กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศเตรียมจัดระดมความคิดเห็นภาครัฐและเอกชน 15 ก.ค.นี้ ยกระดับเอฟทีเอ 3 ฉบับที่อาเซียนทำกับจีน เกาหลีใต้ และอินเดีย ให้มีความทันสมัยและเป็นประโยชน์ต่อไทยมากที่สุด เล็งเจรจาเปิดตลาดเพิ่มเติมในกลุ่มสินค้าที่ทั้ง 3 ประเทศยังไม่ได้ลดภาษีนำเข้าให้ไทย เพื่อเพิ่มโอกาสในการส่งออก รวมถึงการเปิดเสรีด้านการลงทุน และประเด็นอื่น ๆ
นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมฯ เตรียมเชิญภาครัฐและภาคเอกชนร่วมประชุมหารือ เรื่องการยกระดับและทบทวนความตกลงการค้าเสรี (FTA) ที่อาเซียนทำกับจีน (ACFTA) เกาหลีใต้ (AKFTA) และอินเดีย (AIFTA) ในวันที่ 15 ก.ค.2564 เพื่อร่วมกันพิจารณาประเด็นที่ต้องการให้มีการเพิ่มเติมในการเจรจาปรับปรุง FTA ทั้ง 3 ฉบับ ให้สอดรับกับพัฒนาการทางการค้าโลก และเป็นประโยชน์ต่อไทยมากที่สุด โดยเฉพาะในด้านการเปิดตลาดการค้าสินค้าเพิ่มเติมจากความตกลงเดิม ที่ยังไม่ได้มีการลดภาษี เพื่อเพิ่มโอกาสในการส่งออกให้กับสินค้าไทย รวมถึงการเปิดเสรีเพิ่มเติมในด้านการลงทุน และประเด็นอื่น ๆ
ทั้งนี้ การทบทวน FTA อาเซียน–จีน มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2548 เบื้องต้นอาเซียนกับจีน ได้ตกลงที่จะยกระดับ FTA ใน 2 ส่วน คือ เปิดตลาดเพิ่มเติมในสินค้าที่ยังมิได้ลดภาษีนำเข้าเหลือ 0% และเปิดเสรีเรื่องการลงทุน โดยจีนยังคงเก็บภาษีนำเข้ากับสินค้าที่ส่งออกจากไทย จำนวน 432 รายการ (5.2% ของรายการสินค้าทั้งหมด) เช่น รถยนต์ขับเคลื่อน 4 ล้อ กระดาษ แป้งข้าวเจ้า น้ำตาลทราย และลำไยกระป๋อง ซึ่งทั้งสองฝ่ายจะหารือเรื่องดังกล่าวในการประชุมคณะกรรมการร่วมกำกับการดำเนินงานภายใต้ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน ปลายเดือนก.ค.2564
ส่วนของ FTA อาเซียน-เกาหลีใต้ (AKFTA) มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2553 โดยทั้งสองฝ่ายได้ตกลงที่จะยกระดับ FTA ใน 2 ส่วน คือ เปิดตลาดเพิ่มเติมสำหรับสินค้าที่ยังมิได้ลดภาษีนำเข้าลงเหลือ 0% และเจรจาปรับปรุงข้อบทอื่น ๆ รวมถึงเรื่องการลงทุน โดยเกาหลีใต้ยังคงเก็บภาษีนำเข้ากับสินค้าที่ส่งออกจากไทย จำนวน 1,257 รายการ (10% ของรายการสินค้าทั้งหมด) เช่น ไก่และกุ้งแช่เย็นแช่แข็งและแปรรูป มะม่วง ทูน่ากระป๋อง สับปะรดกระป๋อง น้ำมันรำข้าว เคมีภัณฑ์ และเครื่องนุ่งห่ม ซึ่งทั้งสองฝ่ายจะหารือเรื่องดังกล่าวในการประชุมคณะกรรมการดำเนินงานความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-เกาหลีใต้ ในเดือนก.ค.2564 เช่นเดียวกัน
สำหรับ FTA อาเซียน–อินเดีย (AIFTA) มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2553 โดยทั้งสองฝ่ายอยู่ระหว่างสรุปขอบเขตการทบทวน FTA ซึ่งจะประกอบด้วย เรื่องการลดและยกเลิกภาษีนำเข้า มาตรการที่มิใช่ภาษี กฎถิ่นกำเนิดสินค้า พิธีการทางศุลกากรและการอำนวยความสะดวกทางการค้า มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช อุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า มาตรการเยียวยาทางการค้า และความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการ ก่อนที่จะเสนอที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน–อินเดีย ในเดือนก.ย.2564 เพื่อพิจารณาจัดตั้งคณะกรรมการร่วมและเริ่มการเจรจาทบทวนความตกลง AITIGA ต่อไป ทั้งนี้ อินเดียยังคงเก็บภาษีนำเข้ากับสินค้าส่งออกจากไทย จำนวน 1,079 รายการ (20.97% ของรายการสินค้าทั้งหมด) เช่น ปูนซีเมนต์ เครื่องยนต์ดีเซล เครื่องแปลงไฟฟ้าชนิดคงที่ เครื่องนุ่งห่ม และลวดทองแดง
นับตั้งแต่ความตกลง FTA ทั้ง 3 ฉบับ มีผลบังคับใช้ ได้ส่งผลให้การค้าระหว่างไทยกับจีน เกาหลีใต้ และอินเดีย ขยายตัว 45–420% และมีการใช้สิทธิประโยชน์ในการส่งออกจาก FTA ทั้ง 3 ฉบับ คือ ACFTA ใช้สิทธิประโยชน์ในการส่งออกสูงถึง 90% เช่น ทุเรียนสด ผลิตภัณฑ์ยางสังเคราะห์ผสมยางธรรมชาติ รถยนต์และยานยนต์ขนส่งส่วนบุคคล สตาร์ชทำจากมันสำปะหลัง และผลไม้สด AKFTA ใช้สิทธิประโยชน์ในการส่งออก 70.74% เช่น เครื่องซักผ้า ยางนอกชนิดอัดลม แผ่นไม้อัด และพาร์ติเคิลบอร์ด และ AIFTA ใช้สิทธิประโยชน์ในการส่งออก 65.23% เช่น เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์พลาสติก อัญมณีและเครื่องประดับ ชิ้นส่วนยานยนต์ และเครื่องจักรกล
วันอาทิตย์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2564
Home
การค้าต่างประเทศ
เศรษฐกิจมหภาค
กรมเจรจาฯ เตรียมระดมความคิดเห็น อัปเกรด 3 เอฟทีเออาเซียน-คู่ค้าให้ทันสมัย
กรมเจรจาฯ เตรียมระดมความคิดเห็น อัปเกรด 3 เอฟทีเออาเซียน-คู่ค้าให้ทันสมัย
Tags
# การค้าต่างประเทศ
# เศรษฐกิจมหภาค
Share This
About preecha binmanoch
เศรษฐกิจมหภาค
ป้ายกำกับ:
การค้าต่างประเทศ,
เศรษฐกิจมหภาค
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
Author Details
Templatesyard is a blogger resources site is a provider of high quality blogger template with premium looking layout and robust design. The main mission of templatesyard is to provide the best quality blogger templates which are professionally designed and perfectlly seo optimized to deliver best result for your blog.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น