เนื่องในวันฉลามวาฬสากล 30 ส.ค. ป้อง ณวัฒน์ และไวลด์เอด ชวนดูสารคดีสั้นว่ายน้ำกับฉลามวาฬนับร้อยที่เม็กซิโก - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันอังคารที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2564

เนื่องในวันฉลามวาฬสากล 30 ส.ค. ป้อง ณวัฒน์ และไวลด์เอด ชวนดูสารคดีสั้นว่ายน้ำกับฉลามวาฬนับร้อยที่เม็กซิโก

                       เนื่องในวันฉลามวาฬสากล 30 .. 

ป้อง ณวัฒน์ และไวลด์เอด ชวนดูสารคดีสั้นว่ายน้ำกับฉลามวาฬ

นับร้อยที่เม็กซิโก

กรุงเทพฯ (30 สิงหาคม 2564) – องค์กรไวล์ดเอดเผยแพร่สารคดีสั้น “SHARING OCEANS WITH SHARKS-ทะเลต้องมีฉลาม เนื่องในวันฉลามวาฬสากล International Whale Shark Day ซึ่งตรงกับวันที่ 30 สิงหาคม ของทุกปี โดยมีคุณ ป้อง ณวัฒน์ กุลรัตนรักษ์ นักแสดงและทูตฉลาม องค์กรไวล์ดเอด ร่วมว่ายน้ำกับฉลามวาฬนับร้อยที่รวมตัวกันบริเวณเกาะอิสลา มูเฮเรส นอกชายฝั่งเมืองกังกุน ประเทศเม็กซิโกเป็นประจำทุกปี ทำให้ที่นี่กลายเป็นแหล่งดำน้ำกับฉลามวาฬอันดับต้นๆ ของโลก และร่วมฟังมุมมองความสำคัญของฉลามที่มีต่อทะเลและชุมชน   

แม้ในช่วงหลายปีมานี้ นักดำน้ำในเมืองไทยมีโอกาสเจอฉลามวาฬบ่อยครั้งขึ้น แต่ก็ต้องอาศัยโชคอยู่ไม่น้อย ถึงจะได้เจอซักตัว แต่ที่เม็กซิโก บริเวณเกาะอิสลา มูเฮเรส ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างอ่าวเม็กซิโก และทะเลแคริบเบียน ฉลามวาฬนับร้อยจะรวมตัวกันช่วงฤดูร้อนราวเดือนกรกฎาคม ถึงสิงหาคมของทุกปี พื่อมากินไข่ทูน่าพันธุ์ลิตเติ้ ทูนนี่อันอุดมสมบูรณ์ในบริเวณนี้ โดยบางช่วงอาจเห็นการรวมตัวของฉลามวาฬมากกว่า300ตัวในคราวเดียวและบริเวณเดียวกัน  

 

สารคดีสั้นยกตัวอย่างแนวทางการอนุรักษ์และคุ้มครองฉลามของเม็กซิโก เช่น การกำหนดเขตคุ้มครองฉลามวาฬบริเวณรอยต่ออ่าวเม็กซิโกและทะเลแคริบเบียนที่ครอบคลุมพื้นที่ทางทะเลมากกว่า 6,000 ารางกิโลเมตร การส่งเสริมให้ชาวประมงพื้นบ้านที่ยังจับฉลามตามฤดูกาล มีส่วนร่วมอนุรักษ์ฉลามด้วยการเปลี่ยนวิถีชีวิตที่ทำกันมายาวนานหลายทศวรรษ มาทำด้านท่องเที่ยวโดยพานักท่องเที่ยวดำน้ำดูฉลามแทนการจับฉลาม และยังมีส่วนช่วยนักวิจัยติดระบบกำหนดตำแหน่งให้กับฉลาม เพื่อศึกษาพฤติกรรมโดยมีเป้าหมายเพื่อกำหนดแนวทางอนุรักษ์ฉลาม และเป็นประโยชน์ต่อกิจกรรมพานักท่องเที่ยวดำน้ำดูฉลามอีกด้วย 


 

การได้ว่ายน้ำกับฉลามวาฬจำนวนมากแบบนี้ เป็นประสบการณ์ที่ตื่นเต้นมาก ในขณะเดียวกัน มันก็ทำให้เรารู้จักที่จะเคารพการอยู่ร่วมกันกับเค้าด้วย การเดินทางในครั้งนี้ยังทำให้ผมได้เห็นว่า ฉลามไม่ได้มีความสำคัญแค่ต่อทะเล แต่มีคุณค่าต่อชุมชนและเศรษฐกิจของเมืองชายฝั่งที่ต้องพึ่งพาทรัพยากรทางทะเลเพื่อยังชีพ นั่นทำให้เค้าให้ความสำคัญต่อการปกป้องฉลาม ไม่เฉพาะฉลามวาฬ แต่ฉลามทั้งหมดในน่านน้ำของเค้า ผมหวังว่าสารคดีสั้นเรื่องนี้ จะทำให้คนทั่วไปอยากรู้จักฉลามในน่านน้ำไทยและอยากมีส่วนร่วมผลักดันให้พวกมันได้รับการคุ้มครองมากขึ้น ทุกๆ การกระทำของเราแม้เพียงเล็กน้อยก็มีผล วิธีง่ายๆ ที่เราจะปกป้องฉลาม ก็คือ การไม่บริโภคฉลามครับ” ณวัฒน์ กุลรัตนรักษ์ ทูตฉลาม องค์กรไวล์เอด กล่าว  

 

คุณณวัฒน์ เป็นทูตโครงการรณรงค์ #ฉลองไม่ฉลาม เพื่อลดความต้องการบริโภคหูฉลามในประเทศไทย มาตั้งแต่ปี 2561 สารคดีสั้นเรื่องนี้ ถือเป็นส่วนหนึ่งของโครงการดังกล่าวเพื่อสร้างความตระหนักเรื่องความสำคัญของฉลามที่มีต่อท้องทะเลและมนุษย์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งองค์กรไวล์ดเอดมีแผนที่จะสร้างความรู้ความเข้าใจเพื่อให้คนไทยเห็นคุณค่าการมีอยู่ของฉลามในทะเลไทยต่อไป  

 

สารคดีสั้น “SHARING OCEANS WITH SHARKS – ทะเลต้องมีฉลาม” ผลิตโดยองค์กรไวล์ดเอด และถ่ายทำเดือนกรกฎาคม ปี 2562 ก่อนการระบาดของโรคโควิ-19 โดยองค์กรซึ่งมีสำนักงานใหญ่ในสหรัฐ มีโครงการเพื่อสนับสนุนเครื่องมือต่างๆ ที่จำเป็นในการเผ้าระวังและบริหารจัดการพื้นที่คุ้มครองทางทะเลในประเทศอเมริกาใต้หลายแห่ง

 สารคดีสั้นเผยแพร่แล้วทางโซเชียล มีเดียขององค์กรไวล์ดเอด พร้อมกับการเสวนาสดพูดคุยกับคุณณวัฒน์ ถึงประสบการณ์ที่เม็กซิโก ดยมีคุณแนนซี่ นัยน์ภัค ภูมิภักดิ์ นักท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เจ้าของเพจ Happy Nancy และ Dive Master เป็นพิธีกร  

จัดขึ้นวันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม 2564 เวลา 18.00-18.45น ทาง Facebook และ Youtube ของ WildAid Thailand ตรงกับวันฉลามวาฬสากล  

-###- 


ลิงค์ชมสารคดีสั้น https://youtu.be/Ovn0a6OwPHQ

·                     ทุกปี ฉลามมากถึง 73 ล้านตัวถูกฆ่าเพื่อมาทำเป็นซุปหูฉลาม เมื่อเร็วๆนี้ งานวิจัยล่าสุดเรื่อง “Half a century of global decline in oceanic sharks and rays” ที่เปิดเผยเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา ตอกย้ำการลดลงของประชากรฉลาม โดยระบุว่า จำนวนฉลามและกระเบนในทะเลหลวงลดลงกว่า 70% ในช่วงเวลา 50 ปีที่ผ่านมา โดยมีสาเหตุหลักจากการทำประมงเกินขนาด เพื่อตอบสนองความต้องการบริโภค 

·                     ผลการสำรวจขององค์กรไวล์ดเอดปี พ.ศ. 2560 พบว่าคนไทยในเขตเมืองมากกว่าครึ่งเคยบริโภคหรือยังคงบริโภคหูฉลามอยู่ ขณะที่ 60% ยังคงต้องการบริโภคหูฉลามในอนาคต โดยผู้บริโภคทานหูฉลามบ่อยครั้งที่สุดที่งานรื่นเริงต่างๆ เช่น งานแต่งงาน (72%) งานรวมญาติ (61%) และงานเลี้ยงธุรกิจ (47%) 

·                     ในไทย ฉลามวาฬ เป็นสัตว์ป่าสงวน และล่าสุดคณะกรรมการพัฒนากฎหมายกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีมติเห็นชอบในหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิด เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ซึ่งรวมถึ ฉลามหัวค้อน ชนิดได้แก่ ฉลามหัวค้อนยาว ฉลามหัวค้อนสีน้ำเงิน ฉลามหัวค้อนใหญ่ และฉลามหัวค้อนเรียบ ก่อนจะนำเสนอต่อคณะกรรมการสงวนและคุ้มครองแห่งชาติตามขั้นตอนต่อไป 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad