กรมป่าไม้ ชูโมเดล"ซีพีเอฟ รักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธง" แหล่งเรียนรู้การฟื้นฟูป่า - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันพฤหัสบดีที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2564

กรมป่าไม้ ชูโมเดล"ซีพีเอฟ รักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธง" แหล่งเรียนรู้การฟื้นฟูป่า

      


กรมป่าไม้ ชูโมเดล"ซีพีเอฟ รักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธง" แหล่งเรียนรู้การฟื้นฟูป่า    


โมเดลความสำเร็จของความร่วมมือ 3 ประสาน โดยภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชน ในการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่า  ในโครงการ "ซีพีเอฟ รักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธง" ต.พัฒนานิคม อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี  ซึ่งมีกรมป่าไม้  ชุมชนรอบพื้นที่เขาพระยาเดินธง และบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ  ร่วมดำเนินโครงการ ฯ จากจุดเริ่มต้น ปี 2559  ด้วยเป้าหมายเดียวกันในการเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับประเทศไทย   ปัจจุบัน ผืนป่าแห่งนี้ เป็นต้นแบบและเป็นแหล่งเรียนรู้การฟื้นฟูป่าอย่างยั่งยืน  

  
ระยะ  5 ปี  ของการดำเนินโครงการระยะที่หนึ่ง  (ปี  2559-2563 ) สามารถอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าต้นน้ำ  พื้นที่เขาพระยาเดินธงได้รวม 5,971 ไร่ พลิกจากป่าเขาหัวโล้นสู่ผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์ และเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพทั้งพืชและสัตว์  เข้าสู่การดำเนินงานระยะที่สอง    (ปี 2564-2568 ) มีเป้าหมายยอนุรักษ์  ฟื้นฟู และเพิ่มพื้นที่ป่าที่ปลูกใหม่เพิ่มเป็น 7,000 ไร่  
 
โดยเมื่อเร็วๆนี้  นายจิระศักดิ์ ชูความดี รองอธิบดีกรมป่าไม้ พร้อมคณะผู้บริหารของกรมป่าไม้ รวม 15 คน  ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมโครงการฯ เพื่อติดตามความคืบหน้าของการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่า  โดยมี นายภูมินภ์ห์   บุญบันดาร   ผู้อำนวยการสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่  5 (สระบุรี) พร้อมด้วย  นายถนอมพงษ์ สังข์ธูป เจ้าพนักงานป่าไม้ชำนาญงาน  นายสุธี สมุทระประภูต ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ หน่วยงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน  ซีพีเอฟ และคณะทำงานโครงการซีพีเอฟ รักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธง ร่วมให้ข้อมูลถึงการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าในพื้นที่  

รองอธิบดีกรมป่าไม้ กล่าวภายหลังการตรวจเยี่ยมโครงการฯว่า   โครงการซีพีเอฟรักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธง เป็นโครงการแรกที่ภาคเอกชนมีส่วนร่วมดำเนินการครบทั้่งกระบวนการ  ตั้งแต่เริ่มต้นโครงการ สำรวจพื้นที่ ศึกษารูปแบบการปลูกป่า วางแผนการปลูกป่า การดูแลให้ต้นไม้ในพื้นที่เติบโต จนถึงกระบวนการเก็บข้อมูลด้านความหลากหลายทางชีวภาพของพืชและสัตว์เพื่อเป็นฐานข้อมูลเปรียบเทียบ  โดยมีเจ้าหน้าที่ของซีพีเอฟติดตามการดำเนินโครงการอย่างใกล้ชิด  ทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างจริงจัง และผืนป่าที่นี่ ยังเป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับการฟื้นฟูป่า ที่สามารถเป็นต้นแบบให้กับการฟื้นฟูป่าในพื้นที่อื่นๆ  โดยใช้รูปแบบการปลูกป่า 4 รูปแบบที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่  นอกจากนี้  การที่ซีพีเอฟเข้ามาช่วยดูแลการปลูกป่า มีการจัดการเรื่องระบบน้ำเพื่อช่วยให้ต้นไม้ในพื้นที่เติบโต เป็นการช่วยเพิ่มอัตรารอดของต้นไม้ เพราะหากปล่อยให้ต้นไม้เติบโตเองตามธรรมชาติ เป็นเรื่องยากที่จะมีอัตรารอดเกือบ 100 %       
  
"ขอบคุณซีพีเอฟที่ตระหนักถึงความสำคัญของการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ  และอยากเชิญชวนภาคเอกชนให้เข้ามาช่วยกันอนุรักษ์และฟื้นฟูป่า เพราะเรื่องนี้มีความสำคัญมากในการช่วยแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เราช่วยกันปลูกป่าเยอะๆ  เพิ่มพื้นที่สีเขียว ต้นไม้จะช่วยกักเก็บคาร์บอน ทำให้อากาศบริสุทธิ์  ผืนป่าที่กลับมาอุดมสมบูรณ์  ก็จะทำให้ระบบนิเวศดีขึ้นตามไปด้วย " รองอธิบดีกรมป่าไม้กล่าว   

"ซีพีเอฟ รักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธง " ความสำเร็จของการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่า จากความร่วมมือ 3 ประสาน นอกจากเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับประเทศ ซีพีเอฟยังได้ถ่ายทอดประสบการณ์การอนุรักษ์และฟื้นฟูป่า สู่การเป็นแหล่งเรียนรู้ เพื่อสร้างความตระหนักถึงคุณค่าของความหลากหลายทางชีวภาพและความอุดมสมบูรณ์ของป่าให้กับหน่วยงานต่าง สถานศึกษา และบุคคลทั่วไปที่สนใจเกี่ยวกับการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่า   

ปัจจุบัน  ซีพีเอฟยังได้ต่อยอดสร้างความมั่นคงทางอาหารของชุมชน โดยส่งเสริมชุมชนเป็นแหล่งผลิตอาหารที่สะอาดและปลอดภัย  ดำเนินโครงการปลูกผักวิถีธรรมชาติ ส่งเสริมคนในชุมชนปลูกผักปลอดสารไว้บริโภคเอง  และนำผลผลิตขายเพื่อสร้างรายได้เสริม จัดตั้งธนาคารเมล็ดพันธุ์ตามวิถีภูมิปัญญาชุมชน ซึ่งปัจจุบันมีสมาชิกเข้าร่วมโครงการ  8 หมู่บ้านโครงการ และโครงการปล่อยปลาลงเขื่อน เป็นโครงการที่บริษัทให้ความรู้เรื่องการเลี้ยงปลาแก่ชุมชน เช่นวิธีการอนุบาลปลา เพื่อให้ปลาแข็งแรงและเติบโตได้ขนาดก่อนปล่อยลงกระชัง ช่วยเพิ่มอัตรารอดของปลาที่ปล่อยสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ  เพิ่มปริมาณปลาในแหล่งน้ำเพื่อเป็นแหล่งอาหารของชุมชน สามารถเป็นแหล่งอาหารครอบคลุมชุมชน  11 หมู่บ้าน หรือมากกว่า 300 ครัวเรือน  สนับสนุนชุมชนพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน และตระหนักถึงการมีส่วนร่วมดูแลผืนป่าในพื้นที่  ./   

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad