อัตราภาพรวมผลตอบแทนและแนวโน้มการลงทุนโครงการอสังหาฯ ปี 2564 - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันพฤหัสบดีที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2564

อัตราภาพรวมผลตอบแทนและแนวโน้มการลงทุนโครงการอสังหาฯ ปี 2564

 

อัตราภาพรวมผลตอบแทนและแนวโน้มการลงทุนโครงการอสังหาฯ ปี 2564

การแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้แพร่ไปทั่วโลก ทำให้หลายคนคาดการณ์ว่าตลาดอสังหาริมทรัพย์น่าจะสะดุด เนื่องจากการแพร่ระบาดครั้งนี้เป็นโรคอุบัติใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นจริง แม้ว่าการทำธุรกรรมอสังหาฯ ประเภทที่อยู่อาศัยจะหยุดชะงักลงอย่างมากในช่วงแรก แต่กลับมีการฟื้นตัวได้เร็ว

จากผลวิจัยของไนท์แฟรงค์ในแต่ละภูมิภาคเราพบว่า ปริมาณการทำธุรกรรมอสังหาฯ ได้ลดลงอย่างมาก ในช่วงของการแพร่ระบาดใหม่ ประมาณเดือนมีนาคม ปี 2563 และกลับฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วในเดือนพฤษภาคมเป็นต้นมา ตัวอย่างเช่น สิงคโปร์รายงานว่ายอดขายบ้านเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าทุกเดือนตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคมหลังจากผ่อนปรน Circuit Breaker เช่นเดียวกันกับในประเทศจีนที่ฟื้นตัวอย่างรวดเร็วและมีอัตราการขายรายเดือนกลับไปสู่ระดับเดียวกับช่วงก่อนโควิด-19

การล็อกดาวน์และ Work from home ได้เข้ามามีบทบาทในการเปลี่ยนรูปแบบการทำงาน ทำให้องค์กรหลายแห่งกลับมาวิธีการลดค่าใช้จ่ายจากการเช่าพื้นที่ และปรับให้พนักงานจำนวนหนึ่งทำงานแบบ Remote-Work อย่างเต็มรูปแบบ ส่งผลให้จำนวนอุปสงค์อาคารสำนักงานลดลงและมีแนวโน้มว่าจะกลายเป็น New Normal ต่อไป การต่อรองราคาค่าเช่าผู้เช่าค่อนข้างได้เปรียบ เพราะเจ้าของอาคารจำเป็นต้องรักษาผู้เช่าเดิมเพื่อเติมเต็มอัตราการเช่าเอาไว้

แม้ในปี 2564 โลกยังต้องเผชิญกับโรคระบาดแต่จากการเริ่มทยอยเปิดประเทศ เราเชื่อมั่นว่าธุรกรรมการลงทุนทั้งเอเชียแปซิฟิกจะปรับตัวดีขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป เช่นเดียวกันกับภาคอสังหาฯ เราวิเคราะห์และคาดการณ์แนวโน้มอัตราผลตอบแทนในอสังหาฯ แต่ละประเภททั่วเอเชียแปซิฟิก (ตามตาราง) ส

ังเกตได้ว่าอัตราผลตอบแทนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ส่วนใหญ่คงที่และเริ่มมีการขยับเพิ่มขึ้นในอสังหาฯ บางประเภทเช่น คลังสินค้าในกว่างโจว ศูนย์การค้าธุรกิจค้าปลีกในโตเกียว อาคารสำนักงานและศูนย์การค้าธุรกิจค้าปลีกในกรุงมะนิลา เป็นต้น

จากการสำรวจและรวบรวมข้อมูลในการลงทุนโครงการอสังหาริมทรัพย์ในรูปแบบต่างๆ ในประเทศไทยโดยเฉพาะในเขตกรุงเทพและปริมณฑลในปี 2564 พบว่าการล็อกดาวน์และการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานในลักษณะ Work from home เป็นแรงขับเคลื่อนหลักที่ทำให้องค์กรทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็กหลายแห่งพิจารณาลดค่าใช้จ่ายการเช่าพื้นที่อาคารสำนักงานในรูปแบบต่างๆ อาทิเช่น การปรับลดขนาดพื้นที่เช่าถาวร หรือ ใช้บริการ Co-working space แทน และปรับให้พนักงานจำนวนหนึ่งทำงานแบบ Remote Work อย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งส่งผลต่อจำนวนอุปสงค์ของอาคารสำนักงานที่ลดลงและส่งผลต่อไปยังผู้ประกอบการที่มีความต้องการพัฒนาโครงการอาคารสำนักงานในอนาคต ทั้งนี้เมื่อพิจารณาถึงการลงทุนทางด้านที่อยู่อาศัยพบว่าจำนวนที่อยู่อาศัยเริ่มก่อสร้างใหม่ในกรุงเทพและปริมณฑลในปี 2564 (9 เดือนแรก) มีอัตราลดลงมากกว่าร้อยละ 50 ทั้งโครงการแนวราบและอาคารชุดเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ด้านการลงทุนพื้นที่เช่าคลังสินค้ายังพบว่ามีการขยายตัว ในด้านของอุปสงค์ตามการขยายตัวของตลาด E-commerce ในประเทศไทย 

ในส่วนของการลงทุนด้านค้าปลีกพบว่า การลงทุนเป็นลักษณะการเข้าซื้อกิจการของผู้ประกอบการรายใหญ่ผ่านทางตลาดหลักทรัพย์ ทั้งนี้เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือในการลดต้นทุนการผลิตและการขนส่งในระยะยาว รวมถึงการขยายและปรับปรุงฐานลูกค้าของกลุ่มธุรกิจให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเช่นกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad