ดานอน สเปเชียลไลซ์ นิวทริชั่น เปิดตัว SouvenaidTM (ซูวีเนด) อาหารทางการแพทย์สำหรับผู้ที่มีอาการอัลไซเมอร์ระยะเริ่มแรก - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันเสาร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2564

ดานอน สเปเชียลไลซ์ นิวทริชั่น เปิดตัว SouvenaidTM (ซูวีเนด) อาหารทางการแพทย์สำหรับผู้ที่มีอาการอัลไซเมอร์ระยะเริ่มแรก

ดานอน สเปเชียลไลซ์ นิวทริชั่น ประเทศไทย เปิดตัว SouvenaidTM (ซูวีเนด) อาหารทางการแพทย์ ที่มีส่วนช่วยเสริมความทรงจำ สำหรับผู้ที่มีอาการอัลไซเมอร์ระยะเริ่มแรก ที่ผ่านการวิจัยกว่า 20 ปี เพื่อศึกษาโภชนาการที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่มีอาการอัลไซเมอร์ระยะเริ่มแรก ซูวีเนดเป็นอาหารทางการแพทย์ควรใช้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์

ผลิตภัณฑ์ SouvenaidTM (ซูวีเนด) มีส่วนผสมของฟอร์ตาซีน คอนเนค (Fortasyn Connect) ซึ่งประกอบด้วย กรดไขมันโอเมก้า3 (Omega-3) โคลีน (Choline) ยูริดีน (Uridine) วิตามินบีรวม และ สารต้านอนุมูลอิสระ อย่าง วิตามินซี วิตามินอี และซีลิเนียม โดยส่วนประกอบเหล่านี้ มีส่วนสำคัญในการช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพของสมองทั้งด้านการรู้คิดและความสามารถในการทำกิจวัตรต่างๆ ในกลุ่มผู้ที่มีอาการอัลไซเมอร์ระยะเริ่มแรก รวมไปถึงผู้ที่มีภาวะความรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย (MCI)[1]

การสูญเสียจุดเชื่อมต่อเซลล์ประสาท (Synapses) เป็นหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงหลักที่พบในผู้ที่มีอาการอัลไซเมอร์ระยะเริ่มแรก ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเสริมสารอาหารต่างๆที่สำคัญต่อการสร้างจุดเชื่อมต่อเซลล์ประสาทขึ้นใหม่ อีกทั้งยังมีการค้นพบอีกว่า ผู้ที่มีอาการอัลไซเมอร์มีสารอาหารที่สำคัญเหล่านี้ในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นในสมอง หรือ พลาสมา ในปริมาณที่ค่อนข้างต่ำ[2]-[3]

“จากงานวิจัยแสดงให้เห็นว่า กลุ่มคนที่ความทรงจำถดถอยจากอัลไซเมอร์ระยะเริ่มแรกนั้น มักจะได้รับสารอาหารที่สำคัญต่อการสร้างจุดเชื่อมต่อเซลล์ประสาทในปริมาณที่ต่ำ แม้จะมีการรับประทานอาหารตามปกติ SouvenaidTM (ซูวีเนด) จึงถูกคิดค้นมาเพื่อช่วยเสริมสารอาหารที่สำคัญเหล่านี้ ซึ่งอาจไม่สามารถได้รับอย่างเพียงพอจากการรับประทานอาหารทั่วไปเพียงอย่างเดียว โดยนวัตกรรมทางด้านโภชนาการ อย่างการใช้ผลิตภัณฑ์จาก SouvenaidTM (ซูวีเนด) นั้น นับเป็นงานวิจัยใหม่ ที่นำเสนอผลลัพธ์ที่น่าประทับใจ ในการจัดการด้านโภชนาการสำหรับผู้ที่มีอาการอัลไซเมอร์ระยะเริ่มแรกได้เป็นอย่างดี” คุณ Danish Rahmen ผู้จัดการทั่วไป ดานอน สเปเชียลไลซ์ นิวทริชั่น  ประเทศไทย กล่าว

ในประเทศไทย รายงานสัดส่วนของผู้สูงอายุที่มีภาวะความรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย หรือ MCI อยู่ในช่วงระหว่างร้อยละ 15 ถึง 70 โดยจะพบได้มากขึ้นตามช่วงอายุที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งภาวะMCI นี้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นของโรคอัลไซเมอร์ โดยผู้ที่มีภาวะ MCI มักจะเริ่มแสดงอาการเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และยังคงสามารถประกอบกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ ทั้งนี้โดยเฉลี่ยใน 1 ปี ผู้ที่มีภาวะ MCI ประมาณ 10% ถึง 15% จะมีการดำเนินของโรคที่รุนแรงขึ้นจนเข้าสู่ภาวะอัลไซเมอร์ดังนั้นกว่า 80% ของ MCI จะกลายเป็นผู้ป่วยอัลไซเมอร์ ใน 6 ปีถัดมา[4]


การรับประทาน SouvenaidTM (ซูวีเนด)วันละหนึ่งครั้ง จะช่วยเสริมโภชนาการที่สำคัญสำหรับผู้ที่มีอาการอัลไซเมอร์ระยะเริ่มแรก ซึ่งอาจไม่ได้รับอย่างเพียงพอจากการรับประทานอาหารโดยทั่วไปเพียงอย่างเดียว อย่างไรก็ตาม ร่างกายจะต้องใช้เวลาเพื่อทำการดูดซึมและใช้สารอาหารเหล่านี้เพื่อช่วยในการทำงานของสมอง โดยผลวิจัยทางคลินิกพบว่าการดื่ม SouvenaidTM  (ซูวีเนด) ตั้งแต่เริ่มมีอาการอัลไซเมอร์ระยะเริ่มแรก และดื่มติดต่อกันอย่างต่อเนื่อง จะช่วยให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

หากคุณหรือคนในครอบครัว ตรวจพบว่ามีอาการอัลไซเมอร์ในระยะเริ่มต้น ควรปรึกษาแพทย์ หรือบุคลากรทางการแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เกี่ยวกับการเลือกรับประทาน SouvenaidTM(ซูวีเนด)อาหารทางการแพทย์สำหรับผู้ที่มีอาการอัลไซเมอร์ระยะเริ่มแรก ซึ่งควรใช้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ เภสัชกร หรือผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ โดยรับประทานวันละหนึ่งขวด (125 ml) ควบคู่ไปกับการรับประทานอาหารที่เหมาะสมตามหลักโภชนาการ

ผู้ที่สนใจสามารถปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โดย SouvenaidTM วางจำหน่ายแล้ว ที่ร้านขายยาชั้นนำ หรือสามารถสั่งซื้อกับร้านค้าออนไลน์ของดานอนได้ บนแอปพลิเคชั่น Lazada และ Line Official (@SouvenaidbyPJS)

ข้อมูลเพิ่มเติม คลิก www.souvenaidthailand.com หรือ คลิก ที่นี่ เพื่อประเมินความเสี่ยงเบื้องต้นผ่านเกมทดสอบสมอง (Memory Check)

[1] Soininen H, Solomon A, Visser PJ, et al.36-month LipiDiDietmultinutrient clinical trial in prodromal Alzheimer’s disease. Alzheimer’s Dement. 2020;1–12. https://doi.org/10.1002/alz.12172

[2]https://link.springer.com/content/pdf/10.1007/s40120-020-00227-y.pdf

[3] https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/23985420/

[4] https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3915547/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad