิ่งกว่าตัวรถ”

นวัตกรรมดังกล่าวยังช่วยลดความตึงเครียดให้แก่บุคลากรผู้ปฏิบัติหน้าที่ การนำอุปกรณ์ Tesa patches มาใช้สามารถลดขั้นตอนการทำงานที่ก่อให้เกิดความเครียดจากการติดตั้ง plugs เพื่ออุดหลุมบนตัวถังมากถึง 3,600 ครั้งต่อ 1 รอบ นอกจากนี้ยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับงานโดยรวมและส่งผลต่อความได้เปรียบด้านโลจิสติกส์ ช่วยลดความยุ่งยากและซับซ้อนลง เนื่องจาก patch ขนาดเดียว สามารถใช้กลบหลุมบนตัวถังได้หมดทั้ง 4 ลักษณะ ยิ่งไปกว่านั้น ขนาดความหนาเพียง 1 มิลลิเมตรทำให้ตัว patches แทบจะไม่มีส่วนนูนออกมาเลย ในขณะที่การใช้ plugs อุดแบบเดิมจะทำให้เกิดส่วนนูนจากตัวถัง รถยนต์สูงสุดถึง 6 มิลลิเมตร นอกจากนี้ตำแหน่งการติดตั้ง patches ยังมีความแม่นยำสูง เนื่องจากการใช้หุ่นยนต์พิเศษในการติดตั้งอีกด้วย

“Tesa ถือกำเนิดมานานกว่า 20 ปี  เปี่ยมไปด้วยประสบการณ์ในการสร้างสรรค์อุปกรณ์เชื่อมประสานสำหรับการกลบหลุมผ่านระบบอัตโนมัติด้วยแผ่น sealing patches ทั้งในกระบวนการผลิตจนถึงกระบวการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่างๆ  ของ Tesa”  Dr Ute Ellringmann ผู้จัดการฝ่ายการตลาด ผู้รับผิดชอบส่วนงาน hole sealing ของ Tesa กล่าวแสดงความคิดเห็น “เราสามารถมั่นใจได้ในความสมบูรณ์แบบของอุปกรณ์ sealing patches ทั้งด้านคุณภาพในระดับสูงสุดและการยกระดับประสิทธิภาพของกระบวนการผลิต”

Porsche Innovation Management

หัวใจสำคัญที่ก่อให้เกิดไอเดียอันยอดเยี่ยม คือวิสัยทัศน์อันชาญฉลาดที่มีต่ออนาคตของบริษัท ด้วยวัตถุประสงค์ดังกล่าว Porsche Innovation Management จึงถูกจัดตั้งขึ้นในปี 2016 โดยทีมงานของโครงการที่เต็มไปด้วยความคล่องแคล่ว และพร้อมที่จะแสวงหาวิธีการในการพัฒนาให้สิ่งใหม่เกิดขึ้น  ปอร์เช่ได้สนับสนุนกองทุนแก่นักพัฒนาและช่วยกำกับดูแลให้ทำการทดลองและทดสอบภายในองค์กรตั้งแต่ระยะเริ่มต้น สิ่งเหล่านี้ก้าวไกลและครอบคลุมมากเกินกว่าการเพียงการถ่ายทอดองค์ความรู้จากรถแข่งสายสนามมายังรถในสายการผลิตปกติ เพราะการขับเคลื่อนนวัตกรรมเป็นหนึ่งในหลักปรัชญาที่ฝังลึกลงในแผนกลยุทธ์ระยะยาวของ Porsche’s Strategy 2030 และเป็นประเด็นในเชิงบูรณาการที่สำคัญมีผลต่อเนื่องในทุกแผนกรวมทั้งบริษัทย่อยทั้งหมดในประเทศเยอรมนีและทั่วโลก นอกเหนือจากปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับขั้นตอนการผลิตและการพัฒนาด้าน Innovation Management ยังมีบทบาทในส่วนของประเด็นแวดล้อมทางธุรกิจที่ส่งผลกระทบในวงกว้าง การเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคสมัยของยานพาหนะพลังงานไฟฟ้า การแก้ไขปัญหาด้านรถยนต์อย่างยั่งยืน และผลกระทบของ digitalisation ที่เกิดขึ้นกับองค์กร ลูกค้า และยนตรกรรมสปอร์ตปอร์เช่ แนวคิดที่มีแนวโน้มยกระดับกลายเป็นนวัตกรรมจะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ 3 ข้อ: 1. ต้องเกิดขึ้นใหม่ ไม่ซ้ำแบบใคร 2. ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อลูกค้า และสุดท้าย ต้องสร้างเสริมคุณค่าให้แก่บริษัทอย่างแท้จริง ปอร์เช่มีกองทุนพร้อมสนับสนุนโครงการเหล่านี้ 80 ถึง 100 โครงการต่อปี ประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ ของกระบวนการล้วนเดินทางมาถึงขั้นตอนของการพัฒนาแล้วทั้งสิ้น

ติดตามข้อมูลข่าวสาร ภาพยนตร์ และภาพถ่ายเพิ่มเติม ได้ที่ Porsche Newsroom:newsroom.porsche.com

อัตราการบริโภคน้ำมันเชื้อเพลิงเฉลี่ยและอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดร์ออกไซด์ ได้รับการตรวจสอบตามมาตรฐาน สากลที่สอดคล้องกับวิธีการ Light Vehicle Test Procedure (WLTP) ล่าสุด สำหรับค่าการตรวจวัดอัตราการบริโภคตามมาตรฐาน NEDC ที่ระบุในบทความนี้ ใช้อ้างอิงได้เฉพาะสภาพการทดสอบในช่วงเวลาเดียวเท่านั้น ไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบกับค่าการตรวจวัดอัตราการบริโภคของ NEDC ที่ได้จากวิธีการอื่นใดก่อนหน้าการทดสอบนี้ สำหรับข้อมูลอย่างเป็นทางการของผลทดสอบอัตราการบริโภคน้ำมันเชื้อเพลิงเฉลี่ยและอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดร์ออกไซด์ในรถยนต์รุ่นใหม่อื่นๆ สามารถค้นหาได้จากเอกสาร “Guidelines on fuel consumption, CO2 emissions and power consumption of new passenger cars” [Leitfaden über den Kraftstoffverbrauch, die CO2Emissionen und den Stromverbrauch neuer Personenkraftwagen], ผ่านตัวแทนจำหน่ายและสถาบัน Deutsche Automobil Treuhand GmbH (DATโดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad