กรมการพัฒนาชุมชนเปิดตัวหนังสือผ้าลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ ทบันทึกประวัติศาสตร์ทางด้านการสืบสานและต่อยอดภูมิปัญญาผ้าไทยให้ดำรงอยู่คู่แผ่นดิน - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันเสาร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2564

กรมการพัฒนาชุมชนเปิดตัวหนังสือผ้าลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ ทบันทึกประวัติศาสตร์ทางด้านการสืบสานและต่อยอดภูมิปัญญาผ้าไทยให้ดำรงอยู่คู่แผ่นดิน

กรมการพัฒนาชุมชนเปิดตัวหนังสือผ้าลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ  

ทบันทึกประวัติศาสตร์ทางด้านการสืบสานและต่อยอดภูมิปัญญา

ผ้าไทยให้ดำรงอยู่คู่แผ่นดิน 

วันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม 2564 เวลา 14.00 – 16.30 น. ณ เวทีกลาง อาคารชาเลนเจอร์ 2 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี ตำบลบางพูด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย จัดงานแถลงข่าวเปิดตัวหนังสือผ้าลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรี ฯ ฉบับสมบูรณ์ 2 ภาษา (ไทย – อังกฤษ) โดยมีนายสมคิด จันทมฤก อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ผศ.ดร.ศศิธร จันทมฤก ประธานชมรมแม่บ้านพัฒนาชุมชน ที่ปรึกษาโครงการผ้าไทยใส่ให้สนุก ประกอบด้วย นางรติรส ภู่วิภาดาวรรธน์ นายกุลวิทย์  เลาสุขศรี นายธนันท์รัฐ  ธนเสฏฐการย์ และผู้ที่ได้รับรางวัลจากการประกวดผ้าลายขอพระราชทาน นายอภิชาติ พลบัวไข กลุ่มทอผ้าโบราณบ้านโนนกอก จังหวัดอุดรธานี ผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศเหรียญทอง ประเภทผ้ามัดหมี่ 3 ตะกอขึ้นไป และ นายธงชัย พันธุ์สง่า ห้องเสี้อดีเทล จังหวัดนครราชสีมา ผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศเหรียญทอง ประเภทผ้ายกเล็ก และประเภทสีเทรนด์บุ๊ค เหรียญทอง ร่วมแถลงข่าว 

โดยหนังสือผ้าลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ ได้บรรจุข้อมูลพระกรณียกิจและพระปณิธานของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ในเรื่องการพระราชทานลายผ้าสู่ประชาชน โครงการส่งเสริมภูมิปัญญาและพัฒนาศักยภาพผ้าไทย และรายละเอียดข้อมูลการประกวด “ผ้าลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ” รวมถึง คอลเลคชั่นผ้าลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ ที่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทรงออกแบบด้วยพระองค์เอง และคอลเลคชั่นที่ออกแบบโดยดีไซเนอร์นักออกแบบที่มีชื่อเสียงระดับโลกกว่า ๑๐ ท่าน ที่มีรูปแบบที่หลากหลายน่าสนใจ เทคนิคต่างๆ บนผืนผ้า ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างประสบการณ์ ตลอดจนนำไปพัฒนาศักยภาพผ้าไทยให้มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับ เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้แก่ชุมชน อันเป็นพลังที่จะสืบสานความเป็นไทยในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ศิลปวัฒนธรรม  ภูมิปัญญาหัตถกรรมไทย ให้ดำรงอยู่อย่างยั่งยืนสืบไป โดยจัดพิมพ์ จำนวน 2,000 เล่ม เพื่อเป็นบทบันทึกประวัติศาสตร์ทางด้านการสืบสานและต่อยอดภูมิปัญญาผ้าไทยให้ดำรงอยู่คู่แผ่นดิน 

กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ได้รับสนองพระกรุณาธิคุณมอบแบบลายผ้ามัดหมี่ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ ไปสู่กลุ่มทอผ้าทุกกลุ่มทั่วทุกภูมิภาค โดยถือเอาฤกษ์มหามงคลในวันคล้ายวันประสูติของพระองค์ท่าน           ในวันที่ 8 มกราคม 2564 ที่ผ่านมา นำความปลาบปลื้มมาสู่เหล่าข้าราชการ กรมการพัฒนาชุมชน ภาคีเครือข่ายกลุ่มศิลปิน กลุ่มทอผ้าเป็นอย่างยิ่ง พร้อมทั้งได้จัดทำโครงการส่งเสริม ภูมิปัญญาและพัฒนาศักยภาพผ้าไทย และการประกวดผ้าลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ  โดยมีวัตถุประสงค์ 4 ข้อ คือ 

1) เพื่อสืบสานพระราชปณิธานสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในเรื่องการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทย 

2) เพื่อเผยแพร่พระอัจฉริยภาพของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี     นารีรัตนราชกัญญา ด้านการออกแบบเครื่องแต่งกายสิ่งทอและการอนุรักษ์ผ้าไทย ให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ 

3) เพื่อพัฒนาศักยภาพผ้าไทยให้มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับ โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น องค์ความรู้ และเทคโนโลยีสมัยใหม่ ในการพัฒนาต่อยอดสร้างรายได้เพิ่มให้กับชุมชน 

4) เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ้าไทยแต่ละประเภทให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายผ่านการประกวดผ้าลายพระราชทาน จำนวน 76 จังหวัดโดยได้จัดให้มีการแถลงข่าวเปิดรับสมัครการประกวดขึ้น เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564  อันเป็นที่มาของหนังสือผ้าลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ เล่มนี้ 

ซึ่งนอกจากพระราชทานลายผ้า “ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ” แล้ว พระองค์ยังทรงปลุกกระแสการสวมใส่ผ้าไทยตามแนวพระดำริ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” คือความสุขที่ได้ใช้ศิลปหัตถกรรมไทย เพื่อให้รายได้กลับเข้าสู่ชุมชนเป็นวงจรเศรษฐกิจเชิงมหภาค   ผ่านกรมการพัฒนาชุมชน นับเป็นพระอัจฉริยภาพที่จุดประกายการสวมใส่ผ้าไทยในกลุ่มคนทุกเพศ ทุกวัย ที่สามารถสวมใส่ได้ทุกเทศกาล ส่งผลให้การพัฒนาผ้าทอมีการยกระดับฝีมือทั้งต้นน้ำ เริ่มตั้งแต่การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม มีกระบวนการคัดเลือกพันธุ์ การเลี้ยงที่มีคุณภาพ กลางน้ำ มีกรรมวิธีในการสาวไหม การคัดเลือกรังไหม การย้อมผ้า การทอที่มีการออกแบบ สร้างลวดลายวิจิตร ที่ได้พัฒนาต่อยอดลายผ้าพระราชทาน บนเทคนิคการทอในรูปแบบต่าง ๆ ตามภูมิปัญญาและวิถีของชุมชน ปลายน้ำ มีการออกแบบชุดที่ทันสมัยมีความงดงาม มีการส่งเสริมช่องทางการตลาดจนเป็นที่ยอมรับและต้องการของลูกค้าจำนวนมาก ส่งผลให้ผ้าไทยมีตลาด ที่เติบโตสวนกระแสเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งพบว่าตั้งแต่เดือนมกราคม – พฤศจิกายน 2564 มียอดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ้าไทย กว่า 7,900 ล้านบาท และมียอดจำหน่ายผ้าลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ กว่า 400 ล้านบาท มีประชาชนได้รับประโยชน์กว่า 122,000 คน  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad